เชิญประกวดผลไม้ งานเกษตรแฟร์ ปี 2566 มี 18 ประเภท ต้องมี GAP ด้วย
เชิญประกวดผลไม้ งานเกษตรแฟร์ ปี 2566 มี 18 ประเภท ต้องมี GAP ด้วย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 3 – 11  กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สู่สังคม โดยนิสิต อาจารย์ และบุคลากร จะมีส่วนร่วมนำองค์ความรู้ผลลัพธ์ จากผลิตภัณฑ์งานวิจัย ถ่ายทอดแก่ประชาชน นอกจากนี้ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน มูลนิธิฯ ให้มีช่องทางจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สินค้าแปรรูป สินค้าอุโภคบริโภค ฯลฯ รวมถึงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ นอกจากนี้ยังมีการประกวดพืช ผลไม้และปลาสด 

สำหรับการประกวดผลไม้ในงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2566 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ขอเชิญเกษตรกรและผู้สนใจร่วมส่งผลไม้เข้าประกวดในงานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2566 ในวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โถงชั้นล่าง อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยจัดประกวดผลไม้ 18 ประเภท ดังนี้

ขนุน ไม่จำกัดพันธุ์ ผลสุกพร้อมรับประทาน ชมพู่ไม่จำกัดพันธุ์ ฝรั่งผลเล็ก ฝรั่งผลโต ไม่จำกัดพันธุ์ กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า มะม่วงผลสุก ไม่จำกัดพันธุ์ มะม่วงผลดิบ ไม่จำกัดพันธุ์ มะละกอผลสุก ไม่จำกัดพันธุ์ ละมุด ผลสุกพร้อมรับประทาน ส้มโอเนื้อสีชมพู/ แดง มีขั้วติด ส้มโอเนื้อสีขาว /เหลือง มีขั้วติด ส้มเปลือกล่อน มีขั้วติด ลำไย ไม่จำกัดพันธุ์มีใบติด องุ่น พันธุ์ไวท์มาละกามีช่อติดกิ่ง องุ่นไร้เมล็ด มีช่อติดกิ่ง และ มะพร้าวน้ำหอม

ผู้ที่ส่งผลไม้เข้าประกวดจะต้องมีใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืชของผลไม้ชนิดที่ส่งเข้าประกวดใน วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ตัดสินการประกวดเวลา 13.30 – 16.00 น. ณ โถงชั้นล่าง อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ผศ.ดร.เจนจิรา ชุมภูคำ โทรศัพท์ 08 – 9631 – 7987 และ ดร.อารยา อาจเจริญ เทียนหอม โทรศัพท์ 08 – 1684 – 6894 และ อ.รัฐพล ฉัตรบรรยงค์ โทรศัพท์ 06 – 2381 –7880 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.ku.ac.th/

คลิปข้างบนนี้ เป็นผลการประกวดผลไม้ งานเกษตรแฟร์ ประจำปี 2562 ซึ่งครั้งนั้นคึกคักมาก แต่หลังจากนั้น 2 ปี ก็งดจัดจากโควิดที่รุกราน และมาประกวดอีกครั้งเมื่อปี 2565 แต่ครั้งล่าสุดนี้ไม่ค่อยคึกคัก ก็หวังว่าครั้งใหม่นี้จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง ครั้งใหม่นี้เพิ่มคุณสมบัติจะต้องมีใบรับรอง GAP เพราะว่ามีการท้วงติงในหลายครั้งที่ผ่านมา “คนส่งประกวดไม่ใช่เจ้าของสวนก็มี” ครั้งนี้จึงเหมือนให้สิทธิ์เจ้าของสวนตัวจริงและปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรเน้นเรื่องแต่ละสวนจะต้องมีใบรับรอง GAP เพื่อยกระดับมาตรฐานผลผลิตนั่นเอง

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated