บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)หรือ อินทัช ต่อยอดโครงการ “ปลูกข้าวเพื่อสุขภาพโดยอินทัช” โดยสนับสนุนชาวนาตำบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ให้สามารถเข้าถึงความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีตามแนวทางการจัดการเกษตร 4.0เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างความเข้มแข็งของกลุ่มชาวนาให้พร้อมยกระดับเป็นผู้ประกอบการมุ่งสู่การเป็น “ศูนย์จำหน่ายเมล็ดพันธุ์และข้าวอินทรีย์ของจังหวัดพิษณุโลก” อันจะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชาวนาและสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค เป็นชุมชนตัวอย่างที่เติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป

อินทัช สนับสนุนการทำเกษตรและต่อยอดศักยภาพของชาวนาในตำบลท่างาม
อินทัช สนับสนุนการทำเกษตรและต่อยอดศักยภาพของชาวนาในตำบลท่างาม

อินทัช สนับสนุนการทำเกษตรและต่อยอดศักยภาพของชาวนาในตำบลท่างาม โดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน 2 ปี (พ.ศ. 2560 – 2561) มีชาวนาแกนนำจำนวน 14 ครอบครัวเข้าร่วมโครงการฯ และมีการจัดสรรพื้นที่นาที่มีความพร้อมในการปลูกข้าวอินทรีย์ทั้งหมด 60 ไร่ โดยตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่ผ่านมาได้ร่วมกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์การทำงาน เติมความรู้ในด้านต่างๆ อาทิ การจัดการระบบบัญชี การบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และการจัดการผลผลิตและการตลาด รวมถึงการเชื่อมเครือข่ายการทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานต่างๆ และจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนต่อไป

อินทัชและกลุ่มชาวนา “ศูนย์เมล็ดพันธุ์และข้าวอินทรีย์จังหวัดพิษณุโลก”
อินทัชและกลุ่มชาวนา “ศูนย์เมล็ดพันธุ์และข้าวอินทรีย์จังหวัดพิษณุโลก”

เป้าหมายของอินทัชและกลุ่มชาวนา คือ การยกระดับกลุ่มชาวนาสู่การเป็นผู้ประกอบการ “ศูนย์เมล็ดพันธุ์และข้าวอินทรีย์จังหวัดพิษณุโลก” เพื่อส่งต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้บริโภคและเป็นชุมชนตัวอย่างในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ได้เข้ามาศึกษาไปประยุกต์ใช้ โดยในปีนี้ โครงการปลูกข้าวเพื่อสุขภาพโดยอินทัชเน้นใช้เทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการในการทำเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายเกษตร 4.0 อันจะช่วยแก้ไขปัญหาด้านแรงงานที่มีจำนวนลดลงและเกษตรกรที่เป็นแรงงานสูงอายุเพิ่มขึ้น ช่วยขับเคลื่อนให้อาชีพทำนาของเกษตรกรในตำบลท่างาม ดำรงอยู่พร้อมกับช่วยอนุรักษ์พื้นที่เกษตรกรรมสำคัญให้คงอยู่คู่จังหวัดพิษณุโลกและประเทศไทยต่อไป

กรอบการทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นเกษตร 4.0 อย่างเข้มแข็งใน 4 แนวทาง
กรอบการทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นเกษตร 4.0 อย่างเข้มแข็งใน 4 แนวทาง

อินทัช กำหนดกรอบการทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นเกษตร 4.0 อย่างเข้มแข็งใน 4 แนวทาง คือ

  1. พัฒนากลุ่มสมาชิกชาวนา ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสนับสนุนองค์ความรู้ทางวิชาการและภูมิปัญญาชุมชนอย่างเหมาะสมเพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และพร้อมยกระดับเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่างาม
  2. พัฒนาและเชื่อมการใช้ทรัพยากรจากเครือข่ายอย่างเหมาะสม เพื่อแลกเปลี่ยน แบ่งปันและสร้างประโยชน์ร่วมกัน อาทิ เชื่อมการทำงานกับหน่วยงานชลประทานในพื้นที่ผ่านกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อบริหารจัดการการใช้น้ำในระบบชลประทานร่วมกัน เชื่อมการทำงานกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดพิษณุโลกเพื่อเติมความรู้และเป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่ม รวมทั้ง เชื่อมการทำงานกับศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตอย่างเป็นระบบ
  3. พัฒนาผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นการผลิตเมล็ดพันธุ์และข้าวปลอดสารเคมีตามมาตรฐาน GAP มุ่งสู่มาตรฐานอินทรีย์ (พื้นที่ท่างามเป็นแหล่งผลิตพันธุ์ข้าวขาวหอมมะลิ 105 ปลูกเป็นข้าวสารจำหน่าย ส่วนพันธุ์ข้าวพิษณุโลก 2 และพันธุ์ข้าว กข49 ปลูกเพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์) นอกจากนี้ ทางกลุ่มยังมีผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า “ถิ่นงาม” เป็นของตนเอง โดยอินทัช ได้สนับสนุนเครื่องคัดพันธุ์ข้าว และเครื่องแพ็คข้าวสุญญากาศ และบรรจุภัณฑ์ขนาดต่างๆ ให้กลุ่มชาวนา รวมทั้งนำหน่วยงานด้านการตลาดในพื้นที่มาให้คำแนะนำในการจัดระบบการตลาดของกลุ่ม
  4. เทคโนโลยีและนวัตกรรม สนับสนุนให้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานช่วยลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น ฝึกการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนาการทำงานและสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
นายเอนก พนาอภิชน รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
นายเอนก พนาอภิชน รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

นายเอนก พนาอภิชน รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เรามุ่งเน้นให้ชาวนาไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้และเกิดกลุ่มชาวนาที่มีความเข้มแข็งด้วยการยกระดับให้เป็นผู้ประกอบการ และรู้จักนำประโยชน์ของเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ในปีนี้ อินทัชจึงเข้าไปส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ เน้นการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมกับชุมชนขนาดเล็กเข้ามาช่วยเพื่อลดขั้นตอน ระยะเวลา และต้นทุนในการปลูกและเก็บเกี่ยว ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือกับสมาชิกโครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การให้ความรู้ด้านการตลาด และการเตรียมเข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ การดำเนินการทั้งหมดสอดคล้องกับหนึ่งในกรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอินทัช คือ การส่งเสริมและสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชุมชนและสังคม”

เครื่องสีฝัดข้าวในชุมชน
เครื่องสีฝัดข้าวในชุมชน

ตำบลท่างาม อำเภอวัดโบสถ์ เป็นพื้นที่อนุรักษ์เกษตรกรรมของ จังหวัดพิษณุโลก จึงมีความพร้อมและมีศักยภาพสูง อดีตเคยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สำคัญ อีกทั้งยังตั้งอยู่ในโครงการเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีการจัดการที่ดีส่งผลให้พื้นที่เกษตรกรรมในตำบลท่างามเป็นพื้นที่แปลงใหญ่สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี เราจึงมองว่าพื้นที่นี้มีศักยภาพสูงที่จะเป็น “ศูนย์เมล็ดพันธุ์และข้าวอินทรีย์ของจังหวัดพิษณุโลก” ได้ต่อไป

นายสุวิทย์ สุริยะวงศ์ นายอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
นายสุวิทย์ สุริยะวงศ์ นายอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

นายสุวิทย์ สุริยะวงศ์ นายอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า “ผมรู้สึกยินดีที่พี่น้องเกษตรกรในอำเภอวัดโบสถ์ได้รับเลือกให้เป็นชาวนาผู้นำร่องในโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างโครงการปลูกข้าวเพื่อสุขภาพโดยอินทัช เพราะเป็นชุมชนที่มีศักยภาพในการปลูกข้าว และการที่สังคมเกษตรกรรมไทยจะก้าวเป็นเกษตร 4.0 ได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากบุคคลและองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของนวัตกรรม ผมหวังว่าจะได้เห็นเกษตรกรในชุมชน อินทัชและทุกหน่วยงานจะเชื่อมการทำงานกันในระดับอำเภอเพื่อทำให้การเปิดศูนย์จำหน่ายเมล็ดพันธุ์และข้าวอินทรีย์ดำเนินการได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

การใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตร
การใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตร

นางจรูญ ราชบรรจง ประธานคณะกรรมการโครงการปลูกข้าวเพื่อสุขภาพโดยอินทัช จังหวัดพิษณุโลกมีความเห็นต่อโครงการว่า “หลังจากเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวเพื่อสุขภาพกับอินทัช กลุ่มของเราได้เรียนรู้วิธีการปลูกข้าวโดยไม่ใช้สารเคมีและได้ผลผลิตที่ดีมีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยเครื่องคัดพันธุ์สมัยใหม่ที่อินทัชสนับสนุน และนอกจากนี้ยังจัดการแปลงนาด้วยเทคโนโลยีเครื่องมือการเกษตรที่ทางกรมชลประทานสนับสนุนมาช่วยอำนวยความสะดวก กลุ่มของเราได้ตั้งชื่อข้าวหอมมะลิของกลุ่มว่า ‘ถิ่นงาม’ ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของตำบลท่างาม ช่วยกันคิดออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามน่าซื้อทำให้ขายข้าวได้ราคาดีขึ้นซึ่งลูกค้าสามารถติดต่อเราได้โดยตรงไม่ผ่านคนกลาง ในอนาคตเราจะมี QR Code ที่บรรจุภัณฑ์ช่วยให้ลูกค้ารู้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตข้าวและรู้จักกลุ่มของเราได้อย่างสะดวกรวดเร็วและหวังว่ากลุ่มของเราจะเป็นต้นแบบด้านการปลูกข้าวอินทรีย์ให้ชุมชนเกษตรอื่นๆ ที่สนใจเข้ามาศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

ข้าวหอมมะลิของกลุ่มชื่อว่า ‘ถิ่นงาม’ บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของตำบลท่างาม
ข้าวหอมมะลิของกลุ่มชื่อว่า ‘ถิ่นงาม’ บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของตำบลท่างาม

สำหรับความคืบหน้าในการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวและส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์ตำบลท่างาม ปัจจุบันกลุ่มชาวนาได้จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนและกำลังเข้าสู่กระบวนการขอรับรองสถานะเป็นศูนย์จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ คาดการณ์ว่าจะได้รับสถานะเป็นศูนย์จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ชุมชนและเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบภายในปี พ.ศ. 2562 และคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2564 ข้าวจะได้การรับรองมาตรฐานอินทรีย์อย่างถูกต้องต่อไป

กลุ่มชาวบ้านตำบลท่างามและแปลงนาพันธุ์ข้าว พิษณุโลก 2
กลุ่มชาวบ้านตำบลท่างามและแปลงนาพันธุ์ข้าว พิษณุโลก 2
SIMA_webbanner_468x90_TH_animated