ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ค้นพบจิ้งจกนิ้วยาวชนิดใหม่ของโลก อยู่ที่ อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทีมนักวิจัย ม.เกษตรศาสตร์ ค้นพบจิ้งจกนิ้วยาวชนิดใหม่ของโลก อยู่ที่ อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช

ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ดร. นที อำไพ (นักวิจัย) และ ผศ.ดร. อัญชลี เอาผล (หัวหน้าโครงการวิจัย) ค้นพบ “จิ้งจกนิ้วยาวลานสกา” ซึ่งเป็นจิ้งจกนิ้วยาวชนิดใหม่ของโลกจากพื้นที่เขาหินแกรนิต อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยงานวิจัยได้รับการสนับสนุนทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (BDC)

ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ค้นพบจิ้งจกนิ้วยาวชนิดใหม่ของโลก อยู่ที่ อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะนักวิจัย ประกอบด้วย ดร. นที อำไพ และ ผศ.ดร. อัญชลี เอาผล จากภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำงานวิจัยร่วมกับ Dr. Perry L. Wood Jr. จาก Department of Biological Sciences and Museum of Natural History, Auburn University และ Dr. Bryan L. Stuart จาก North Carolina Museum of Natural Sciences ประเทศสหรัฐอเมริกาทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ค้นพบจิ้งจกนิ้วยาวชนิดใหม่ของโลก อยู่ที่ อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

จิ้งจกนิ้วยาวสกุล Cnemaspis จัดอยู่ในวงศ์ Gekkonidae ซึ่งจิ้งจกในสกุลนี้มีความหลากหลายสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีรายงานการค้นพบชนิดใหม่อย่างต่อเนื่องและปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 17 ชนิดในประเทศไทย ซึ่งชนิดใหม่ที่รายงานครั้งนี้มีชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ว่า จิ้งจกนิ้วยาวลานสกา Cnemaspis lineatubercularis Ampai, Wood, Stuart & Aowphol, 2020

ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ค้นพบจิ้งจกนิ้วยาวชนิดใหม่ของโลก อยู่ที่ อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราชจิ้งจกนิ้วยาวลานสกาอาศัยในบริเวณเขาหินแกรนิต โดยมีถิ่นที่อยู่อาศัยย่อย (microhabitats) คือ ซอกหินหรือเพิงหินขนาดใหญ่บริเวณใกล้ลำธารและน้ำตกทั้งวัยอ่อน (juvenile) และตัวเต็มวัย (adult) ซึ่งการซ่อนตัวตามซอกหินหรือเพิงหินทำให้จิ้งจกนิ้วยาวลานสกาสามารถหลบหนีจากศัตรูผู้ล่าได้ง่าย โดยสัตว์ในวงศ์ Gekkonidae นี้มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ เช่น การควบคุมแมลงที่เป็นเหยื่ออาหาร ดังนั้นการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัย เช่น เขาหินแกรนิตบริเวณลำธารและน้ำตก จะทำให้จิ้งจกนิ้วยาวลานสกาสามารถดำรงชีวิตอยู่รอดได้ในธรรมชาติและเป็นการอนุรักษ์ให้ความหลากหลายของจิ้งจกกลุ่มนี้ในประเทศไทย

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated