เกษตรกรร่วมงานปลูกเพ(ร)าะสุข
เกษตรกรร่วมงานปลูกเพ(ร)าะสุข

ความสุขไม่ใช่ของหายาก หนทางนำมาซึ่งความสุขไม่ได้ซับซ้อน ใคกำลังไขว่คว้าหาความสุข ลองถามตัวเองว่าตั้งขีดความสุขไว้สูงไปหรือไม่ มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุดหรือเปล่า นี่เองเป็นที่มาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนชาวไทยนำไปปรับใช้ ให้มองหาความสุขใกล้ตัว และพอใจสิ่งที่ตนมี

ปรีชา สมศักดิ์ และบรรเทิง ร่วมพูดคุยความคืบหน้าโครงการทำตามพ่อ
ปรีชา สมศักดิ์ และบรรเทิง ร่วมพูดคุยความคืบหน้าโครงการทำตามพ่อ

หลายคนอาจเข้าใจว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” คือแนวคิดมุ่งวิถีเกษตรเป็นหลัก เหมาะกับเกษตรกร เท่านั้น แท้จริงแล้วหลักความพอเพียงทุกคนนำไปปรับใช้ได้ แม้กระทั่งคนในเมืองใหญ่ ก็มีความสุขอย่างเรียบง่ายได้โดยการ “ปลูก เพ(ร)าะ สุข’”

เริ่มจาก “ปลูก” ฝังทัศนคติการสร้างความสุขอย่างยั่งยืนด้วยการน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ให้ความรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย จัดตั้งคณะทำงานและปราชญ์เกษตรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญมาถ่ายทอดความรู้ในพื้นที่ ให้รู้จักบริโภคและดำรงตนอย่างพอประมาณ ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ ใช้เหตุผลนำการใช้ชีวิต เตรียมภูมิคุ้มกันรับความเปลี่ยนแปลงเสมอ หมั่นเติมความรู้และยึดมั่นในคุณธรรม

ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจ
ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจ

จากนั้นจึงบ่ม “เพาะ” แนวคิดและความรู้สู่การปฏิบัติจริง ผู้อาศัยในเมือง งานรัดตัว เริ่มง่ายๆ ด้วยการปรับการกินอยู่ให้เหมาะกับร่างกายและวิถีชีวิต ปรับจากผู้ซื้อเป็นผู้ผลิตเพื่อลดค่าใช้จ่าย แบ่งพื้นที่ที่อาศัยมาปลูกพืชผักสวนครัวง่ายๆ แค่ริมรั้วหรือระเบียงก็ได้ ใช้ชิวิตให้สมดุลนอกจากทำงานหรือเรียน เช่นออกกำลังกาย ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ

เมื่อบ่มแนวคิดและความรู้ที่ได้รับจนงอกงาม ก็จะพบความสุขที่ยั่งยืน จากการพึ่งพาตัวเอง ภาคภูมิใจจากพืชผักที่ตนรดน้ำพรวนดินผลิดอกออกผล สุขภาพรดีจากการบริโภคผลผลิตสะอาดปลอดภัย มีผลผลิตเหลือไปแจกผู้อื่น ที่สำคัญที่สุด คือ พึงพอใจและยินดีในสิ่งที่ตนมี เพียงเท่านี้ก็มีความสุขได้ง่ายๆ

สมศักดิ์ เครือวัลย์ ที่ปรึกษาโครงการทำตามพ่อ
สมศักดิ์ เครือวัลย์ ที่ปรึกษาโครงการทำตามพ่อ

ผู้พิสูจน์แล้วว่าแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนำความสุขอย่างยั่งยืนมาสู่ชีวิตได้ อย่างสมศักดิ์ เครือวัลย์ ที่ปรึกษาโครงการทำตามพ่อ กินอยู่อย่างพอดี มีความสุขกับการเพาะปลูกผลผลิตในไร่ตัวเองตามแนวคิดของพ่อ เผยว่า “การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ถ้าลงมือทำจริงก็รวยได้ ด้วยปัจจัยสี่ที่อยู่ในสวน ในรั้วบ้าน เแนวคิดของพระองค์สามารถนำไปปรับใช้ได้กับชีวิตทุกคน พิสูจน์แล้วว่าเหมาะกับเกษตรกรและประเทศไทย แล้วคนเมืองก็นำไปประยุกต์ใช้ได้ พวกเราและประเทศไทยจะอยู่รอดได้ในโลกที่เปลี่ยนแปลง เริ่มจากทำแปลงผักเล็กๆ หน้าบ้านหรือริมระเบียงคอนโดฯ

ฟากของ ปรีชา หงอกสิมมา ปราชญ์เกษตรรุ่นใหม่ กล่าวถึงเส้นทางเพาะความสุขจากแนวคิดในหลวงรัชกาลที่ 9 ว่า “แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นปรัชญาสากลชี้นำแนวทางการดำรงชีวิตให้ประชาชนทุกกลุ่ม มิได้แค่เกษตรกร คนไทยทุกคนควรเรียนรู้เพื่อให้เกิดความสุขยั่งยืนท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลง ผมเชื่อว่าเกษตรทฤษฎีใหม่ช่วยให้คนในชุมชนใช้ชีวิตอย่างมั่นคง สมดุลกับสิ่งแวดล้อม พอใจในสิ่งที่ตนมีและใช้ทรัพยากรในมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

บรรเทิง ว่องกุศลกิจ (กลาง) ถ่ายภาพกับดารา เซเลบ และเกษตรกร
บรรเทิง ว่องกุศลกิจ (กลาง) ถ่ายภาพกับดารา เซเลบ และเกษตรกร

บรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มมิตรผล กล่าวถึง “โครงการ “ทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะ สุข” เริ่มจากแนวคิดน้อมนำแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาดูแลชาวไร่และชุมชน เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้นและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข”

โครงการทำตามพ่อ ดำเนินการปลูกความสุขสู่ชาวไร่ ด้วยการให้ความรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ จัดตั้งคณะทำงานและปราชญ์เกษตรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญถ่ายทอดความรู้ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ เลย อำนาจเจริญ และตาก คัดเลือกเกษตรกรที่มีความพร้อมเข้ารับการอบรม แนะนำแนวทางพัฒนาพื้นที่ ติดตามผลใกล้ชิด เพื่อสร้างพื้นฐานต่อยอดและพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ก่อนคัดเลือกเกษตรกรที่พร้อมจัดสรรพื้นที่และถ่ายทอดความรู้ 70 คน จัดตั้ง “ศูนย์ปลูก  เพ(ร)าะ สุข” จำนวน 70 แห่ง ขยายผลลัพธ์สู่ 700 และ 7,000 ครัวเรือนในปีต่อๆไป

เลือกซื้อสินค้าจากเกษตรกร
เลือกซื้อสินค้าจากเกษตรกร

“การดำเนินงานโครงการได้ผ่านระยะที่ 1 – ปลูกองค์ความรู้ และระยะที่ 2 – เพาะกล้าความสุข และกิจกรรม “ฝากปลูก” ไปแล้ว ขณะนี้เข้าสู่ระยะที่ 3 – ส่งต่อความสุข ในงาน “ปลูก เพ(ร)าะ สุข Farmer’s Market” โดยกลุ่มมิตรผลเป็นตัวกลางส่งต่อความสุขระหว่างชาวไร่และคนเมือง ให้คนเมืองฝากปลูกกับเกษตรกร และเกษตรกรส่งผลิตผลตรงถึงคนเมืองได้บริโภคพืชผัก ผลไม้สดๆ จากไร่ และเกษตรกรมีรายได้เพิ่ม อีกทั้งกิจกรรม ปลูกสุขริมรั้ว ที่เกษตรกรมาถ่ายทอดความรู้ปลูกพืชผักสวนครัวให้คนเมืองปลูกบริโภคเองที่บ้าน แบ่งปันประสบการณ์จริงจากการดำรงชีวิตอย่างมีสุขรอบด้านและมีภูมิคุ้มกันตามแนวคิดพอเพียงที่น่าสนใจและทำได้ง่ายๆ แม้อาศัยในเมืองใหญ่” นายบรรเทิงเสริม

ผู้บริหารร่วมชมสินค้าจากเกษตรกร
ผู้บริหารร่วมชมสินค้าจากเกษตรกร

ผู้ร่วมงาน “ปลูก เพ(ร)าะ สุข Farmer’s Market” ยังได้พบกับการออกร้านจำหน่ายพืชผลทางเกษตรคุณภาพ ปลอดสารจากเกษตรกรในราคากันเอง กิจกรรมร่วมแบ่งปันแนวคิดสร้างสุข โซนนิทรรศการและเวิร์คชอป “ปลูกสุขริมรั้ว” ร่วมแบ่งปันแรงบันดาลใจการใช้ชีวิตพอเพียงจากปราชญ์เกษตรและเกษตรกร และกิจกรรมไฮไลท์ “ฝากปลูก” สื่อกลางส่งต่อความสุขจากชาวไร่สู่คนเมืองด้วยผลผลิตคุณภาพ เพื่อตอกย้ำว่าความสุขนั้นปลูกได้ทุกที่และส่งต่อให้กันได้ไม่รู้จบ

จรสพรรณ (ขวา) รับมอบชุดผักจากอัศจรรย์ (ซ้าย) เกษตรกรในกิจกรรมฝากปลูก
จรสพรรณ (ขวา) รับมอบชุดผักจากอัศจรรย์ (ซ้าย) เกษตรกรในกิจกรรมฝากปลูก

หนึ่งในเซเลบฯ ร่วมสุขที่เข้าร่วมกิจกรรมฝากปลูกอย่าง “จุ๋ย” จรสพรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา ทายาทธุรกิจพลังงานทดแทนและเจ้าของแบรนด์ปูดองออนไลน์สุดฮิต “ปูดองอันยอง” เผยความประทับใจจากกิจกรรมนี้ว่า “จุ๋ยชอบเข้าครัวและพิถีพิถันคัดเลือกวัตถุดิบ จีงไม่รีรอเข้าร่วมกิจกรรมฝากปลูกเพื่อได้ทานผักผลไม้สดๆ คุณภาพดีจากไร่ และสนับสนุนพี่ๆ เกษตรกรพึ่งพาตัวเอง มีรายได้จากการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการแบ่งปันส่งต่อความสุขกันง่ายๆ ที่ทำแล้วอิ่มเอมใจมากค่ะ”

ภูมิใจ ว่องกุศลกิจ มาร่วมรับชุดยำวันนี้ให้ดีที่สุดจากกิจกรรมฝากปลูก
ภูมิใจ ว่องกุศลกิจ มาร่วมรับชุดยำวันนี้ให้ดีที่สุดจากกิจกรรมฝากปลูก

เช่นเดียวกับ “พราว” ภูมิใจ ว่องกุศลกิจ อีกหนึ่งเซเลบที่ใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวถึงกิจกรรมฝากปลูกว่า “กิจกรรมนี้พราวได้เห็นความสุขที่แท้จริงจากการน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ บางคนนึกว่าเกษตรทฤษฎีใหม่ต้องหยิบเครื่องมือไปทำสวนทำไร่ แต่จริงๆ ทุกคนสามารถใช้ชีวิตอย่างพอเพียงโดยปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตตัวเอง พราวเองก็ปลูกผักทานเองเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเริ่มพึ่งพาตัวเอง พอลงมือทำสำเร็จสักอย่าง เราก็จะสามารถพึ่งพาตนเองในเรื่องอื่นได้อีกค่ะ”

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated