หมอทุเรียนเมืองจันท์
หมอทุเรียนเมืองจันท์ "อาจารย์ดนัย อังศุสิงห์" แนะปลูกทุเรียนไม่ตาย เพราะโรคแมลง..ชีวภัณฑ์ช่วยได้

เรื่องโดย : ธนสิทธิ์ เกษตรก้าวไกล

อาจารย์ดนัย อังศุสิงห์ นอกจากจะเป็นเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการทำสวนทุเรียน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเขื่อนคีรีธาร ตำบลบ่อเวฬุ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษาโรคเกี่ยวกับทุเรียน จนได้รับการขนานนามว่า “หมอทุเรียน”

“ผมใช้ประสบการณ์ จากทั้งที่เคยเป็นนักวิชาการด้านอารักขาพืช กรมส่งเสริมการเกษตร และจากประสบการณ์การทำสวนทุเรียน ที่ได้ศึกษาวิจัยอย่างเจาะลึก ร่วมกับนักวิชาการของทุกภาคส่วน ทำให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคทุเรียน และออกไปช่วยเพื่อนเกษตรกรชาวสวนอย่างต่อเนื่อง จึงถูกเรียกว่า หมอทุเรียน” อาจารย์ดนัย กล่าวในช่วงหนึ่งระหว่างการนำเยี่ยมชมสวนทุเรียน…

ในการเยี่ยมชมครั้งนี้ มีหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ การปลูกทุเรียนอย่างไรไม่ให้ตาย จากโรคแมลง? โดย ลุงพร เกษตรก้าวไกล ได้นำประสบการณ์ของตนเองจากการเดินทางไปพบเกษตรกรชาวสวนทุเรียนมาสอบถามอาจารย์ดนัย ดังรายละเอียดจากคลิปและบทความต่อไปนี้

ทุเรียนตาย เพราะอะไร?

“ผมได้นำระบบที่คิดค้นขึ้น เรียกว่า การปลูกทุเรียนไม่ให้ตายจากโรค ไม่เกิดเสียหายจากแมลง และปลอดภัยทั้งต่อสิ่งแวดล้อม และผู้คน เข้ามาใช้ที่สวนประมาณ 4 ปี แล้ว และได้ผลดีด้วย ด้วยการนำผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงเข้ามาใช้ เพราะอะไร ตรงนี้ผมอยากเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ นั่นคือ คนเรา ถ้าสุขภาพแข็งแรงแล้ว ถึงจะป่วยไข้เป็นอะไร แปบเดียวก็หาย ต้นทุเรียนเช่นกัน เพียงแต่ต้นทุเรียนไม่สามารถบอกกล่าวกับเราได้ แต่เราต้องเข้าใจเขาก็ไม่มีปัญหา”

พร้อมกันนี้ อาจารย์ดนัย ได้อธิบายแบบเจาะลึกให้ฟังว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้ปลูกทุเรียนแล้ว ไม่เป็นโรค หรือถึงเป็นโรคแล้วก็จะไม่ตายนั้น ต้องมาจากกลุ่มปัจจัยสำคัญ คือ กลุ่มปุ๋ย กลุ่มธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม จะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ต้นทุเรียนสมบูรณ์ โดยสังเกตุได้จากใบทุเรียน ให้สังเกตนะครับว่า ในช่วง 10 – 12.00 น. ถ้าต้นทุเรียนมีลักษณะใบดำ สดใส แวววาว แล้วแสดงว่า ต้นทุเรียนนั้นมีสุขภาพดี อีกประการที่นำมาใช้ คือ การจัดการภายในทรงพุ่งต้นทุเรียน ถ้ามาที่สวนและสังเกตจะเห็นว่า หัวสปริงเกอร์ที่ใช้จะหันหัวออก ทำให้น้ำไม่ขังในโค่นต้น แสงแดดมีการส่องถึงโคนต้น ผืนดินใต้ต้นทุเรียนจะแห้ง นี่คือ ส่วนหนึ่งที่จะทำให้เชื้อราที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในทุเรียนเจริญเติบโตไม่ได้

“แล้วทำไมต้นทุเรียนถึงเป็นโรค นี่คือ อีกคำถามที่หลายคนสงสัย สาเหตุเพราะ ส่วนหนึ่งเกิดจากธรรมชาติ เช่น น้ำหนักกิ่ง ต้นฉีก ทำให้เกิดรูเปิด เป็นแผล จากนั้นเชื้อก็จะเข้า เพราะเชื้อมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ดังนั้น เกษตรกรเจ้าของสวนต้องระมัดระวัง อย่าให้มีรูเปิด และสังเกตุได้ว่า ยิ่งสวนไหนให้น้ำแบบปั่น เมื่อเกิดโรคจะรักษาไม่หาย ต้องหมุนเงินค่ารักษาไปเป็นไปจำนวนมาก เพราะน้ำไปจะทำให้เชื้อโรคเจริญได้ดี”

“อีกจุดหนึ่งที่อยากให้ข้อมูลคือ การวัดว่า การทำสวนทุเรียนจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ให้ดูหลังจากที่ต้นทุเรียนให้ผลผลิตแล้ว 3 ปีขึ้นไป เพราะก่อนหน้านั้นจะมีปัญหาการตายได้ สาเหตุเพราะน้ำหนักต้น และน้ำลูกจะกดลงไป ทำให้ส่วนของรากจมลึกลงไปในผืนดิน นำไปสู่การทำให้เกิดมุมอับ และเป็นโรคเน่าคอดินตามมา ซึ่งปีนี้จังหวัดจันทบุรี มีต้นทุเรียนตายด้วยกรณีนี้ ประมาณ 20,000 – 30,000 ต้น”

อาจารย์ดนัย กล่าวต่อไปว่า ดังนั้นระบบการปลูกทุเรียนไม่ตาย ที่ได้คิดค้นขึ้น จึงเป็นคำตอบในการการแก้ไขปัญหา ด้วยการทำให้ ต้นทุเรียนมีความแข็งแรง สภาพแวดล้อมดี ทำโค่นต้นให้แห้งอยู่เสมอ อย่างให้เปียก ทำให้เชื้อราไม่เกิด แล้วเราก็เสริมด้วยการเติมเชื้อดีเข้าไป โดยใช้กลุ่มสารชีวภัณฑ์ หรือที่เรียกว่า ยาเชื้อ

ใช้ชีวภัณฑ์อย่างไร ให้ได้ผลดี?

อาจารย์ดนัยให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุเรียนว่า จริงๆ แล้วทุเรียนเป็นพืชที่ค่อนข้างอ่อนแอ และจะเกิดการเป็นโรคมากในช่วงฤดูฝน อย่างที่จะทำให้เกิดปัญหาต้นทุเรียนล้มตาย มาจากโรคไฟทอปธอร่า ที่จะเกิดทั้ง ใบผล ลำต้น ราก อีกโรคที่สำคัญได้ แก่โรคราใบติด จะสร้างความเสียหายรุนแรงตลอดช่วงฤดูฝน ขณะที่ราสีชมพูเป็นอีกโรคที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีโรคใหม่ๆ อีกมาก และในช่วงฤดูฝนนี้ จะพบว่า สารเคมีที่ใช้รักษาในบางกลุ่มนั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้ผล เพราะเกิดจากปัญหาฝนตกหนัก ถือเป็นอุปสรรคสำคัญ

“เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราต้องกลับมาใช้คือ การใช้กลุ่มชีวภัณฑ์ ที่เป็นยาเชื้อ ซึ่งโรคเกิดได้ที่ไหน ยาเชื้อก็เกิดได้ที่นั่น จะเกิดคู่กัน ดังนั้น ในช่วงที่มีการระบาดของโรค กลุ่มชีวภัณฑ์สามารถช่วยได้ เพราะเป็นสิ่งมีชีวิต สามารถเจริญเติบโตขยายตัวเองได้  เกิดการแข่งขันได้กับเชื้อที่เป็นโรคพืช อย่างในดิน จะมีเชื้อโรคอยู่ เช่น ไฟทอปธอร่า ที่เป็นเชื้อโรครากเน่า พิเทียม ที่เป็นเชื้อของโรครากขาวเทา เป็นต้น ซึ่งช่วงที่ฝนกตกมาก สารที่ใช้รักษาจะไม่ได้ผล เราต้องใส่เชื้อไตรโครเดอร์ม่าลงไป เพื่อให้ไปเจริญเติบโตในดินที่ปลูกทุเรียนทำให้เชื้อโรคอื่นๆ ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ วิธีการใช้ ทำได้ทั้งการราดทั้งผืน หรือใส่บริเวณโคนต้นที่เป็นโรคเน่าคอดินก็ได้”

สำหรับในส่วนของด้านลำต้นที่อยู่เหนือผืนดิน อาจารย์ดนัย ให้ข้อแนะนำว่า จะใช้วิธีการฉีดพ่นด้วยเชื้อไตรโครเดอร์ม่า เข้าไปในทรงพุ่ม ให้ทั่วทั้งตามกิ่ง ก้าน ใบ สำหรับเชื้อไตรโครเดอร์ม่าที่ใช้ในสวนของผมนั้น จะใช้ของยี่ห้อไตรซาน เป็นหลัก เพราะเป็นยี่ห้อที่ถูกผลิตให้อยู่ในรูปผงเปียกน้ำ (WP) เข้มข้น 2×108 cfu/gm

“ขณะที่เชื้ออีกกลุ่มที่สำคัญคือ เชื้อราสีชมพู และเชื้อราใบติด จะต้องใช้เชื้อชีวภัณฑ์อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งผมใช้ยี่ห้อ ลาร์มิน่า ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทีลีส AP-01 เข้มข้น 1×109 cfu/gm สามารถไปเจริญเติบโตแข็งกับเชื้อราที่เป็นต้นเหตุของโรคในตำแหน่งเดียวกัน และจะสร้างสารที่จะไปย่อยสลายทำให้เชื้อราโรคพืชตาย”

สำหรับการใช้เชื้อชีวภัณฑ์ที่กล่าวมานั้น อาจารย์ดนัย บอกว่า จะใช้ตลอดช่วงฤดูฝน ด้วยสาเหตุว่า สารชีวภัณฑ์ไม่ใช้สารเคมี ที่จะใช้ครั้งเดียวแล้วเลิก ไม่ได้ ต้องใช้อย่างต่อเนื่อง ต้องมีการเติมเชื้อลงสู่ผืนดินอยู่เรื่อย ๆ ภายใต้หลักการใช้ที่ถูกต้อง คือ แบ่งการใช้ออกเป็น 3ช่วง คือ ครั้งหนึ่ง 1 ช่วงต้นฝน ครั้งที่ 2 ช่วงกลางฝน และครั้งที่ 3 ช่วงปลายฝน

แมลงศัตรูทุเรียน ต้องทำอย่างไร?

ในด้านของแมลงศัตรูทุเรียน เป็นอีกหนึ่งองค์ความรู้ที่น่าสนใจ ซึ่งอาจารย์ดนัยได้บอกกล่าวเพื่อประโยชน์ของเกษตรชาวสวนทุเรียน โดยเน้นย้ำว่า สิ่งสำคัญ ต้องมีการสำรวจก่อนว่า มีแมลงอะไรระบาด เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น เพลี้ยไฟ ทำให้เกิดปัญหาผลทุเรียนหนามจีบ หนามล้ม เสียหาย เพลี้ยแป้ง ทำให้เกิดราดำ เป็นปัญหาในการส่งออก นอกจากนี้ยังมีเพลี้ยหอย เพลี้ยปุยฝ้าย เพลี้ยนาสาร เพลี้ยจักจั่นฝอย และที่พบว่าร้ายอีกตัวคือ ไรแดง ซึ่งต้องบอกว่า ยากต่อการควบคุม และนำมาซึ่งการสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง แต่ที่สวนจะเน้นการใช้จุลืนทรีย์เข้ามาช่วยแก้ปัญหา

“แต่อยากให้เข้าใจว่า จุลินทรีย์นั้น เปรียบเสมือนกับโรคของแมลงแต่ละตัว ดังนั้นเชื้อจุลินทรีย์แต่ละตัวจะเข้าไปทำลายแมลงได้แตกต่างกัน ขอยกตัวอย่าง เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยจักจั่นฝอย เราก็ต้องใช้ยาเชื้อพวกบูเวเรีย โดยผมใช้ยี่ห้อ บูเวริน ที่เป็นเชื้อรา บูเวเรีย บัสเซียน่า ซึ่งเป็นเชื้อราที่มีประโยชน์ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูด ถูกผลิตให้อยู่ในรูปผงเปียกน้ำเข้มข้น1×109 cfu/gm โดยใช้เมื่อพบการระบาดของเพลี้ยดังกล่าว ส่วนเพลี้ยหอย ไส้เดือนฝอย และแมลงต่าง ๆ จะใช้ยี่ห้อไลซีนัส ซึ่งเป็นเชื้อราพาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส (Paecilomyces lilacinus) เข้มข้น 1×109 cfu/gm WP ที่ถูกผลิตให้อยู่ในรูปผงสำเร็จรูปพร้อมใช้ ละลายน้ำได้ 100% ไม่ต้องแช่ ไม่ต้องหมัก ไม่ต้องกรอง ไม่อุดตันหัวฉีด หากพบว่ามีการระบาดของแมลงศัตรูทุกกลุ่มตามที่กล่าวมา สามารถใช้ชีวภัณฑ์นี้พร้อมกันได้ โดยฉีดพ่นภายในทรงพุ่ม ดอก ลูก ผล ”

อาจารย์ดนัย กล่าวต่อไปว่า แต่กรณีที่พบว่า ในสวนทุเรียนของเกษตรกร เกิดการระบาดของแมลงศัตรูทุเรียนกลุ่มต่าง ๆอย่างรุนแรง เกษตรกรสามารถใช้ยาเชื้อ ควบคู่กับสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ โดยฉีดพ่นสารเคมีก่อน แล้วผสมด้วยยาเชื้อ จะทำงานต่อในระยะยาว สำหรับในส่วนของไรแดง ที่ผมใช้แล้วเห็นผล คือ ยี่ห้อเมทาซาน ซึ่งเป็นเชื้อรา เมตาไรเซียม อะนิโซเพล มีประโยชน์ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชจำพวกปากกัดและปากดูด นอกจากไรแดงแล้ว กลุ่มพวก ด้วงแรด ด้วงหมัดผัก ด้วงหนวดยาว หนอนด้วงชนิดต่างๆ เต่าแตง ค่อมทอง แมลงดำหนาม หนอนเจาะลำต้น ผีเสื้อกลางคืนหลายชนิด ฯลฯ ได้อีกด้วย โดยเมทาซาน ถูกผลิตให้อยู่ในรูปผงเปียกน้ำ เข้มข้น 1×109 cfu/gm

“แต่อย่างไรก็ดี อยากจะฝากและขอทำความเข้าใจกับพี่น้องเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้ยาเชื้อว่า สามารถใช้ร่วมกับสารอื่นๆ ได้ โดยไม่ต้องแยกใช้ อย่างในกลุ่มยาเชื้อ ถ้าเป็นกลุ่มยาเชื้อแมลง เราก็ใช้กับสารเคมีกำจัดแมลง ปุ๋ย และอาหารเสริมต่าง ๆ ได้หมด ถ้าเป็นกลุ่มเชื้อราโรคพืช เช่น ไตรซานและลาร์มิน่า สามารถ ใช้กับปุ๋ย ยา อาหารเสริม ได้หมด ยกเว้นยาเชื้อราเท่านั้นเอง สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เกษตรกรได้ประหยัดครับ” อาจารย์ดนัย กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งหมดนี้ คือ องค์ความรู้ที่มาจากประสบการณ์ของหมอทุเรียน อาจารย์ดนัย อังศุสิงห์ ที่ได้บอกเล่า เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรคนปลูกทุเรียนทั่วประเทศ เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน กับอาชีพการปลูกทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ของไทย….

สำหรับผู้ที่สนใจชีวภัณฑ์เพื่อทุเรียน ติดต่อได้ที่ บริษัท แอพพลายเค็ม (ประเทศไทย) จำกัด เลขที่ 15/15 ซอยวิภาวดีรังสิต 56 (ศรีจันทร์) แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ : 02-5612487-90 E-Mail : ap.bio@hotmail.com เฟซบุ๊ค : www.facebook.com/bioareus เว็บไซต์ : www.appliedchemthai.com

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated