เกษตรทฤษฎีใหม่ สร้างเกษตรกรต้นแบบ พึ่งพาตนเอง มั่นคงด้านอาหาร มีกิน มีใช้ สร้างรายได้ตลอดปี
เกษตรทฤษฎีใหม่ สร้างเกษตรกรต้นแบบ พึ่งพาตนเอง มั่นคงด้านอาหาร มีกิน มีใช้ สร้างรายได้ตลอดปี

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ปีงบประมาณ 2564 ซึ่งมีสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักดำเนินการ วัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการทำเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยดำเนินการถ่ายทอดความรู้ในด้านต่าง ๆ เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ การจัดการน้ำ จัดการฟาร์ม การทำบัญชีครัวเรือน และการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ทั้งพันธุ์พืช ปศุสัตว์ และประมง จากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินงานมีการประเมินศักยภาพเกษตรกรและจัดกลุ่มเกษตรกร โดยพิจารณาจากข้อมูลแหล่งน้ำ ที่ดิน แรงงาน และพฤติกรรมของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ แบ่งกลุ่มเกษตรกรเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม A คือ เกษตรกรที่สามารถพัฒนาตนเองสู่เกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 และสามารถเป็นต้นแบบได้ กลุ่ม B คือ เกษตรกรที่มีแนวโน้มจะประสบผลสำเร็จในเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 และเป็นเกษตรกรที่ต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมให้สามารถเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ และ กลุ่ม C คือ เกษตรกรที่ยังขาดศักยภาพในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 และเป็นเกษตรกรที่ต้องได้รับการพัฒนาเต็มรูปแบบเพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเอง

เกษตรทฤษฎีใหม่ สร้างเกษตรกรต้นแบบ พึ่งพาตนเอง มั่นคงด้านอาหาร มีกิน มีใช้ สร้างรายได้ตลอดปี
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร

ในการนี้ สศก. ได้ติดตามผลลัพธ์ของโครงการฯ ที่เกิดกับเกษตรกรกลุ่ม A ซึ่งเป็นกลุ่มต้นแบบในการขยายผลเกษตรทฤษฎีใหม่ ในพื้นที่ 23 จังหวัด จำนวนเกษตรกรตัวอย่าง 285 ราย พบว่า หลังจากที่เกษตรกรได้นำองค์ความรู้ และปัจจัยการผลิต ทั้งพันธุ์พืช ปศุสัตว์ และประมง จากหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรฯ ไปปรับใช้ ส่งผลให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ และดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เพิ่มพื้นที่แหล่งน้ำและพื้นที่ปลูก นำปัจจัยการผลิตที่ได้รับการสนับสนุนมาใช้ประโยชน์ นำความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาปฏิบัติ และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่เอง นอกจากนี้ เกษตรกรถึงร้อยละ 82.55 มีการขยายองค์ความรู้เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ การทำเกษตรแบบผสมผสาน การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การปรับปรุงบำรุงดิน การทำเกษตรแบบอินทรีย์ การทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ ถ่ายทอดไปยังเกษตรกรรายอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

เกษตรทฤษฎีใหม่ สร้างเกษตรกรต้นแบบ พึ่งพาตนเอง มั่นคงด้านอาหาร มีกิน มีใช้ สร้างรายได้ตลอดปี สำหรับลักษณะการทำกิจกรรมในแปลงเกษตร เกษตรกรร้อยละ 76 จะเน้นผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก ส่วนที่เหลือจึงนำไปจำหน่าย แบ่งปัน เก็บไว้ทำพันธุ์ แปรรูป และใช้ปัจจัยการผลิตของตนเองแทน โดยมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิตในแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น อาทิ การจำหน่ายพืชผักสวนครัว ไข่ไก่ ไก่เนื้อ ปลา และการแปรรูปผลผลิต เฉลี่ย 7,024 บาท/ครัวเรือน/ปี มีรายจ่ายลดลงจากการบริโภคในครัวเรือน การใช้ปัจจัยการผลิตของตนเอง การนำวัสดุเหลือทิ้งมาปรับใช้จากเศษใบไม้ กิ่งไม้ และมูลสัตว์ต่าง ๆ นำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ ทำให้ลดการเก็บขยะภายในครัวเรือนและลดค่าใช้จ่าย ได้เฉลี่ย 3,692 บาท/ครัวเรือน/ปี นอกจากนี้ ครัวเรือนเกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยลดค่าใช้จ่ายในด้านอบายมุขลง อาทิ ค่าบุหรี่ ค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และค่าใช้จ่ายในการพนันเสี่ยงโชค เป็นต้น ได้เฉลี่ย 5,207 บาท/ครัวเรือน/ปี เพราะเห็นว่าเป็นรายจ่ายที่ไม่จำเป็นของครัวเรือน

เกษตรทฤษฎีใหม่ สร้างเกษตรกรต้นแบบ พึ่งพาตนเอง มั่นคงด้านอาหาร มีกิน มีใช้ สร้างรายได้ตลอดปี “ผลสำเร็จของการติดตามเกษตรกรกลุ่ม A ทำให้เห็นชัดเจนว่า สามารถเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ทฤษฎีใหม่ให้กับเกษตรกรรายอื่น ๆ ได้ โดยนำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติของเกษตรทฤษฎีใหม่ไปเผยแพร่ให้เกษตรกรรายอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม พบว่า เกษตรกรยังคงประสบปัญหาด้านแหล่งน้ำอยู่ เนื่องจากแหล่งน้ำมีขนาดเล็กและไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ และเกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเองเป็นหลัก ต่างคนต่างทำภายในครัวเรือน มีเพียงบางส่วนที่มีการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลิต จำหน่าย และสร้างเครือข่ายเป็นวิสาหกิจชุมชน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จะมีการส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่อย่างต่อเนื่อง เพิ่มพูนทักษะด้านการผลิตและปัจจัยการผลิต การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การแปรรูปผลผลิต รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมของเกษตรกรเพื่อเป็นการขยายผลจากการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และนำไปสู่การพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ ในขั้นก้าวหน้าได้ต่อไป” เลขาธิการ สศก. กล่าว

เกษตรทฤษฎีใหม่ สร้างเกษตรกรต้นแบบ พึ่งพาตนเอง มั่นคงด้านอาหาร มีกิน มีใช้ สร้างรายได้ตลอดปี เกษตรทฤษฎีใหม่ สร้างเกษตรกรต้นแบบ พึ่งพาตนเอง มั่นคงด้านอาหาร มีกิน มีใช้ สร้างรายได้ตลอดปี

เกษตรทฤษฎีใหม่ สร้างเกษตรกรต้นแบบ พึ่งพาตนเอง มั่นคงด้านอาหาร มีกิน มีใช้ สร้างรายได้ตลอดปี เกษตรทฤษฎีใหม่ สร้างเกษตรกรต้นแบบ พึ่งพาตนเอง มั่นคงด้านอาหาร มีกิน มีใช้ สร้างรายได้ตลอดปี

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated