ย่างเข้าหน้าฝนระวังไฟทอปธอรา “รากเน่าโคนเน่าทุเรียน” ถ้ารักษาไม่ทันมีสิทธิ์ยืนต้นตายได้
“โกดำ” หรือ คุณณรงค์พล เพชรรัตน์..เกษตรกรชาวสวนทุเรียนเบตง..ยืนมองผลงานการรักษาต้นทุเรียนที่เกิดโรครากเน่าโคนเน่าเข้าทำลาย

กรมวิชาการเกษตร ได้สรุปว่า โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนที่พบมีสาเหตุเกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา พาล์มิโวรา โดยราสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้น ได้แก่ ใบ กิ่ง ลำต้น ดอก ผล และระบบราก อีกทั้งราจะอาศัยอยู่ในดินและสามารถแพร่ระบาดได้ทั้งในน้ำและในอากาศ มักจะระบาดในช่วงฤดูฝนดร.พรพิมล อธิปัญญาคม ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช

ดร.พรพิมล อธิปัญญาคม ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช กล่าวว่า การเข้าทำลายของโรครากเน่าโคนเน่า ที่ใบและกิ่งอ่อน มีอาการเน่า ใบอ่อนเหี่ยวเหลือง มีจุดแผลสีน้ำตาลอ่อนฉ่ำน้ำ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ กิ่ง ลำต้น และโคนต้น มีจุดฉ่ำน้ำสีน้ำตาล และมีน้ำเยิ้มออกมาในช่วงเช้า เมื่อถากเปลือกจะพบว่าเปลือกเน่า เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนที่เน่ามีกลิ่นหืน แผลเน่าจะลุกลามรวดเร็ว มักพบโรคร่วมกับการเข้าทำลายของมอดเจาะลำต้นทุเรียน และจะระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกติดต่อกัน

กรณีโรคเข้าทำลายไม่รุนแรง

ให้เกษตรกรใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ แบบใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ฮาร์เซียนั่ม ให้นำหัวเชื้อมาเพิ่มปริมาณในข้าวสุก จากนั้นหว่านส่วนผสมเชื้อสดให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มจนถึงรอบชายพุ่ม อัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร หรือบริเวณโคนต้นพืชที่เกิดโรค อัตรา 10-20 กรัมต่อต้น หรือแบบใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทีลิส ให้ใช้เข็มฉีดยาใส่สารละลายของเชื้อ อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 มิลลิลิตร ฉีดเข้าในโคนต้นทุเรียน ต้นละ 3 จุด 1 ครั้ง จากนั้นลอกเปลือกต้นทุเรียนบริเวณที่เป็นโรคออกแล้วทาด้วยผงเชื้อ อัตรา 1,000 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร โดยจะต้องผสมสารจับใบ อัตรา 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร และราดดินบริเวณโคนต้นด้วยผงเชื้อ อัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 2 ลิตรต่อต้น โดยลอกเปลือกและราดดินซ้ำ รวม 4 ครั้งย่างเข้าหน้าฝนระวังไฟทอปธอรา “รากเน่าโคนเน่าทุเรียน” ถ้ารักษาไม่ทันมีสิทธิ์ยืนต้นตายได้

ใช้เหล็กดามเพื่อโยงเชือกช่วยเหลือกิ่งก้านที่เหลืออยู่..เนื่องจากกำลังมีลูกอยู่พอดี
ใช้เหล็กดามเพื่อโยงเชือกช่วยเหลือกิ่งก้านที่เหลืออยู่..เนื่องจากกำลังมีลูกอยู่พอดี
กรณีโรคเข้าทำลายรุนแรง

ให้เกษตรกรถากหรือขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก จากนั้นทาแผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 80-100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล+แมนโคเซบ 65% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง หากพบใบเหลืองทั้งต้น ให้ราดดินด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยร่วมกับการใช้ฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยาแล้วฉีดเข้าลำต้น ถ้าพบกิ่งแห้งที่มีรอยเจาะทำลายของมอด ให้ตัดไปเผาไฟทิ้ง สำหรับส่วนที่ไม่สามารถตัดทิ้งได้ ให้พ่นบนกิ่งใหญ่หรือลำต้นที่มีรูมอดเจาะด้วยสารฆ่าแมลงคลอไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ส่วนต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตาย ให้ขุดออกแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นให้ใส่ปูนขาวและตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วปลูกใหม่ทดแทนย่างเข้าหน้าฝนระวังไฟทอปธอรา “รากเน่าโคนเน่าทุเรียน” ถ้ารักษาไม่ทันมีสิทธิ์ยืนต้นตายได้

ต้นนี้มีสิทธิ์ยืนต้นตาย
ต้นนี้มีสิทธิ์ยืนต้นตาย

ท่านที่สนใจวิธีควบคุมและป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าแบบผสมผสาน สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ดร.พรพิมล อธิปัญญาคม ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช กรมวิชาการเกษตร หมายเลขโทรศัพท์ 092-259-8457

สองต้นน้ำกำลังรักษา..อยู่ติดกันมีสิทธิ์ติดกันได้
สองต้นน้ำกำลังรักษา..อยู่ติดกันมีสิทธิ์ติดกันได้
ประสบการณ์จากเกษตร

คุณธีรภัทร อุ่นใจ เกษตรกรข้าวของสวนทุเรียน ตำบลจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรีเป็นผู้หนึ่งที่ถือว่าประสบคามสำเร็จในการทำสวนทุเรียนจนได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติมาแล้ว กล่าวว่าโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน เกิดขึ้นได้บ่อยช่วงที่ฝนตกชุก จากประสบการณ์ของตนจะใช้วิธีป้องกันอย่างง่ายคือ การฉีดพ่นไตรเคอร์เดอร์มาทุเรียนทุกต้นทุก 3 เดือน กรณีต้นที่เริ่มติดโรคให้ผสมไตรโคเดอร์มาเทราดตรงโคนต้นหรือถ้าเป็นที่กิ่งก็ขูดเปลือกทุเรียนและที่แผลทาด้วยปูนแดง คำอธิบายเพิ่มเติมคลิกดูจากคลิปนี้ https://youtu.be/_tvJuOf3Qn0 หรือคลิปนี้ให้ดูจากต้นจริงที่หนักกว่า https://youtu.be/BUhdMt-F_nQ

ทางด้าน “โกดำ” หรือ คุณณรงค์พล เพชรรัตน์ เกษตรกรชาวสวนทุเรียนเบตง ในฐานะผู้มีประสบการณ์อีกคนหนึ่งที่ “เกษตรก้าวไกล” เคยมาร่วมเสวนากับ “อาจารย์เล็กโกพลัส” ซึ่งขณะนั้นที่สวนทุเรียนของเขาเคยประสบปัญหานี้มาก รวมทั้งสวนทุเรียนของเพื่อนๆ กล่าวว่าปัจจุบันมีสารชีวภัณฑ์ รวมทั้งยาชนิดต่างๆสามารถรักษาให้หายได้ แต่ถ้าดูแลจัดการไม่ดีจะระบาดรวดเร็วมาก และหากปล่อยไว้นานจะรักษายาก บางต้นถึงกับยืนต้นตายไปก็มีมากมากแล้ว จึงฝากให้เพื่อนๆเกษตรกรอย่านิ่งนอนใจ

ย่างเข้าหน้าฝนระวังไฟทอปธอรา “รากเน่าโคนเน่าทุเรียน” ถ้ารักษาไม่ทันมีสิทธิ์ยืนต้นตายได้

ครั้งหนึ่งทีมงานเกษตรก้าวไกล เคยมาเสวนาเรื่องการรักษาโรครากเน่าโคนเน่ากับ "อาจารย์เล็ก" ที่สวนทุเรียนเพชรรัตน์ ของโกดำ เบตง
ครั้งหนึ่งทีมงานเกษตรก้าวไกล เคยมาเสวนาเรื่องการรักษาโรครากเน่าโคนเน่ากับ “อาจารย์เล็ก” ที่สวนทุเรียนเพชรรัตน์ ของโกดำ เบตง
SIMA_webbanner_468x90_TH_animated