นางสาวลำแพน สารจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสร้างทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรในการเพิ่มรายได้ โดยเฉาะเขตพื้นที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็น 1 ใน 10 จังหวัดที่เป็นพื้นที่รับผิดชอบของ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี ด้วยการปลูกต้นหม่อนเพื่อเป็นพืชอาหารสัตว์ สำหรับ สุกร โคนม ไก่เนื้อ ไก่ไข่และนกกระทา ด้วยจากการศึกษาพบว่าใบหม่อนนั้นมีสาระสำคัญที่เป็นประโยชน์ เช่น สารกาบา สารฟลาโวนอยด์ สารอัลคาลอยด์ และสารโพลีแซคคาไลด์ ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์ตอ่มนุษย์แล้วยังมีประโยนชน์ต่อสัตว์ด้วยเช่นกัน

นางสาวลำแพน สารจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี
นางสาวลำแพน สารจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี

“ทั้งนี้ข้อมูลการวิจัยพบว่า สัตว์ที่ใช้ใบหม่อนเป็นอาหารนั้นทำให้มีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ อาทิ ในสุกรพบว่า ทำให้มีภาวะหลับดีไม่เครียด มีการกินอาหารได้ดี มีอัตราการเจริญเติบโตสูงขึ้น มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงสูงกว่าไขมัน คุณภาพของเนื้อดีขึ้น โคนม ช่วยกระตุ้นให้เซลล์กระดูกอ่อนผลิตฮอร์โมน IGF-1 ออกมาหมุนเวียนในกระแสเลือด ทำให้แม่โคสามารถผลิตน้ำนมได้เพิ่มมากขึ้น ไก่เนื้อ มีผลทำให้น้ำหนักเพิ่มสูงขึ้นโดยไปกระตุ้นการขนถ่ายกรดอะมิโนในการสร้างโปรตีนที่กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออื่นๆ ทำให้มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ และขยายขนาดเพิ่มขึ้น ส่วนไก่ไข่และนกกระทาพบว่าการเสริมใบหม่อนที่ 10 เปอร์เซ็นต์ทำให้ระดับคลอเลสตอรอลในไข่แดงลดลงและไข่แดงมีสีเข้มขึ้น”

ผอ.ศูนย์หม่อนไหมฯ สระบุรี กล่าวต่อไปว่า ด้วยจุดเด่นดังกล่าวของใบหม่อน จึงได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบปลูกต้นหม่อนเพื่อใช้ประโยชน์ในการใช้เป็นอาหารสัตว์ในช่วงแรก และต่อยอดสู่การเลี้ยงไหมในอนาคต โดยพันธุ์หม่อนที่ส่งเสริมให้ปลูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์ได้แก่ พันธุ์สกลนคร ซึ่งมีลักษณะเด่น ทั้งสามารถปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่ ให้ผลผลิตใบหม่อนเฉลี่ย 3,507 กิโลกรัมต่อไร่ อีกทั้งมีความทนทานต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 มีความต้านทานโรครากเน่า ขณะที่ขยายพันธุ์ง่าย สามารถใช้ท่อนพันธุ์ปลูกในแปลงได้โดยตรงหรือปักชำก่อนปลูก

S__7790612

“สำหรับพื้นที่ส่งเสริมการปลูกหม่อนใบในขณะนี้ อยู่ในเขตจังหวัดลพบุรี โดยทางศูนย์ฯ นอกจากจะให้การสนับสนุนพันธุ์หม่อน และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการแปลงหม่อนให้ได้ผลผลิตที่ดีตามหลักวิชาการแล้ว ยังได้ร่วมกับสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาโคกตูม สำนักงานจังหวัดลพบุรี สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลพบุรี และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. จังหวัดลพบุรี ดำเนินการส่งเสริมการปลูกหม่อนแก่เกษตรกรในจังหวัดลพบุรี ส่งเสริมให้เกษตรกรจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและแปรรูปหม่อนอาหารสัตว์บ้านนิคม 3 ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมืองลพบุรีขึ้น เพื่อผลิตหม่อนใบหม่อนอินทรีย์ และนำมาแปรรูปเป็นใบหม่อนแห้งบดละเอียด ส่งจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น” ผอ.ลำแพน กล่าว

นางนงลักษณ์ เกตุเวชสุริยา รองอธิบดีกรมหม่อนไหม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลสำเร็จตามโครงการส่งเสริมฯ
นางนงลักษณ์ เกตุเวชสุริยา รองอธิบดีกรมหม่อนไหม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลสำเร็จตามโครงการส่งเสริมฯ

ด้าน นายทองดี ชัยดา อยู่บ้านเลขที่ 76 หมู่ 9 ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หนึ่งเกษตรกรสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและแปรรูปหม่อนอาหารสัตว์บ้านนิคม 3 กล่าวว่า ขณะนี้ได้ปลูกต้นหม่อนรวมแล้วประมาณ 11 ไร่ๆละ 800 ต้น โดยหลังจากปลูกจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน จะสามารถเก็บผลผลิตครั้งแรกได้ และขณะนี้สามารถเก็บผลผลิตใบสดได้ประมาณไร่ละ 1 ตัน โดยปีหนึ่งจะสามารถเก็บได้ถึง 6 ครั้ง สำหรับใบหม่อนสดที่เก็บมา จะต้องนำมาเข้าเครื่องสับแล้วนำไปตากในโรงผึ่งประมาณ 3-4 วัน เมื่อแห้งแล้วจะนำไปบดให้ละเอียด และส่งไปจำหน่ายที่ สกต.ธกส.จังหวัดลพบุรี โดยราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 28 บาท

นายทองดี ชัยดา
นายทองดี ชัยดา

“การปลูกหม่อนเพื่อเก็บใบจำหน่ายขณะนี้ได้รับความสนใจจากเกษตรกรในหมู่ที่ 9 ตำบลนิคมสร้างตนเอง เป็นอย่างมาก โดยได้มีเกษตรกรได้ปลูกหม่อนเป็นอาชีพแล้วประมาณ 50 ไร่ โดยเฉลี่ยอยู่ที่รายละ 5 ไร่ ซึ่งไร่หนึ่งจะสามารถสร้างรายได้ถึง 15,000 บาทต่อปีทีเดียว อีกทั้งยังเป็นการปลูกในลักษณะเกษตรอินทรีย์ ห้ามใช้สารเคมีต่าง ๆ ทั้งสิ้น จึงทำให้ต้นทุนในการปลูกต่ำมาก และที่สำคัญปลอดภัยต่อตัวเกษตรกร ที่ไม่ต้องใช้สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆที่ต้องมีการใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก” นายทองดี กล่าว

S__7790611

ส่วน นางสาวบุญนำ บุญแจ้ง บ้านเลขที่ 70/6 หมู่ 13 ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หนึ่งเกษตรกรที่ได้ใช้ใบหม่อนไปเป็นอาหารโคนม กล่าวว่า จากการใช้ใบหม่อนมาเป็นส่วนผสมในอาหารให้กับแม่โคที่รีดนมในฟาร์ม พบว่า แม่โคนอกจากจะให้เปอร์เซ็นต์ไขมันในน้ำนมที่สูงขึ้นมากขึ้นแล้ว ยังมีส่งดีต่อการเป็นสัดของแม่โคอีกด้วย เพราะช่วยทำให้เป็นสัดตรงตามวงรอบการเป็นสัด สามารถจัดการวางแผนการผสมพันธุ์ได้ง่ายขึ้น

นางสาวบุญนำ บุญแจ้ง
นางสาวบุญนำ บุญแจ้ง

“ตั้งแต่ได้รับการส่งเสริมจากศูนย์หม่อนไหมฯสระบุรีให้ปลูกหม่อนในพื้นที่ 20 ไร่ และนำมาเป็นหนึ่งในวัตถุดิบอาหารสำหรับแม่โค ทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำนมของฟาร์ม โดยเฉพาะค่าอาหารลดลงไปมาก โดยเดิมนั้นต้นทุนค่าอาหารจะอยู่ที่ประมาณ 90 บาทต่อตัวต่อวัน แต่ตอนนี้ลดลงมาเหลือเพียง 50 บาทต่อตัวต่อวันเท่านั้น อีกทั้งแม่โคที่ได้กินใบหม่อนนั้นจะทำให้เปอร์เซ็นต์ไขมันในน้ำนมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้น้ำนมมีคุณภาพดี เมื่อนำไปส่งให้กับสหกรณ์ที่รับน้ำนมดิบ ทำให้ได้เงินส่วนต่างสำหรับค่าไขมันในน้ำนมเพิ่มขึ้นอีก จากเดิมที่เคยได้ราคากิโลกรัมละ 17.50 บาท ขึ้นมาเป็น 18.50 บาท ถือว่าการดำเนินการส่งเสริมการใช้ใบหม่อนเป็นอาหารสัตว์ของศูนย์หม่อนไหมฯสระบุรีได้ช่วยเหลือให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีมากขึ้นและมีความมั่นคงในอาชีพ” นางสาวบุญนำ กล่าวในที่สุด

S__7790609

S__7790606

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated