นายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง (สสก.3 จ.ระยอง) เปิดเผยว่า  สำนักงานฯ ร่วมกับ สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จัด “โครงการรถเร่ผลไม้ไทยน่าช้อปภาคตะวันออก”ผลไม้มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดภัย ครั้งที่ 3 ขึ้น ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ทั้งนี้เพื่อกระจายผลไม้ผ่านระบบรถเร่ โดยเฉพาะช่วงผลผลิตผลไม้กระจุกตัว จะทำให้กระจายได้เร็วขึ้นสามารถเพิ่มราคาให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น ในครั้งนี้มีรถเร่เข้าร่วมจำนวน 15 คัน มีผลไม้ได้แก่ ทุเรียน ลองกอง เงาะ มังคุด และสับปะรด
นายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง (สสก.3 จ.ระยอง)
นายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง (สสก.3 จ.ระยอง)
“ภาคตะวันออก เป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของประเทศไทย ในปี 2564 ไม้ผลที่สำคัญ 4 ชนิด คือ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง จาก 3 จังหวัด คือจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง มีผลผลิตรวมทั้งสิ้น 900,126 ตัน ดังนั้นกลไกหนึ่งในการกระจายออกสู่ตลาดภายในประเทศ คือรถเร่ผลไม้ ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง” นายปิยะ กล่าว
ทางด้าน นางสาวปัทมา นามวงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า จังหวัดจันทบุรีมีผลไม้หลักๆ 4 ชนิดประกอบด้วย ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง โดยทุเรียนมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดเกือบ 400,000 ตัน มังคุดประมาณ 70,000 ตัน เงาะประมาณ 90,000 ตัน ลองกอง 15,000 ตัน รวมทั้ง 4 ชนิด ประมาณกว่า 580,000 ตัน ซึ่งต้องบริหารจัดการให้ผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างทันท่วงที
นางสาวปัทมา นามวงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี
นางสาวปัทมา นามวงษ์ เกษตรจังหวัดจันทบุรี
“เรื่องการตลาดปีนี้เนื่องจากสถานการณ์ covid-19 ทำให้ผู้ซื้อเดินทางมายังแปลงปลูกของเกษตรกรลำบาก เนื่องจากมาตราการป้องกันการระบาดของโรค สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี จึงร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง จัดโครงการรถเร่ผลไม้ไทยน่าช้อปภาคตะวันออก ผลไม้มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดภัยขึ้น เพื่อกระจายผลไม้จากสวนของชาวสวนจันทบุรี ออกสู่ท้องตลาดซึ่งประสบความสำเร็จตามเป้าหมายเป็นอย่างดี” นางสาวปัทมา กล่าว
ส่วน นายมนูศักดิ์ จัตุชัย เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า ดีใจที่มีโครงการนี้ ทำให้นำผลไม้ไปขายได้ ในสวนจะปลูกสับปะรด มังคุด และทุเรียน ที่ผ่านมาจะส่งขายแผงริมถนน แม่ค้าที่ตลาด และผู้ค้าเร่จากจังหวัดนครราชสีมา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี สระแก้ว สุรินทร์ และมุกดาหาร มาปีนี้ผู้ค้าเร่ไม่สามารถเดินทางมารับผลไม้ได้เนื่องจากติดสถานการณ์โควิด-19 การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ เพราะเห็นว่าดีเป็นการเพิ่มช่องทางตลาด ทำให้ผลไม้ไม่ตกค้างเกิดความเสียหาย
นายมนูศักดิ์ จัตุชัย เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ
นายมนูศักดิ์ จัตุชัย เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ
ขณะที่ นางวรันธร ศรีทองคำ อีกหนึ่งเกษตรกรจากอำเภอท่าใหม่ เจ้าของสวนศรีทองคำ ที่เข้าร่วมโครงฯ กล่าวว่า มีพื้นที่ทำการเกษตร 32 ไร่ ปลูกทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ผลผลิตปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้วเนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย แต่จากที่เน้นการผลิตผลไม้คุณภาพ ทำให้ผลผลิตออกมาดีขายได้ราคา แม้จะอยู่ในช่วงสถานการณ์ โควิด-19
นางวรันธร ศรีทองคำ อีกหนึ่งเกษตรกรจากอำเภอท่าใหม่ เจ้าของสวนศรีทองคำ
นางวรันธร ศรีทองคำ อีกหนึ่งเกษตรกรจากอำเภอท่าใหม่ เจ้าของสวนศรีทองคำ
“ที่ผ่านมาพี่ชายจะนำผลไม้ขึ้นรถไปขายที่กรุงเทพฯ ตามลานจอดรถ ซึ่งปีนี้ทางห้างใจดีให้จอดขายฟรีเพื่อช่วยเกษตรกร และให้ผู้บริโภคได้ซื้อผลไม้ดีมีคุณภาพไปบริโภค โครงการฯ นี้ของภาครัฐก็เป็นสิ่งที่ดีมากเพราะทำให้สามารถนำผลผลิตที่ส่งออกไม่ได้เนื่องจากติดโควิด-19 มาขายได้ และที่สำคัญในการผลิตเกษตรกรสวนผลไม้จะต้องเอาใจใส่กับการผลิตเพื่อให้ผลผลิตออกมาดีมีคุณภาพ ผู้บริโภคก็จะประทับใจสินค้าของเราก็จะขายได้ดี ทั้งนี้เกษตรกรจะต้องช่วยเหลือตัวเอง และยืนด้วยตัวเองให้ได้ก่อน ก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่นครั้งนี้หากผลผลิตเราดีและภาครัฐมาช่วยเรื่องการตลาดด้วย ผลไม้ก็จะขายได้ดีมากยิ่งขึ้น” นางวรัญธร กล่าว
198357383_2897917463860276_7150097483650534904_n
สำหรับโครงการรถเร่ผลไม้ไทยน่าช้อปภาคตะวันออก ผลไม้มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดภัย นี้จัดขึ้น จำนวน 3 ครั้งด้วยกัน โดยครั้งที่ 1 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 ณ สหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจภาคเกษตรจังหวัดตราด อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ครั้งที่ 2 วันที่ 15 มิถุนายน 2564 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง และครั้งที่ 3 วันที่ 17 มิถุนายน 2564 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยมีรถเร่เข้าร่วมงานฯ ครั้งละ 15 คัน รวม 45 คัน มีผลไม้ที่กระจายในรถเร่ ได้แก่ เงาะ มังคุด ทุเรียน และลองกอง ตลาดปลายทางได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี สระแก้ว พิษณุโลก และนครปฐม ซึ่งการจัดกิจกรรมทั้ง 3 ครั้ง ดังกล่าวสามารถกระจายผลผลิตผลไม้จากแหล่งผลิตภาคตะวันออก ได้ไม่น้อยกว่า 100 ตัน
SIMA_webbanner_468x90_TH_animated