เกษตรฯ คาดการณ์ปริมาณผลไม้ ปี 2563 พร้อมหาแนวร่วมผนึกกำลังวางแผนจัดการครบวงจร
เกษตรฯ คาดการณ์ปริมาณผลไม้ ปี 2563 พร้อมหาแนวร่วมผนึกกำลังวางแผนจัดการครบวงจร

เกษตรฯ เผยภาพรวมสถานการณ์ผลผลิตผลไม้ ปี 2563 ทั้งภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคใต้ ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น พร้อมดึงหน่วยงานหลายภาคส่วนผนึกความร่วมมือกระจายผลผลิตและจำหน่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ ในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2563 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีคณะทำงานจัดทำข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจได้รายงานสถานการณ์การผลิตผลไม้ ปี 2563 ทั้งภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคใต้ ซึ่งคาดการณ์ปริมาณผลไม้ภาคตะวันออกในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ได้แก่ ทุเรียน จะมีผลผลิต 550,035 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (495,543 ตัน) คิดเป็นร้อยละ 11 มังคุด ผลผลิต 212,345 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (179,610 ตัน) ร้อยละ 18.23 เงาะ ผลผลิต 210,637 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (191,089 ตัน) ร้อยละ 10.23 และลองกอง ผลผลิต 22,484 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (20,717 ตัน) ร้อยละ 8.53 โดยผลผลิตทุเรียน มังคุด และเงาะมักกระจุกตัว (Peak) ในช่วงเดือนพฤษภาคม ส่วนลองกองจะกระจุกตัวช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคมคาดการณ์ปริมาณผลไม้ ปี 2563

สำหรับภาคเหนือ ได้แก่ ลำไย 8 จังหวัด มีผลผลิต 662,132 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (620,379 ตัน) คิดเป็นร้อยละ 6.73 แบ่งเป็น ผลผลิตในฤดู 411,299 ตัน ผลผลิตนอกฤดู 250,833 ตัน และลิ้นจี่ 4 จังหวัด จะมีผลผลิต 28,676 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (22,090 ตัน) หรือร้อยละ 29.81 ส่วนไม้ผลเศรษฐกิจภาคใต้ ปี 2563 ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง คาดว่าทุเรียนมีผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่มังคุด เงาะ และลองกอง ผลผลิตลดลงจากปี 2562 โดยทุเรียน จะมีผลผลิต 560,675 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ปี 2562 (482,140 ตัน) คิดเป็นร้อยละ 16.29 มังคุด ผลผลิต 167,252 ตัน ลดลงจาก ปี 2562 (170,680 ตัน) ร้อยละ 2.01 เงาะ ผลผลิต 66,368 ตัน ลดลงจาก ปี 2562 (71,261 ตัน) ร้อยละ 6.87 และลองกอง ผลผลิต 70,742 ตัน ลดลงจาก ปี 2562 (76,517 ตัน) ร้อยละ 7.55 ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำแผนบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 ภาคตะวันออก และภาคเหนือ โดยจัดทำแผนบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จภายในจังหวัด ในเชิงคุณภาพที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2558 – 2564 ทั้งกระจายผลผลิตในประเทศ แปรรูป รวมทั้งส่งออก และในเชิงปริมาณโดยจัดสมดุลอุปสงค์ อุปทานครอบคลุมระยะก่อนเก็บเกี่ยว ระยะเก็บเกี่ยว และระยะหลังการเก็บเกี่ยว

นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

ด้าน นายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการ Fruit Board สรุปความก้าวหน้ามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีต่อผลไม้ไทยเพิ่มเติมโดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือในการกระจายและควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตร ดังนี้ 1. ด้านตลาดในประเทศ ภาครัฐจะเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตร โดยขอความร่วมมือไปรษณีย์ไทยมาช่วยในการจัดส่งผลไม้ฟรี 200 ตัน ซึ่งอยู่ระหว่างหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มปริมาณขึ้นอีก การผลักดันให้นำผลไม้จำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ประกอบการจำหน่ายผลไม้ทางช่องทางออนไลน์ รวมทั้งการรณรงค์บริโภคผลไม้ในประเทศ (Eat Thai First) เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้บริโภคผลไม้ไทยเกรด Premium ในราคายุติธรรมตามฤดูกาล และส่งเสริมให้นำผลไม้มอบเป็นของฝากของขวัญ 2. เพิ่มปริมาณการบริโภคภายในประเทศและระบบโลจิสติกส์ จัดจำหน่ายผลไม้ทุกชุมชนทั่วประเทศโดยสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผลไม้ร่วมกับผู้ประกอบการผลไม้และผู้ประกอบการบริการโลจิสติกส์ รวบรวมผลผลิตขนส่งและจำหน่ายทั่วประเทศผ่านร้านค้า ตลาดนัดชุมชน สหกรณ์ รถเร่ ตลาดเกษตรกรและอื่น ๆ กว่า 11,072 จุด รวมทั้งขอความร่วมมือหน่วยงานราชการส่วนกลาง/ภูมิภาค/ท้องถิ่น-รัฐวิสาหกิจ-องค์กรมหาชน ช่วยซื้อผลไม้และเป็นจุดขาย 3. ด้านการผลิต การบริหารจัดการเรื่องแรงงานเก็บผลไม้ โดยจะมีการผ่อนผันการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามเขต ขยายใบต่ออนุญาตให้แรงงานต่างด้าว การดูแลความเป็นธรรมเรื่องราคาและปริมาณ การส่งเสริมให้มีการทำคอนแทรกฟาร์มมิ่งหรือส่งเสริมการซื้อขายผ่านสัญญาข้อตกลง รวมทั้งการเชื่อมโยงการกระจายผลไม้ผ่านห้างสรรพสินค้า และซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยประสานงานกระทรวงพาณิชย์สนับสนุนบรรจุภัณฑ์ ขนาด 5 ก.ก., 10 ก.ก. และ 20 ก.ก.ให้แก่เกษตรกร 4. เสริมศักยภาพการบริหารจัดการมาตรฐานผลไม้ โดยสร้าง Central Lab ของไทยกรณีสินค้าเกษตรส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะไม่มีการตรวจสอบซ้ำที่ด่านปลายทาง และกรมวิชาการเกษตรได้เร่งออกใบรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 77,000 แปลงให้เกษตรกรไทย การตรวจรับรองล้ง GMP รับซื้อผลผลิต 315 จุด รวมทั้งสร้างองค์ความรู้ด้านเทคนิคการบรรจุห่อเพื่อยืดอายุผลไม้ในยาวนานขึ้น 5. เก็บรักษาและแปรรูปสร้างมูลค่าผลไม้ โดยความร่วมมือระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ ผลไม้ส่วนเกินนำเข้าสู่ระบบการเก็บรักษาด้วยการอบการแช่เย็นและวิธีอื่น ๆ รวมทั้งการแปรรูปผลไม้เป็นอาหารและเครื่องดื่มสำหรับตลาดในและต่างประเทศ เป็นต้นคาดการณ์ปริมาณผลไม้ ปี 2563

นอกจากนี้ ยังได้ขอความร่วมมือจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ช่วยกระจายผลผลิตผลไม้ภาคตะวันออกในช่วงกระจุกตัว (Peak) และในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดไปยังจังหวัดปลายทางต่าง ๆ แล้ว 5 จังหวัด ได้แก่ กทม. กาญจนบุรี ขอนแก่น ชัยภูมิ และสกลนคร การลงนามความร่วมมือหรือ MOU กับบริษัท Grab ขนส่งผลไม้แบบ Delivery ภายใต้ชื่อ “Grab Mart” ในการอำนวยความสะดวกขนส่งผลไม้แบบออนไลน์ เช่น มะม่วง ลิ้นจี่ มังคุด เป็นต้น คาดว่าพร้อมจะเปิดตัวให้บริการได้ภายใน 20 พ.ค. นี้

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated