กยท.เปิดตลาดกลางยางพาราแห่งที่ 7 วังจันทร์ เมืองระยอง วางเป้าปี 64 ให้บริการตลาดกลางน้ำยางสดและยางก้อนถ้วย ชี้แนวโน้มราคายางพาราในภาพรวมดีขึ้น หลังผู้ใช้จีนกลับมาถึงร้อยละ 90

37431

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านธุรกิจและปฏิบัติการ เปิดเผยว่า เนื่องจากภาคตะวันออกมีพื้นที่ปลูกมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีการปลูกยางพารากระจายอยู่แทบทุกจังหวัด ไม่ว่า จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด ชลบุรี และฉะเชิงเทรา โดยมีพื้นที่สวนยางที่กรีดได้ประมาณ 2.5 ล้านไร่ ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 6.5 แสนตันต่อปี เกษตรกรส่วนมากผลิตยางพาราในรูปแบบยางพาราแผ่นดิบคุณภาพดีด้านอุตสาหกรรมและการส่งออก

“ ที่สำคัญอีกประการคือ จังหวัดระยองถือเป็นจุดภูมิศาสตร์ที่มีความเข้มแข็งเนื่องจากสามารถเชื่อมโยงไปยังผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางภายในประเทศซึ่งโดยมากอยู่ในบริเวณปริมณฑลและภาคตะวันออกมีเขตนิคมอุตสาหกรรมและยังสามารถพัฒนาด้านการตลาดยางพาราให้รองรับการขยายตัวตามโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของรัฐบาล”

37428

ดังนั้น กยท. จึงได้เข้ามาดำเนินการในการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราจังหวัดระยอง การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญเพื่อเป็นศูนย์กลางซื้อขายยางพาราในภาคตะวันออก สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ยางพาราชาติในการยกระดับราคายางให้มีเสถียรภาพ

นายณกรณ์  กล่าวต่อไปว่า สำหรับการให้บริการของตลาดกลางยางพาราจังหวัดระยองเปิดให้บริการทุกวันทำการมีการให้บริการใน 2 รูปแบบคือให้บริการ ณ ตลาดกลางยางพาราจังหวัดระยอง อำเภอวังจันทร์และสำหรับเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลตลาดสามารถสมัครเป็นตลาดเครือข่ายตลาดกลางโดยเป็นสถาบันเกษตรกรหรือรวมกลุ่มเป็นกลุ่มพัฒนาชาวสวนยางสำหรับชนิดยางที่ซื้อขายผ่านตลาดกลางจังหวัดระยอง ในปี 2563ได้แก่ยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน

“ ส่วนแผนงานในปี 2564 ตลาดจะเริ่มเปิดให้บริการตลาดกลางน้ำยางสดและยางก้อนถ้วยเพื่อให้ครอบคลุมการผลิตของเกษตรกรและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ยาง คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณยางผ่านตลาดแห่งนี้ประมาณ 12,000 ตันต่อปี”

37432

สำหรับจุดเด่นของตลาดกลางพารานั้นนายณกรณ์ กล่าวว่า  ช่วยสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย น้ำหนักยางที่เที่ยงตรงเที่ยงธรรมมีการกำหนดมาตรฐานยางที่ชัดเจนมีการคัดคุณภาพยางก่อนส่งมอบเพื่อสร้างความมั่นใจให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายและให้ซื้อขายยางได้ในราคาที่เป็นธรรม

โดยเมื่อเร็ว ๆนี้ กยท.ได้จัดให้มีการประชุมเสวนา เพื่อทำความเข้าใจระหว่าง ผู้ซื้อ – ผู้ขาย ในหลักเกณฑ์และระเบียบการซื้อขาย ของตลาดกลางแห่งนี้ และมีนายปิยะ ปิตุเดชะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองร่วมในการเสวนา

ปัจจุบันตลาดกลางยางพาราที่อยู่ภายใต้การดูแลของ กยท.เดิมนั้น มีอยู่กัน  6 แห่ง ได้แก่ ตลาดกลางยางพาราสงขลา ตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี ตลาดกลางยางพาราหนองคาย ตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช ตลาดกลางยางพารายะลา และตลาดกลางยางพาราจังหวัดระยองแห่งที่ 7 ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกร และสร้างความเป็นธรรมในเรื่องของราคาให้เกษตรกร อันจะส่งผลทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพ

“ ตอนนี้แนวโน้มโดยรวมของตลาดยางพาราดีขึ้น โดยเฉพาะตลาดส่งออก อย่างประเทศจีน ซึ่งได้เริ่มเปิดดำเนินธุรกิจ หลังจากหยุดไปเนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 ขณะนี้บริษัทผู้ใช้ยางหลักร้อยละ 90 ได้กลับเข้ามา ส่งผลให้ราคายางพารามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น” นายณกรณ์ กล่าว

3743337434

 

 

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated