แปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบ คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ปี 63
แปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบ คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ปี 63

นายดำรงฤทธิ์ หลอดคำ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เปิดเผยว่า เพื่อกระตุ้นการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ที่เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เพื่อคัดเลือกแปลงใหญ่ที่มีผลงานดีเด่นให้เป็นตัวอย่างในการขยายผลการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ในพื้นที่อื่น ๆ รวมถึงเผยแพร่เกียรติคุณ และผลงานของแปลงใหญ่ดีเด่นสู่สาธารณะ กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้กำหนดให้มีกิจกรรมประกวดแปลงใหญ่ดีเด่น ประจำปี 2563 ขึ้น

3854

โดยการประกวดมี 3 ระดับ คือระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศ ทั้งนี้แปลงใหญ่ที่เข้าร่วมประกวด ต้องเป็นแปลงที่เข้าร่วมโครงการในปี 2561 หรือที่เรียกว่า แปลงใหญ่ปีที่ 3 และมีผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการตรวจสอบย้อนหลังได้อย่างน้อย 2 ปี ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาด้านแผนและปัจจัยการนำเข้า การดำเนินการและผลตามกิจกรรม ผลลัพธ์ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ และสุดท้ายความยั่งยืน และขณะนี้การประกวดระดับประเทศได้เสร็จสิ้นแล้ว

“สำหรับผลการตัดสินอันดับ 1 เป็นของแปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา อันดับ 2 เป็นแปลงใหญ่สหกรณ์โคเนื้อ จังหวัดมุกดาหาร อันดับ 3 เป็นแปลงใหญ่ข้าวอินทรีย์ จังหวัดตาก ส่วนรางวัลชมเชย 3 รางวัลประกอบด้วย 1. เป็นแปลงใหญ่แพะ จังหวัดสิงห์บุรี 2.แปลงใหญ่สับปะรด จังหวัดราชบุรี และ 3.แปลงใหญ่แพะ จังหวัดสงขลา”

11นายดำรงฤทธิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับสำหรับแปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบนั้นอยู่ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งประสบปัญหาช้างป่าทำลายพืชผลทางการเกษตรเนื่องจากอยู่ติดกับป่าเขาใหญ่ ซึ่งมีช้างป่าอาศัยและหากินจำนวนมาก แปลงเพาะปลูกพืชของเกษตรกรจึงมักถูกช้างป่าลงมากินและทำลายเสียหายอย่างต่อเนื่องเป็นวงกว้าง เกษตรกรในพื้นที่จึงปรับเปลี่ยนการปลูกพืชที่ช้างชอบกินมาเป็นพืชอื่นๆ ทดแทน

S__8183811

“ไผ่ตงจึงเป็นพืชทางเลือกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรเลือกนำมาปลูก เนื่องจากไผ่ในป่าธรรมชาติมีปริมาณมากที่ช้างสามารถหากินได้ ไผ่ตงที่เกษตรกรนำมาปลูกจึงไม่เป็นเป้าหมายในการลงมาหากินของช้าง จึงไม่ได้รับผลกระทบและเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อนำไปจำหน่ายได้”

นายดำรงฤทธิ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกันในการดูแลบำรุงรักษาก็ไม่ซับซ้อนจึงมีเกษตรกรในพื้นที่จำนวนมากหันมาปลูกไผ่ตง และเพื่อการเข้าถึงมาตราการในการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เกษตรกรจึงรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มแปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบขึ้น เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561 โดยมี นายประสิทธิ์ รูปต่ำ เป็นประธาน ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 40 ราย มีพื้นที่ปลูก 352 ไร่

S__12263439

แปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบเป็นการเพาะปลูกในรูปแบบรวมกลุ่มร่วมกันผลิตเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต พร้อมพัฒนาคุณภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด บริหารจัดการแปลงอย่างมีส่วนร่วมและรวมกันขาย มีการพัฒนาแบบเชื่อมโยงตลอดห่วงโซ่การผลิตตามนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” จนสามารถสร้างอำนาจต่อรองด้านราคาของผลผลิตกับพ่อค้าคนกลางได้ สามารถสร้างรายได้เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน

โดยในปี 2561 ปริมาณผลผลิตหน่อไผ่ตงของกลุ่มแปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบ มีปริมาณ 323.9 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,223,453 บาท และในปี 2562 ปริมาณผลผลิตประมาณ 422.2 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,841,213 บาท

S__12263438

นอกจากนี้ทางกลุ่มยังได้ส่งผลผลิตออกไปจำหน่ายยังตลาดผักร่วมใจ (GAP) ตลาดไท จังหวัดปทุมธานี และตลาดต่างๆ ในจังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสระบุรี และห้างสรรพสินค้าแม็คโครสาขาฉะเชิงเทรา นครนายก และศูนย์กระจายสินค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสมุทรสาคร ผลผลิตของสมาชิกกลุ่มรับซื้อทั้งหมดเพื่อนำไปกระจายในตลาดดังกล่าว โดยเกษตรกรจะส่งผลผลิตหน่อไผ่ตง ณ ที่ทำการกลุ่มแปลงใหญ่ไผ่อำเภอท่าตะเกียบบ้านอ่างเตย_๑๙๐๒๒๐_0039

“การประกวดแปลงใหญ่ ก็มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถการดำเนินงานโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ที่เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เป็นการคัดเลือกแปลงใหญ่ที่มีผลงานดีเด่นให้เป็นตัวอย่างในการขยายผลการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ในพื้นที่อื่น ๆ รวมถึงเผยแพร่เกียรติคุณ และผลงานของแปลงใหญ่ดีเด่นสู่สาธารณะ”

1558959778245 “ซึ่งการประกวดนี้นับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาในขบวนการผลิตของเกษตรกร เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มมีการปรับโครงสร้างการผลิตที่ทันต่อสถานการณ์อย่างเป็นการปัจจุบัน สามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยสามารถเข้าถึงวิทยาการ เทคโนโลยี่ที่หน่วยงานภาครัฐส่งเสริมและสนับสนุน ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ได้มากขึ้น ได้มาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด” นายดำรงฤทธิ์ กล่าว

S__8183810

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated