เกษตรฯ ปลุกใจ “เกษตรกรยุคใหม่ ร่วมใจหยุดเผา”
เกษตรฯ ปลุกใจ “เกษตรกรยุคใหม่ ร่วมใจหยุดเผา”

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตรมีแนวทางในการดูแลปัญหาเรื่องการเผาพื้นที่เกษตร มาอย่างต่อเนื่อง
โดยสร้างและพัฒนาเครือข่ายเกษตรปลอดการเผา รวมถึงเร่งรัด จัดการ เพื่อแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตร และการสาธิตการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรเพื่อลดปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร มาโดยตลอด เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรู้ความเข้าใจในสภาพปัญหาที่เกิดจากการเผา แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา
และนำเสนอทางเลือกในการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตร เพื่อสร้างให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติและจิตสำนึก ให้ตระหนักถึงผลเสียจากการเผา และมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทน
การเผา จัดให้มีการสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อทดแทนการเผา จัดตั้งศูนย์สาธิตเทคโนโลยีการเกษตรปลอดการเผาเพื่อสาธิตการใช้เทคโนโลยีการไถกลบตอซังฟางข้าวทดแทนการเผาโดยให้ชุมชนเกษตรเป็นผู้บริหารจัดการ
การให้บริการเครื่องจักรกลเกษตรทดแทนการเผาแก่เกษตรกรในพื้นที่ดำเนินงานและใกล้เคียง รวมทั้งจัดตั้งเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาเพื่อใช้เป็นกลไกในการปฏิบัติการลดการเผาเศษซากพืช จนถึงปัจจุบัน ได้สร้างและพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผา ภายใต้โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร ในพื้นที่ 10 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ที่ประสบปัญหาหมอกควันรุนแรงเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน น่าน พะเยา แพร่ ตากและจังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบัน มีเกษตรกรดำเนินการใช้เทคโนโลยีทดแทนการเผาตามที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้แล้ว เช่น ไถกลบตอซัง จำนวน 22,683 แห่ง พื้นที่รวม 461,647 ไร่ สามารถ
ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยกว่า 85 ล้านบาทโดยประมาณ (มูลค่า NPK เท่ากับ 184.38 บาท/ไร่) , ผลิตปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 24,623 แห่ง น้ำหนักรวม 4,668 ตัน ให้เกษตรกรได้ใช้ในไร่นาตนเอง และจำหน่ายราคา 4 บาท/กิโลกรัม , การเพาะเห็ดฟาง จำนวน 521 แห่ง ผลผลิตรวมกว่า 550 ตัน จำหน่ายราคา 100 – 150 บาท/กิโลกรัม , ผลิตอาหารสัตว์/ฟางอัดก้อน จำนวน 11,018 แห่ง จำนวน 7,396,001 ก้อน น้ำหนักรวม 123,367 ตัน (น้ำหนักฟางอัดก้อน 15 – 20 กิโลกรัม/ก้อน) จำหน่ายราคา 30 บาท/ก้อน , ผลิตวัสดุปลูก จำนวน 285 แห่ง น้ำหนักรวม 91 ตัน จำหน่ายราคา 2 – 3 บาท/กิโลกรัม , ผลิตถ่านอัดแท่ง จำนวน 20 แห่ง น้ำหนักรวม 144 ตัน จำหน่ายราคา 20 บาท/กิโลกรัม , ปลูกพืชทางเลือก เช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น ทดแทนหรือแซมพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดบนที่สูง จำนวน 83 แห่ง พื้นที่รวม 1,618 ไร่ , ผลิตกระดาษ จำนวน 112 กิโลกรัม จำหน่ายราคาแผ่นละ 5 บาท , ขายเศษวัสดุทางการเกษตรส่งขายโรงไฟฟ้าชีวมวล 196,812 กิโลกรัม จำหน่ายราคาเฉลี่ย 807.77 บาท/ตัน

เกษตรฯ ปลุกใจ “เกษตรกรยุคใหม่ ร่วมใจหยุดเผา”
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยในช่วงวิกฤติปัญหาหมอกควันขนาดเล็กที่ปกคลุมทั่วทุกภูมิภาคที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตรได้กำชับให้ทุกจังหวัดควบคุม กำกับดูแลพื้นที่การเกษตรอย่างเข้มงวด และกำหนดมาตรการดำเนินการ ในปี 2564 ได้แก่

  1. การสร้างการรับรู้ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรงดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยง
  2. การป้องกันและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง โดยจัดตั้งชุดปฏิบัติการประจำพื้นที่ (ระดับอำเภอ) บูรณาการกับหน่วยงาน
    ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เฝ้าระวัง ออกตรวจ ป้องปราม ระงับ ยับยั้ง แจ้งเหตุ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม และ ระดมสรรพกำลังเครือข่ายอาสาสมัครเกษตร เตรียมความพร้อมเครื่องมือ เพื่อดำเนินการเฝ้าระวัง และป้องกันการลักลอบเผาในพื้นที่เกษตรกรรม
  3. การส่งเสริมและสร้างเครือข่ายในการงดเผาในพื้นที่เกษตรกรรม โดยการส่งเสริมการจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรโดยไม่เผา โดยสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุภาคการเกษตร เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำเชื้อเพลิงในครัวเรือน ธนาคารใบไม้ ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการไถกลบตอซังหรือเทคโนโลยีอื่นที่เหมาะสมแทนการเผา รวมถึงการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่สูง

สำหรับแนวทางการส่งเสริมจะต้องเน้นให้เกษตรกร เกิดความตระหนัก และเกิดความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกันเฝ้าระวัง และสร้างเครือข่ายเข้มแข็ง ให้เกษตรกรเห็นถึงประโยชน์ที่ได้จากการหยุดเผาด้วยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษวัสดุทางการเกษตร เป็นการแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรอย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่ง

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated