เครือซีพีร่วมงาน ครบรอบ 5 ปี สถาปนา
เครือซีพีร่วมงาน ครบรอบ 5 ปี สถาปนา "น้ำพางโมเดล" เปลี่ยนภูเขาหัวโล้นสู่ระบบเกษตรเชิงนิเวศ จ.น่าน

เมื่อ 31 ตุลาคม 2563 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายนิพันธ์ บุญหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช นายอดิศร นุชดำรงค์ อธิบดีกรมป่าไม้ นายประยงค์ ดอกลำไย ผู้อำนวยการมลูนิธิพัฒนาภาคเหนือ และนายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด พร้อมด้วยหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนกว่า 300 คน เข้าร่วมงาน “ครบรอบ 5 ปี สถาปนาน้ำพางโมเดล เปลี่ยนภูเขาหัวโล้นสู่ระบบเกษตรเชิงนิเวศ” และพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างกัน ณ โรงเรียนบ้านน้ำพาง ต.น้ำพาง อ.แม่จริม จ.น่าน

เครือซีพีร่วมงาน ครบรอบ 5 ปี สถาปนา "น้ำพางโมเดล" เปลี่ยนภูเขาหัวโล้นสู่ระบบเกษตรเชิงนิเวศ จ.น่านในการนี้ นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เปิดเผยว่า “น้ำพางโมเดล” เป็นโครงการที่ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ CEO เครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าร่วมมือกับภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ตั้งแต่ปี 2559 โดยมีเป้าหมายที่มุ่งฟื้นฟูป่าและรักษาผืนป่าธรรมชาติ ที่มีอยู่ถึงร้อยละ 90 ของ ต.น้ำพางให้ได้รับการจัดการดูแลรักษาโดยชุมชนท้องถิ่นอย่างสมดุล และยั่งยืน มีการใช้ระบบฐานข้อมูล จำแนกและกำหนดขอบเขต ที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย  ป่าชุมชน และผืนป่าธรรมชาติ เพื่อวางแผนการจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงการสร้างความยั่งยืนในการปรับเปลี่ยนอาชีพ จากพืชเชิงเดี่ยวมาสู่การผลิตในระบบเกษตรผสมผสาน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 20 % ของพื้นที่ทำกินใน 5 ปี พื้นที่จะเปลี่ยนเป็นเกษตรผสมผสานทั้ง 100% พัฒนาและยกระดับอาชีพ สร้างรายได้ทั้งในและนอกภาคเกษตรควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า อย่างสมดุล

เครือซีพีร่วมงาน ครบรอบ 5 ปี สถาปนา "น้ำพางโมเดล" เปลี่ยนภูเขาหัวโล้นสู่ระบบเกษตรเชิงนิเวศ จ.น่านปัจจุบัน โครงการ “น้ำพางโมเดล” ดำเนินการมาแล้ว 5 ปี มีพื้นที่ป่าที่ได้รับการฟื้นฟูแล้ว 2,767 ไร่ สมาชิก 285 ราย จาก 10 หมู่บ้าน ต.น้ำพาง จ.น่าน ผลผลิตสามารถสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน มีการตั้งศูนย์เพาะกล้าไม้ชุมชน ศูนย์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และพัฒนากลุ่มเกษตรกรทำธุรกิจในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated