เตรียมขึ้นทะเบียน ขนุนแปลงใหญ่หนองเหียง เป็นขนุน
เตรียมขึ้นทะเบียน ขนุนแปลงใหญ่หนองเหียง เป็นขนุน "จีไอ" รายแรกของไทย

โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เป็นนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 ปัจจุบันมีสินค้าเกษตรแปลงใหญ่เพิ่มขึ้นกว่า 70 ชนิด ซึ่งที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เกษตรแปลงใหญ่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เกษตรกร ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรได้จริง

นายดำรงฤทธิ์ หลอดคำ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ( สสก.3 )
นายดำรงฤทธิ์ หลอดคำ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ( สสก.3 )

สำหรับพื้นที่ 9 จังหวัดภาคตะวันออก นายดำรงฤทธิ์ หลอดคำ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง ( สสก.3 ) เปิดเผยว่าที่ผ่านมาทุกแปลงมีการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม เกษตรกรรู้ว่าตลาดต้องการสินค้าประเภทไหน คุณภาพเป็นอย่างไร รู้จักการใช้ข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์และวางแผนการผลิตร่วมกันซึ่งเป็นไปตามหลักการของการตลาดนำการผลิต อย่างเช่นที่อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี มีเกษตรกรปลูกขนุนในพื้นที่เกือบทุกตำบล และปลูกมากในพื้นที่ตำบลหนองเหียง สามารถส่งจำหน่ายเป็นรายได้หลักและรายได้เสริมเป็นอย่างดี ที่สำคัญเป็นขนุนคุณภาพตั้งแต่ขนาด ปริมาณ เนื้อผิว และรสชาติเป็นที่ยอมรับของตลาด

13582 เกษตรกรมีการจัดการด้านการตลาดอย่างเด่นชัด ผลผลิตส่วนใหญ่ส่งออกต่างประเทศทั้งในรูปแบบผลสดและแบบแกะเนื้อแช่แข็ง ส่วนผลอ่อนขนาดเล็กที่ไม่ได้คุณภาพจะนำมาแปรรูป ผลสุกนำมาแปรรูป อาทิ ขนุนลอยแก้ว ขนุนเชื่อมอบแห้ง แยมขนุน ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างมาก

13586“สสก.3 จังหวัดระยองจึงส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมในด้านต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐในรูปแบบกลุ่ม “ขนุนแปลงใหญ่ตำบลหนองเหียง” อำเภอพนัสนิคม มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกขนุนด้วยกัน ผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จำนวน 74 ราย พื้นที่ 749 ไร่ และให้ผลผลิต 674 ไร่ โดยมี นายสมจิตร พรมมะเสน เป็นประธาน โดยกลุ่มจะเป็นศูนย์กลางของชาวสวนในด้านการผลิตและการตลาด รวมทั้งเป็นจุดสาธิตเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขนุน มีการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตขนุนคุณภาพเพื่อการส่งออก มีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ การจัดการระบบน้ำ และการบริหารจัดการในระบบ GAP เป็นต้น มีการดำเนินการโดยชุมชนเพื่อชุมชน และได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ในระดับตำบล อำเภอ จังหวัดและเขต ตลอดจนจากหน่วยงานภาคีต่างๆ” นายดำรงฤทธิ์ กล่าว

13583ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ตำบลหนองเหียงจะปลูกขนุนพันธุ์ทองประเสริฐ ซึ่งมีลักษณะพิเศษสามารถนำผลเล็กๆ ไปแปรรูปได้ ในการดูแลแปลงปลูก เกษตรกรจะเก็บผลขนาดเล็กน้ำหนักไม่เกินหนึ่งกิโลกรัมเอาไปประกอบอาหาร เช่น แกงขนุน ซุปขนุน หากนำไปผลิตเพื่ออุตสาหกรรมก็จะใช้ลูกที่ใหญ่ขึ้นผลิตขนุนกระป๋องเพื่อนำไปประกอบอาหารใช้แทนเนื้อสัตว์ ซึ่งตลาดจะอยู่ที่ยุโรป ส่วนที่เอาไปเป็นผลไม้คือกินสุกนั้น เกษตรกรจะเลี้ยงไว้กิ่งละหนึ่งลูกและทุกกิ่งของ 1 ต้นลูกที่เก็บไว้จะมีขนาดที่พอดีกัน ส่วนผลขนาดอื่นๆ ที่ตัดแต่งก็เอาไปขายสำหรับแปรรูป นอกจากนี้จะปลูกและบำรุงรักษาตามมาตรฐาน GAP ทุกแปลง และขณะนี้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการเพื่อประกาศเป็นขนุน GI หนองเหียง ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูลการศึกษารายละเอียดเพื่อเป็นส่งบ่งชี้ว่าพื้นที่หนองเหียงกับขนุนทองประเสริฐนั้นมีความแตกต่างจากขนุนที่ปลูกในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทยอย่างไร

นายภูวเดช จินาเคียน
นายภูวเดช จินาเคียน

ทางด้าน นายภูวเดช จินาเคียน เกษตรกร หมู่ที่ 7 ต.หนองเหียง อ. พนัสนิคม จ.ชลบุรี สมาชิกแปลงใหญ่ขนุนหนองเหียน กล่าวเผยว่า ก่อนที่จะมาปลูกขนุนทำงานบริษัทเอกชนเป็นผู้จัดการโรงงานพลาสติกบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จนอายุประมาณ 49 ปี ก็ออกมาปลูกขนุน และสมัครเป็นสมาชิกแปลงใหญ่ขนุนหนองเหียง ดูแลแปลงด้วยตัวเองมีการพัฒนาเรื่องระบบน้ำในแปลงปลูกโดยใช้การตรวจวัดความชื้นในแปลงปลูกมาเป็นตัวกำหนดจำนวนครั้ง และปริมาณน้ำในการให้น้ำแปลงปลูกทั้ง 4 ไร่ โดยปลูกประมาณ 160 ต้นได้ผลผลิตประมาณ 5 ตันต่อไร่ ขณะที่ปลูกในพื้นที่อื่นๆ จะได้ประมาณ 3 ตันถึง 4 ตันต่อไร่เท่านั้น ปี 2562 ที่ผ่านมาราคาขนุนดีอยู่ที่ 37 บาทต่อกิโลกรัม

13588

สำหรับการเป็นสมาชิกแปลงใหญ่จะเป็นผลดีต่อเกษตรกรมาก เพราะสามารถได้รับการสนับสนุนจากส่วนงานภาครัฐในหลายด้านทั้งทางด้านวิชาการการเพาะปลูกที่ถูกหลักวิชาการไปจนถึงการได้รับช่วงสนับสนุนด้านเครื่องจักรกลการเกษตรและเรื่องของการตลาด และมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันของเกษตรกรที่ปลูกขนุนด้วยกัน

13585

“ที่ผ่านมาทางสำนักงานเกษตรอำเภอพนัสนิคม สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรีและสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องด้านการตลาดและการแปรรูปเข้ามาให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องทำให้มีช่องทางในการทำการผลิตที่สามารถลดต้นทุนได้รับผลผลิตที่ดี และมีตลาดรองรับที่แน่นอน ผลผลิตที่ตกเกรดก็นำมาแปรูปขาย ตอนนี้กำลังจะได้รับ GI ก็จะทำให้ขนุนแปลงใหญ่หนองเหียนมีช่องทางด้านการตลาดมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเกษตรกรที่ปลูกขนุนของพื้นที่มีรายได้อย่างมั่นคงสืบเนื่องยาวนาน” นายภูวเดช จินาเคียน กล่าว

13587

อนึ่ง จากการสืบค้นข้อมูลของ “เกษตรก้าวไกล” พบว่ายังไม่มีขนุนที่ใดได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นขนุนจีไอมาก่อน ขนุนแปลงใหญ่หนองเหียง จึงเป็นขนุน “จีไอ” รายแรกของของประเทศไทย

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated