กองทุน FTA ช่วยเกษตรกรสร้างความมั่นคงด้านอาหารโคนมลพบุรี รองรับผลกระทบเปิดเสรีการค้าที่จะเกิดขึ้น

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการสร้างความมั่นคงด้านอาหารโคนมรองรับการเปิดเสรีทางการค้า (FTA) ซึ่งคณะกรรมการปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ หรือกองทุน FTA ได้อนุมัติวงเงินยืมปลอดดอกเบี้ย 10,000,000 บาท ให้กับสหกรณ์โคนมไทย – เดนมาร์ก สวนมะเดื่อ จำกัด จังหวัดลพบุรี เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อในการจัดหาพืชอาหารสัตว์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ผลิตอาหารหยาบคุณภาพดี หรือ อาหารผสมครบส่วน (TMR) จำหน่ายให้สมาชิกของสหกรณ์ฯ ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ตั้งแต่กรกฎาคม 2563 – กรกฎาคม 2568

กองทุน FTA ช่วยเกษตรกรสร้างความมั่นคงด้านอาหารโคนมลพบุรี รองรับผลกระทบเปิดเสรีการค้าที่จะเกิดขึ้น
นางอัญชนา ตราโช

จากการติดตามผลการดำเนินงาน โดยผ่านการประชุมออนไลน์กับผู้ที่เกี่ยวข้องของโครงการฯ ได้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา และประธานสหกรณ์โคนมไทย – เดนมาร์ก สวนมะเดื่อ จำกัด เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 พบว่า สหกรณ์ฯ ได้ดำเนินการรับซื้อพืชอาหารสัตว์และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ได้แก่ มันเส้น ต้นข้าวโพดพร้อมฝักบด และหญ้าเนเปียร์สดปั่น จากสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกอาหารสัตว์ จำนวน 1,122,615 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 2,243,938 บาท เพื่อนำมาผลิตเป็นอาหาร TMR จำหน่ายให้กับสมาชิกสหกรณ์ฯ ใช้เลี้ยงแม่โครีดนม และโคทดแทนที่มีมากกว่า 6,000 ตัว โดยสหกรณ์ผลิตอาหาร TMR จำหน่ายให้สมาชิกราคา 4 บาท/กิโลกรัม ซึ่งผลการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน ทำให้สหกรณ์ฯ มีวัตถุดิบในการผลิตอาหาร TMR จำนวน 770 ตัน จำหน่ายให้กับสมาชิก ส่งผลให้คุณภาพน้ำนมดีขึ้นเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์ โดยหลังจากสมาชิกสหกรณ์ได้ใช้อาหาร TMR แล้ว สามารถจำหน่ายน้ำนมได้ราคาสูงขึ้นเฉลี่ย 60 สตางค์/กิโลกรัม และมีปริมาณผลผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10

กองทุน FTA ช่วยเกษตรกรสร้างความมั่นคงด้านอาหารโคนมลพบุรี รองรับผลกระทบเปิดเสรีการค้าที่จะเกิดขึ้น“นอกจากสหกรณ์จะรับซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์จากสมาชิกแล้ว ยังรับซื้อจากเกษตรกรที่อยู่นอกโครงการ ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์มีตลาดรองรับที่แน่นอน โดยที่ผ่านมาสหกรณ์ได้รับซื้อข้าวโพดพร้อมฝักบดจากเกษตรกร ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยไร่ละ 5,000 บาท/รอบการผลิต และหลังจากมีโครงการเกษตรกรได้เพิ่มรอบการผลิตเป็นปีละ 2 ครั้ง ซึ่งคาดว่า เกษตรกรในพื้นที่จะมีรายได้จากการจำหน่ายวัตถุดิบให้กับสหกรณ์ฯ ทั้งปีคิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อการรับซื้ออาหารสัตว์และจำหน่ายน้ำนมของสหกรณ์บ้างเล็กน้อย โดยสหกรณ์ได้หลีกเลี่ยงการรับซื้อพืชและวัตถุดิบอาหารสัตว์จากต่างถิ่น และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด” รองเลขาธิการ สศก. กล่าว

กองทุน FTA ช่วยเกษตรกรสร้างความมั่นคงด้านอาหารโคนมลพบุรี รองรับผลกระทบเปิดเสรีการค้าที่จะเกิดขึ้นทั้งนี้ การเลี้ยงโคนมของเกษตรกรในปัจจุบันนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการจัดการแปลงหญ้ายังมีคุณภาพและปริมาณไม่เพียงพอแก่ความต้องการของโคนมม อีกทั้งเกษตรกรบางรายอาจจำเป็นต้องให้อาหารข้นมากขึ้น ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านอาหารสูงขึ้นไปด้วย ดังนั้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเสรีนำเข้าสินค้านมและผลิตภัณฑ์ ในปี 2568 โดยเฉพาะการค้าเสรีกับประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อาจมีผลกระทบโดยตรงกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตลอดจนโควตาการนำนมผง และภาษีนำเข้าที่ลดลงตามข้อตกลง สำหรับเกษตรกรที่ต้องการคำแนะนำหรือปรึกษา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2561 4727 หรือ อีเมล fta.oae@gmail.comกองทุน FTA ช่วยเกษตรกรสร้างความมั่นคงด้านอาหารโคนมลพบุรี รองรับผลกระทบเปิดเสรีการค้าที่จะเกิดขึ้นกองทุน FTA ช่วยเกษตรกรสร้างความมั่นคงด้านอาหารโคนมลพบุรี รองรับผลกระทบเปิดเสรีการค้าที่จะเกิดขึ้น

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated