นางอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วย BCG Model ตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาภาคการเกษตร สู่ 3 สูง คือ ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง และรายได้สูง โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้บูรณาการกระบวนการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ เข้ากับแนวทางการพัฒนาการเกษตรด้วย BCG Model โดยส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio) – เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular) – เศรษฐกิจสีเขียว (Green) หรือ BCG เพื่อยกระดับภาคการเกษตรของไทยให้สามารถบริหารจัดการการเกษตร การท่องเที่ยวเชิงเกษตร วิสาหกิจชุมชน สินค้าเกษตร ฯลฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐานตามหลักสากล สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นแนวโน้มที่หลายประเทศจะกำหนดให้เป็นเงื่อนไขทางการค้าสำหรับสินค้านำเข้าในอนาคตด้วย

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สวนสละลุงถัน หมู่ที่ 5 ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการจากรุ่นพ่อ (นายถัน ดำเรือง) – สู่รุ่นลูก (นายวิชัย ดำเรือง) ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็น Young Smart Farmer ของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยสวนสละลุงถัน นอกจากจะพัฒนาต่อยอดจากสวนสละ เป็นแหล่งท่องท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนสละลุงถัน บนพื้นที่ 50 ไร่ ภายใต้แนวคิด “ขายบริการควบคู่กับผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ได้ในสวน” มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมสวน 1,000 กว่าคนต่อปี และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเปิดสวนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรปีละ 2.3 ล้านบาทแล้ว ยังได้นำหลัก BCG Model มาต่อยอด พัฒนาการจัดการสวนสละจนได้มาตรฐาน GAP รวมทั้งนำผลผลิตสละที่เป็นลูกเดี่ยว และวัสดุเหลือใช้จากการทำสวนสละมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ก่อให้เกิดรายได้งาม และสามารถจัดการให้ขยะในสวนเหลือทิ้งเป็นศูนย์ได้

สวนสละลุงถัน ได้นำหลัก BCG มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรคอยเป็นพี่เลี้ยง โดย ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio) เน้นการสร้างมูลค่า โดยระดับต้นน้ำ น้นการพัฒนากลุ่มเกษตรกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสละ โดยการให้ความรู้ด้านการผลิต การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า และการพัฒนาตลาด ให้แก่กษตรกรแปลงใหญ่สละ ผ่านกลไกศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรสละตำบลหนองธง จนสามารถพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลไม้อัตลักษณ์ สละ GAP และ สละ GI

ส่วนระดับกลางน้ำ สร้างแบรนด์และแปรรูปสินค้าให้เกิดมูลค่าเพิ่มนอกเหนือจากการจำหน่ายผลสด ได้แก่ สละลอยแก้ว สละทรงเครื่อง แยมสละ สละกวน ไวน์สละ น้ำพริกสละ วุ้นสละ เป็นต้น และระดับปลายน้ำ ได้พัฒนาตลาดสละเพิ่มเติม นอกเหนือจากการขายผ่านพ่อค้าคนกลาง คือ จำหน่ายผ่านแหล่งท่องเที่ยว OTOP ตลาดเกษตรกร ตลาดริมทางถนนสายหลัก และทำการตลาดออนไลน์ ผ่านเฟสบุ๊ค ไลน์ พร้อมทั้งส่งขายผ่านช่องทางบริษัทไปรษณีย์ไทย

ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Cicular) เนั่นจัดการของเสียและขยะเป็นศูนย์ ระดับดันน้ำ เกษตรกรผู้ปลูกสละได้จัดการวัสดุเหลือใช้จากการผลิต โดยการเก็บรวบรวมวัสดุเหลือใช้ เช่น ต้น ใบ ก้านใบ และเมล็ด นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับกลางน้ำ สร้างมูลค่าเพิ่มโดยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการแปรรูป เช่น นำใบสละ และก้านใบมาลับย่อยทำปุ๋ย ทำวัสดุมุงหลังคา ทำร่มบังแดด ทำรั้ว และแนวกั้น นำใบสละไปใช้ทำชาใบสละ และใช้ห่อขนมและอาหาร นำเมล็ดสละไปสกัดเป็นน้ำมันใช้ทานวดกล้ามเนื้อ และน้ำมันบำรุงผม ทำเชือกรัดของจากก้านใบ และนำเศษเหลือจากลำต้นไปสับย่อยทำปุ้ยหมัก ระดับปลายน้ำ การสร้างตลาดและการนำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากวัสดุเหลือใช้มาจัดจำหน่าย โดยจำหน่ายตามแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ด้านเศรษฐกิจสีเขียว (Green) เน้นสมดุลและยั่งยืน ระดับต้นน้ำ เกษตรกรผู้ปลูกสละได้นำหลักเกษตรยั่งยืนมาใช้ โดยการทำการเกษตรแบบอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมี และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมื ทำการเกษตรผสมผสานโดยการปลูกสละร่วมกับปลูกยาง ระดับกลางน้ำ พัฒนาต่อยอดแปลงสละ ให้ได้มาตร ฐาน GAP จากการใช้สารอินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมีในการกำจัดโรค และแมลงศัตรูพืช ระดับปลายน้ำ พัฒนากลไกตลาดขายตรง เชื่อมโยงตลาดกับประเทสมาเลเซีย เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสละ เช่น ไวน์ แยม สละ กวน

นอกจากนั้นยังได้ผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าวสู่เกษตรกรเครือข่าย YSF และเครือข่ายสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่สละของจังหวัดพัทลุง รวมถึงกลุ่มเกษตรกรอื่นๆ อีกด้วย ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกสละได้รวมกลุ่มกันในพัฒนาการผลิต การบริหารจัดการแปลง ตามแนวทางแปลงใหญ่ 5 ด้าน ซึ่งนายวิชัย คำเรือง YSF เจ้าของจุดท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนสละลุงถันได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่สละตำบลหนองธง ซึ่งจัดตั้งเมื่อปี 2560 ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 37 คน พื้นที่ปลูกสละ จำนวน 320 ไร่ ผลผลิตประมาณ 380 ตันต่อปี มีรายได้ของสมาชิกประมาณ 15 ล้านบาท โดยนายวิชัยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประชาสัมพันธ์ของกลุ่ม และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาค้านการตลาดของกลุ่ม ทำให้สละของจังหวัดพัทลุงเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย

ทั้งนี้ ปัจจุบันจังหวัดพัทลุงมีกลุ่มแปลงใหญ่สละทั้งหมด 8 แปลง สมาชิก 374 คน พื้นที่ปลูก 3,140 ไร่ ราคาผลผลิตเฉลี่ย 58.45 บาท/กก. มูลค่าผลผลิตปี 2564 จำนวน 96,243,000 บาท ได้รับมาตรฐาน GAP จำนวน 146 ราย 525.22 ไร่

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated