เปิดวิสัยทัศน์ด้านเกษตร 5 พรรคการเมือง สื่อเกษตรโหมโรงก่อนเลือกตั้ง 66

เมื่อวันที่ 26 เมษายน ณ ห้องสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดเสวนาในหัวข้อ “การนำเสนอนโยบายด้านการเกษตรของพรรคการเมืองผ่านสื่อมวลชน” นโยบายด้านการเกษตรพรรคไหน…จะโดนใจเกษตรกร โดยเชิญตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆ เข้าร่วมดังนี้ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, อ.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายเพื่ออนาคตพรรคก้าวไกล, นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ กรรมการบริหารพรรคไทยสร้างไทย, นสพ.ชัย วัชรงค์ คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย และ ดร.บุรินทร์ สุขพิศาล กรรมการจัดทำนโยบายพรรคพลังประชารัฐ

สำหรับนโยบายด้านการเกษตรกรของพรรคประชาธิปัตย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคฯ เปิดเผยว่า พรรคยืนอยู่บนนโยบายเกษตรกรเข้มแข็ง โดยมีเป้าหมายหลักอันดับแรก ให้ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจส่งออกอาหาร 1 ใน 10 ของโลก ซึ่งตอนนี้เราอยู่อันดับ 13 ของโลก อันดับต่อมาเกษตรกรต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น 100% ต่อมาคือเพิ่มจีดีพีภาคเกษตรเป็นจาก 8.5% เป็น 10% สร้างฐานรายได้ใหม่ โดยสร้างฐานแปรรูปอุตสาหกรรมการเกษตรใหม่ ส่งเสริมการจัดตั้งนิตมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร 18 กลุ่มจังหวัด ตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจการเกษตรทั่วประเทศ เน้นทั้งเกษตรอาหาร เกษตรพลังงาน เกษตรท่องที่ยว และเกษตรสุขภาพ เปลี่ยนเกษตรดั้งเดิมเป็นเกษตรสมัยใหม่รายได้สูง ยกระดับจากเมืองเกษตรเป็นเมืองอาหาร

นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องสร้างฐานตลาดใหม่ ยกระดับราคาสินค้าเกษตร เพิ่มในส่วนของตลาดออนไลน์ ตลาดประมูลทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ขยายตลาดใหม่ๆ สร้างฐานสินค้าใหม่ สร้างแบรนด์สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ และสร้างฐานแปลงเกษตรใหม่ ยกระดับเกษตรแปลงใหญ่เป็น 10,000 แปลง จากปัจจุบัน 3,000 แปลง และเพิ่มเกษตรแม่นยำจาก 2 ล้านไร่ เป็น 5 ล้านไร่ ต่อยอดประกันรายได้ในพืชหลัก รวมทั้งฟรีนมโรงเรียน 365 วัน เพื่อส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม สนับสนุนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นอย่างน้อย 2,800 กลุ่มๆ ละ 100,000 ต่อปี พร้อมกับเพิ่มธนาคารหมู่บ้านและธนาคารชุมชนแห่งละ 2 ล้านบาท และส่งเสริมสินเชื่อเงินออมชนบท ขณะเดียวกันก็ปลดล็อก พ.ร.ก.ประมง ภายใต้กติกาไอยูยูใน 90 วัน พร้อมตั้งสภาการประมง และกองทุนประมง พัฒนาอุตสาหกรรมประมงทุกระดับ ออกกรรมสิทธิที่ดินให้เกษตรกรในที่ดืนของรัฐทุกประเภท กระจายการถือครองที่ดิน ปฎิรูปที่ดิน ธนาคารที่ดิน โฉนดชุมชน มีค่าตอบแทนให้อาสาสมัครเกษตรเดือนละ 1,000 บาท พักหนี้ 4 ปี ปฎิรูป ธ.ก.ส. ปฎิรูประบบสินเชื่อ เงินฝาก ดอกเบี้ย พัฒนารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และกองทุนอื่นๆ

ด้านพรรคเพื่อไทย นสพ.ชัย วัชรงค์ เปิดเผยว่า นโยบายพรรคฯ เน้นที่การผ่าตัดปรับโครงสร้างภาคเกษตร ใช้หลัก “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม” เปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิมเป็นเกษตรก้าวหน้าสมัยใหม่ โดยใช้ตลาดนำการผลิต เปลี่ยนจากการทำเกษตรที่มีรายได้น้อย มาทำเกษตรรายได้สูง ผลิตสินค้าที่ตลาดต้องการ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ที่ทุ กปีต้องอาศัยการนำเข้า รวมถึงโคเนื้อที่ตลาดมีความต้องการมากปีละ 4-5 ล้านตัว แต่ไทยไม่มีนโยบายเพิ่มผลผลิต ขณะดียวกันก็เพิ่มระบบชลประทานให้ทั่วถึง จากปัจจุบันมีพื้นที่ชลประทานครอบคลุมเพียง 22 ล้านไร่ จากพื้นที่การเกษตร 140 ล้านไร่

ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้เกษตรกรจับมือกับภาคเอกชนหรือนักเกษตรรุ่นใหม่ ทำเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ตั้งเป็นรูปแบบบริษัท ให้เกษตรกรตเป็นผู้ถือหุ้น จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 10 เท่า แบ่งกำไรเป็น 3 ส่วน เกษตรกรได้ 50% บริษัทได้ 40% ส่วนอีก 10% เป็นของท้องถิ่น พร้อมทั้งสามารถแปลงสินทรัพย์มาเป็นทุน แปลงที่ ส.ป.ก.เป็นโฉนดได้ โดยตั้งเป้าออกโฉนด 50 ล้านไร่

นอกจากนี้ยังมีนโยบายให้ลดการผลิตสินค้าที่มีมากเกินไปเช่นข้าว แต่ให้เป็นไปตามความสมัครใจ จะทำให้ราคาข้าวเปลือกขึ้นได้ 3-5 พันบาท แล้วนำพื้นที่ไปปลูกพืชราคาสูงเช่นทุเรียนให้ได้ 1 ล้านไร่ ตั้งโครงการ 1 ตำบล 1 โรงปุ๋ย โดยมีเงินกู้ปลอดดอกเพื่อจัดซื้อเครื่องมือที่ทันสมัย รวมทั้งตั้งเกณฑ์เคพีไอ เพื่อประเมินการทำงานของข้าราชการกระทรวงเกษตรฯ พร้อมทั้งตั้งเป้าจีดีพีภาคเกษตรต้องขยายตัวปีละ 5-10 % หากไม่ได้ตามเป้า ปลัดกระทรวงเกษตรฯ อธิบดีแต่ละกรมต้องรับผิดชอบ นอกจากนี้ยังเตรียมตั้งกองทุนรองรับปัญหาโลกร้อน โดยการตั้งงบประมาณแก้ปัญหาโรคอุบัติใหม่ ชนิดละ 1,000 ล้านบาท ทั้งหมดนี้ เพื่อเพิ่มรายได้ ให้เกษตรกร 3 เท่าใน 4 ปี

นายฉลอง เทพวิทักษ์กิจ พรรคไทยสร้างไทย กล่าวว่า พรรคไทยสร้างไทยจะปรับโครงสร้างให้เกิดการสมดุลระหว่างอุปสงค์กับอุปทาน เน้นที่พืชเศรษฐกิจหลัก เริ่มจากข้าว ที่สร้างผลกระทบกับเกษตรกรมากที่สุด เพราะซัพพลายเหลือจากการส่งออกมากถึงปีละ 3-4 ล้านตัน ฉะนั้นถ้าลดผลผลิตข้าวลงได้ ราคาข้าวก็จะเป็นไปตามกลไกตลาด ขณะเดียวกันก็ต้องขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับขยายทั้งปริมาณและชนิดสินค้าให้เพิ่มขึ้น แปรรูปเพิ่มมูลค่า เน้นพืชสมุนไพร พืชพลังงาน ส่งเสรติมอุตสาหกรรมการเกษตร

นอกจากนี้ยังมีนโยบายทำบ่อเพื่อเก็บน้ำสำหรับทุกครัวเรือน รวมทั้งขุดบ่อบาดาล ประปาหมู่บ้าน ติดโซล่าเซลล์สูบน้ำ พร้อมกับดำเนินโครงการโขง เลย ชี มูล โดยใช้งบประมาณ  2 แสนล้านบาท เพื่อเติมน้ำให้กับภาคอีสาน ขณะเดียวกันก็จัดทำกองทุนเพื่อคนตัวเล็ก เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อทำโซล่าเซลล์ และเทคโนโลยีทางการเกษตร ภายใต้เงื่อนไขเกษตรกรต้องเรียนรู้ก่อน

ขณะเดียวกันก็มีนโยบายให้สามารถจำหน่ายจ่ายโอน ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรรม (ส.ป.ก.) ได้ lส่วนที่ดินภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท. 5) จะพิจาการณาการใช้ประโยชน์ตามพื้นที่ โดยจัดเป็นโซนจัดสรร โซนแปลงใหญ่ โซนปลูกป่า และโซนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตามความเหมาะสม และส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี เพิ่มขยายตลาดต่างประเทศ โดยมีผู้นำประเทศและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่เสมือนเป็นเซลล์แมนหาตลาด ทั้งตลาดเก่าและตลาดใหม่

ด้าน ดร.บุรินทร์ สุขพิศาล พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า พรรคมีแนวคิดเปลี่ยนโครงสร้างภาคการเกษตรโดยเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมให้มากขึ้น โดยสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ และเพิ่มมูลค่า โดยเฉพาะด้านพลังงานที่ได้จากพืชผลทางการเกษตร และเชื่อมโยงการขับเคลื่อน เช่น อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เพื่อยกระดับราคาสินค้าเกษตร ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มรองรับตลาดสีเขียว ควบคู่ไปกับการลดหนี้ให้เกษตรกร ด้วยการเติมเงินลงทุนให้เกษตรกรครัวเรือนละ 30,000 บาท เพื่อสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร ช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิต ลดต้นทุน และได้สินค้าคุณภาพ ขณะเดียวกันจะมีการตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรียตามแนวท่อแก๊ส ก่อนกระจายทั่วประเทศ พร้อมกับสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยสั่งตัด กำหนดมาตรการปุ๋ยคนละครึ่ง เพื่อให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยเองใช้ในประเทศ

นายเดชรัต สุขกำเนิด พรรคก้าวไกล กล่าวว่า พรรคมีนบายให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งทุนและที่ดิน โดยจะแก้ทั้งที่ดิน ส.ป.ก.และที่ดินทับซ้อน โดยจะมีกองทุนพิสูจน์สิทธิที่ดินวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ภายใน 4 ปี โดยกองทุนนี้จะผลักดันให้การทำงานพิสูจน์สิทธิ์ และจัดสรรที่ดินประเภทต่างๆ ได้เร็วขึ้น ขณะเดียวกันเกษตรกรก็ต้องมีอาชีพเสริมระหว่างการทำเกษตร ส่งเสริมการแปรรูปเพิ่มมูลค่า ในเรื่องการต่างประเทศก็ต้องทำในชิงรุก สร้างความเป็นธรรม เอาจริงเอาจังกับปัญหาในทุกจุด ขณะที่องค์กรท้องถิ่นเมื่อถ่ายโอนอำนาจหน้าที่ ก็ต้องมีบทบาทมากขึ้น โดยองค์กรที่เล็กที่สุดจะได้รับงบเพิ่มอีกแห่งละ 20 ล้านบาท

ขณะเดียวกันก็ปลดหนี้ให้เกษตรกร โดยเกษตรกรที่เป็นหนี้ จะมีการเข้าไปช่วยโดยอาจเช่าที่ดินนั้นๆ ที่ติดจำนองอยู่ เพื่อให้เกษตรกรปลูกไม้ยืนต้น และไม้เศรษฐกิจ หรือไม้ผลที่มูลค่าทางเศรษฐกิจ ภายใต้เงื่อนไขรัฐบาลจะเคลียร์หนี้ให้ และคืนที่ดินพร้อมผลผลิตให้หลังจากครบ 20 ปี หรือระยะเวลาที่กำหนด ขณะเดียวกันก็มีการลงทุนโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า รวมถึงเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้มากขึ้นและทั่วถึงทุกจุด สร้างพื้นที่ระบายน้ำ ปรับกติกาสำหรับพื้นที่รับน้ำ กำหนดระยะเวลา การจ่ายเงินชดเชย และทำให้ท่วมน้อยลง รวมทั้งดูแลเรื่องปุ๋ยสั่งตัด พร้อมทั้งสนับสนุนเรื่องเครื่องจักรทางการเกษตร อัตราดอกเบี้ย 0 %

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated