“เสิร์ฟเมนูอาชีพ” เกษตรกรทั่วประเทศ ทุ่ม 2 หมื่นล้าน
“เสิร์ฟเมนูอาชีพ” เกษตรกรทั่วประเทศ ทุ่ม 2 หมื่นล้าน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นับเป็นอีกฟันเฟือนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย “ไทยนิยม ยั่งยืน” ของรัฐบาลโดยหัวใจหลักคือการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้เกษตรกรทั่วประเทศให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายใต้ “โครงการปฏิรูปภาคการเกษตร” วงเงิน 24,300 ล้านบาท แยกย่อยพร้อมเสิร์ฟให้เกษตรกรด้วยเมนูอาชีพเด็ดๆทั้งแบบรายบุคคล รายชุมชนและรายกลุ่ม ทั้งนี้ หน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สนับสนุนรายการอาชีพตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน เกษตร (เมนูอาชีพ) โดยกระทรวงเกษตรฯ วางเป้าจะมีประชาชนและเกษตรกรได้ประโยชน์จากโครงการนี้ 4.3 ล้านคนทั่วประเทศ แบ่งเมนูแบ่งเป็น 5 ประเภท คือเมนูด้านการผลิต เมนูด้านปศุสัตว์ เมนูด้านด้านประมง เมนูด้านด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเมนูด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าทางการเกษตร

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ...มุ่งหวังให้เกษตรกรทั่วประเทศได้ประโยชน์จากโครงการไทยนิยมยั่งยืนไม่ต่ำกว่า 4.3 ล้านคน
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ …มุ่งหวังให้เกษตรกรทั่วประเทศได้ประโยชน์จากโครงการไทยนิยมยั่งยืนไม่ต่ำกว่า 4.3 ล้านคน

เริ่มจาก เมนูด้านการผลิต ประกอบด้วย เมนู 1 พัฒนาอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย เมนู 2 พัฒนาทักษะอาชีพเกษตรตามความต้องการของเกษตรกร เมนู 3 พัฒนาอาชีพเกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรพื้นที่จาก คทช. เมนู 4 ส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เมนู 5 พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ เมนู 6 สนับสนุนเครื่องมือ/อุปกรณ์ให้กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ทุ่ม 2 หมื่นล้าน “เสิร์ฟสารพัดเมนูอาชีพ” สร้างรายได้-พัฒนาอาชีพเกษตรกรทั่วประเทศ

ส่วนเมนูด้านปศุสัตว์ ประกอบด้วย เมนู 1 พัฒนาอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเมนู 2 พัฒนาทักษะอาชีพเกษตรตามความต้องการของเกษตรกรเมนู 3 พัฒนาอาชีพเกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรพื้นที่จาก คทช.เมนู 4 ส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเมนู 5 พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่และเมนู 6 สนับสนุนเครื่องมือ/อุปกรณ์ให้กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ส่วนเมนูด้านประมง ประกอบด้วย เมนู 1 อบรมการตรวจรับรองคุณภาพสินค้าประมงเมนู 2 อบรมตรวจวิเคราะห์สารตกค้างในสัตว์น้ำ เมนู 3 เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ/ผลิตจุลินทรีย์ ปม.1 เมนู 4 สร้างความเข็มแข็งให้องค์กรประมงท้องถิ่น ส่วนเมนูด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย เมนู 1 สร้างฝายชะลอน้ำแบบมีส่วนร่วมของชุมชน(ใช้แรงงานจิตอาสาในชุมชน) มีค่าตอบแทนแรงงานท้องถิ่นวันละ 300 บาท เมนู 2 ก่อสร้างถังเก็บน้า ค.ส.ล.ในเขตปฏิรูปที่ดิน เมนู 3 สร้างฝายชะลอน้าชั่วคราวในเขตปฏิรูปที่ดิน(ใช้แรงงานจิตอาสาในชุมชน) มีค่าตอบแทนแรงงานท้องถิ่นวันละ 300 บาท เมนู 4 พัฒนาแหล่งน้าสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการตามข้อสั่งการใน ครม.สัญจร ส่วนเมนูด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าทางการเกษตร ประกอบด้วยมนู 1 จัดเก็บพืชผลทางการเกษตร (แก้มลิง) เมนู 2 แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เมนู 3 การแปรรูปยางพาราในสถาบันเกษตรกร   เมนู 4 ส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ

ทุ่ม 2 หมื่นล้าน “เสิร์ฟสารพัดเมนูอาชีพ” สร้างรายได้-พัฒนาอาชีพเกษตรกรทั่วประเทศสำหรับตัวอย่างโครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืน เมนู พัฒนาอาชีพเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย โดยเป้าหมาย 1.เกษตรกรทำกิจกรรมการเกษตรอื่นทดแทนการทำสวนยาง จำนวน 150,000 ไร่ รายละไม่เกิน 10 ไร่ (กยท.) 2.อบรมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 30,000 ราย (กสก.) โดยเงื่อนไขกำหนดเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางกับ กยท.มีเนื้อสวนยางที่ถือครองไม่เกิน 50 ไร่ เกษตรกรต้องโค่นยางเพื่อปรับเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น รายละไม่ต่ำกว่า 1 ไร่ แต่ไม่เกิน 10 ไร่ (คิดเฉลี่ย 70 ต้น/ไร่) ต้นยางที่จะโค่นต้องมีอายุต่ำกว่า 25 ปี และต้องไม่เป็นสวนยางที่อยู่ระหว่างการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนของกยท.

ภาพ-บ่อจิ๋ว

ส่วนวิธีการสนับสนุน จะเงินอุดหนุนเพื่อการพัฒนาอาชีพการเกษตร ไร่ละ 10,000 บาท โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 งวด แบ่งเป็นจ่ายเงินงวดที่ 1 ไร่ละ 4,000 บาท เข้าบัญชีเกษตรกร เมื่อเกษตรกรโค่นต้นยางและจัดทำแผนพัฒนาอาชีพการเกษตรกรรายคนแล้วเสร็จและจ่ายเงินงวดที่ 2 ไร่ละ 6,000 บาท เข้าบัญชีเกษตรกร เมื่อเกษตรกรเข้ารับการอบรมการประกอบอาชีพใหม่กับกรมส่งเสริมการเกษตรตามแผนพัฒนาอาชีพและดำเนินการตามแผนพัฒนาอาชีพแล้วเสร็จ ร้อยละ 40 อาทิ การปลูกพืชผักสวนครัว เช่น พริก มะเขือ แตงกวา ถัวฝักยาว ฟักทอง บวบ ตะไคร้ ผักเหลียง ผักกาด ข้าวโพด ผักพื้นบ้าน ฯล  การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดาวเรือง เบญจมาศ บอนสี หน้าวัว กล้วยไม้ ไม้ตัดใบ ฯ เลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ เช่น ผึ้ง จิ้งหรีด ชันโรง ด้วง ฯลฯ ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น เช่น ทุเรียน มะม่วง มะละกอ ไผ่ กล้วย ฝรั่ง มังคุด ลองกอง ส้ม ฯลฯ

ส่วนด้านการประมงและปศุสัตว์ สิ่งที่เกษตรกรได้รับ คือการได้รับเงินชดเชยจากการปรับเปลี่ยนอาชีพสวนยางพาราไปทำอาชีพอื่น ไร่ละ 10,000 บาท 2.ได้รับความรู้จากการเข้าร่วมอบรมเพื่อจัดทำแผนการผลิต/การประกอบอาชีพใหม่ ในขณะส่วนตัวอย่าง เมนูพัฒนาชุมชน / กลุ่ม โครงการสร้างฝายชะลอน้ำและจัดหาแหล่งน้ำชุมชนเมนูสร้างฝายชะลอน้ำเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ (ใช้แรงงานจิตอาสาในชุมชน) เป้าหมาย สร้างฝายชะลอน้ำ เพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำจำนวน 1,097 แห่ง โดยมีเงื่อนไข ดำเนินการในพื้นที่ภายใต้เขตพัฒนาที่ดินที่มีศักยภาพ/นอกเขตป่าไม้ เป็นพื้นที่สาธารณะ และเกษตรกรในพื้นที่ มีความพร้อม ส่วนวิธีการสนับสนุน ก่อสร้างฝายชะลอน้ำชั่วคราว จำนวน 1,097 แห่ง สิ่งที่ชุมชนได้รับคือชะลอน้ำไหลของน้ำลดการชะล้างพังทลายของดิน มีแหล่งเก็บกักนำในลำห้วย สร้างความชุ่มชื้นในระบบนิเวศ มีแหล่งน้ำสำรองในการอุปโภคและเพื่อการเกษตรและยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากในระดับพื้นที่อีกทางหนึ่งด้วย

ทุ่ม 2 หมื่นล้าน “เสิร์ฟสารพัดเมนูอาชีพ” สร้างรายได้-พัฒนาอาชีพเกษตรกรทั่วประเทศ

ทั้งหมดคือเมนูร้อนๆ ที่วันนี้กระทรวงเกษตรฯ พร้อมเสิร์ฟแล้วตามความต้องการของเกษตรกรและชุมชน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ เชื่อมั่นว่าหากทุกเมนูที่ได้เสิร์ฟไปในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ จะช่วยยกระดับชีวิต ความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยให้มีความแข็งแรง ยั่งยืนยิ่งขึ้น.

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated