วันนี้ (22 ธันวาคม 2563) ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้เดินทางพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อติดตามการดำเนินงานของโรงผลิตน้ำทะเลเป็นน้ำจืด ของ บริษัท อาร์ อี คิว วอเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต ด้วย สทนช. ได้กำหนดแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นหนึ่งพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกที่ สทนช. อยู่ในระหว่างดำเนินการโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (SEA)   

70075

ทั้งนี้ เลขา สนทช. กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่าในปี 2562 มีความต้องการใช้น้ำรวมประมาณ 80.86 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งไม่รวมการใช้น้ำการเกษตรนอกเขตชลประทาน และคาดการณ์ว่าในปี 2572 จะเพิ่มเป็น 103.18 ล้าน ลบ.ม. และภายในปี 2582 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 124.22 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวทำให้สถานการณ์น้ำจังหวัดภูเก็ต อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่ดี เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างครอบคลุม”

ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ดังนั้น คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มอบหมายให้ สทนช.ดำเนินการจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาในระยะยาวต่อไป ซี่งการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล เป็นหนึ่งในการดำเนินการตามแผนงานแก้ปัญหาเพื่อผลิตน้ำประปาเพิ่มให้กับการประปาส่วนภูมิภาค หรือ  กปภ.  มาตั้งแต่ปี 2549 โดยมีบริษัท อาร์.อี.คิว.วอเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ

การกรองน้ำทะเลของแมมเบรน
การกรองน้ำทะเลของแมมเบรน

“การผลิตน้ำประปาปัจจุบันของจังหวัดภูเก็ต มีกำลังการผลิตประมาณ 125,800 ลบ.ม.ต่อวัน หรือ 45 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ซึ่งก็สามารถให้บริการได้เพียงร้อยละ 70 ของจำนวนผู้ต้องการใช้น้ำเท่านั้น  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องทั้งปริมาณน้ำต้นทุนที่มีความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มสูงขึ้น และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำต้นทุนทั้งน้ำจืด น้ำทะเล น้ำใต้ดิน รวมถึงมีการวางแผนการส่งเสริมการผลิตน้ำประปาอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับกับปริมาณ   ความต้องการใช้น้ำในอนาคตและเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไปพร้อม ๆ กัน” ดร.เฉลิมเกียรติ กล่าว

ด้าน นายจตุรงค์ สะดวกการ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อาร์ อี คิว วอเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด กล่าวว่า  การนำน้ำทะเลมาผลิตเป็นน้ำประปานั้น บริษัทได้ใช้หลักของการแยกเกลือออกจากน้ำทะเลซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีขั้นสูงสุดของเทคโนโลยีเมมเบรนหรือเทคโนโลยีเยื่อกรอง (Membrane Technology) ที่เรียกว่า Reverse Osmosis  เทคโนโลยีเมมเบรน เป็นเทคโนโลยีการผลิตน้ำประปาที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นกระบวนการที่สามารถบำบัดน้ำดิบที่มีคุณภาพหลากหลาย รวมทั้งการกรองน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดจนถึงระดับน้ำบริสุทธิ์ เป็นกระบวนการที่ใช้พื้นที่น้อย ไม่ยุ่งยาก และมีแนวโน้มในการลงทุนและการบำรุงรักษาที่ต่ำลง

3

นายจตุรงค์ กล่าวอีกว่า สำหรับขั้นตอนการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล จะประกอบด้วย หนึ่ง ระบบสูบน้ำดิบ (น้ำทะเล) (Sea Water Pump) ระบบจะทำการสูบน้ำทะเลเพื่อป้อนเข้าระบบผลิตเฉลี่ยชั่วโมงละ 1,500 ลูกบาศก์เมตร โดยสถานีสูบจะก่อสร้างลึกลงไปในพื้นดินบริเวณชายฝั่งหาดกะรนโดยมีท่อรับน้ำดิบฝังพื้นทรายและยื่นออกไปรับน้ำทะเลในทะเลโดยวางท่อห่างชายฝั่งประมาณ 400 เมตร ที่ระดับความลึกเฉลี่ย 10 เมตร

สอง ถังตกตะกอน (Sedimentation Tank) น้ำทะเลที่สูบป้อนเข้าระบบผลิต จะต้องผ่านถังตกตะกอนเพื่อแยกตะกอนที่ปะปนอยู่กับน้ำทะเล โดยจะใช้สารเคมีจำพวก Coagulant  ที่จะช่วยให้เกิดการรวมตัวของสิ่งปนเปื้อนทั้งที่ละลายในน้ำและเป็นของแข็งไม่ละลายน้ำจับตัวเป็นตะกอน (Floc) ตกสู่ก้นถัง น้ำทะเลก็จะไหลไปสู่ถังกรองทราย

70109

สาม ถังกรองทราย (Sand Filter Tank) น้ำทะเลที่ผ่านขั้นตอนการตกตะกอนมาแล้วนั้น โดยข้อเท็จจริงแล้วยังมีตะกอนเบาที่ไม่ตกตะกอนได้หมด หรือบางครั้งอาจเกิดปฏิกิริยาไม่สมบูรณ์ทำให้มีตะกอนปะปนกับน้ำที่ไหลออกจากถังตกตะกอนอีก จึงจำเป็นต้องสร้างถังกรองทรายไว้เพื่อทำการดักตะกอนดังกล่าวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งโดยทั่วไปน้ำที่ไหลผ่านถังกรองทรายแล้วจะมีความใสมีตะกอนปะปนน้อยมาก น้ำที่ได้นี้จึงถือว่าเป็นน้ำทะเลที่ความใสสะอาดเหมาะสมสำหรับนำไปกรองให้เป็นน้ำจืดหรือน้ำประปาได้แล้ว

สี่ การกรองด้วย RO. (Reverse Osmosis Membrane) น้ำทะเลที่ผ่านการกรองให้ใสสะอาดแล้วจะถูกป้อนเข้าระบบกรอง RO. ซึ่งก็คือการกรองเกลือและแร่ธาตุอื่น ๆออกจากน้ำ ซึ่งน้ำทะเลที่ถูกป้อนเข้ามาทั้งหมดจะกรองเป็นน้ำจืดได้เพียงประมาณ 40 % จาก 100% เท่านั้น ดังนั้นกำลังการผลิตน้ำจืดเฉลี่ยจะได้ประมาณชั่วโมงละ 500 หรือประมาณ 12,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

70100

ห้า การจ่ายน้ำประปาให้ กปภ. โดยถังสูง น้ำจืดหรือน้ำประปาที่ได้จากการกรองน้ำทะเลด้วย RO. Membrane นี้จะถูกสูบส่งขึ้นไปเก็บที่ถังเก็บน้ำ ความจุ 2,500 ลูกบาศก์เมตร บนเนินเขาที่หลักกิโลเมตรที่ 15 ทางหลวงหมายเลข 4233 เพื่อจ่ายน้ำประปาเข้าเส้นท่อปัจจุบันของ กปภ. ไปยังพื้นที่ ป่าตอง กะรน กะตะ และ กะตะน้อย

“ปัจจุบันของโครงการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล สามารถผลิตน้ำได้สูงสุดตามเป้าหมาย ที่กำลังการผลิต 10,000-12,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ปริมาณน้ำที่ผลิตได้ จะแบ่งจ่ายไปยังพื้นที่กะรน กะตะและกะตะน้อย คิดเป็นร้อยละ 35 และที่เหลือร้อยละ 65 แบ่งจ่ายไปยังพื้นที่ป่าตอง ” นายนายจตุรงค์ กล่าวในที่สุด

70094

 

 

 

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated