“จากแนวโน้มสถานการณ์แวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วย่อมส่งผลต่อการประกอบอาชีพ และชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเกษตรกรให้มีภูมิคุ้มกัน และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ภายใต้การดำเนินนโยบาย Thailand 4.0” คุณทวี มาสขาว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาทได้ให้มุมมองถึงมุมมองการปรับตัวของเกษตรกร พร้อมชี้ให้เห็นอีกว่า

279135

“ที่สำคัญสถาบันเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้มแข็งมากเท่าที่ควรจะเป็น บางส่วนยังขาดโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการที่ดี และขาดการเชื่อมโยงเครือข่ายด้านการเงิน การตลาด และองค์ความรู้ ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 นั้น การทำการเกษตรเป็นแบบสมัยใหม่ (Smart Farming) เกษตรกรทำได้และได้รายได้เพิ่มมากขึ้น โดยสามารถเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเอง (Entrepreneur)”

ผอ.สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท กล่าวต่อไปว่า ดังนั้นกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อนนโยบายสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของรัฐบาล โดยสนับสนุนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจากทั่วประเทศให้ความรู้ความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมเกษตรกรเข้าร่วมโครงการสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของรัฐบาล

279134

“สำหรับในพื้นที่สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท ได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอภายใต้ความรับผิดชอบขับเคลื่อนโครงการสร้างสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ภายในพื้นที่ความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่องและปรากฏผลอย่างเป็นที่น่าพอใจ” นายทวี กล่าว

ทางด้าน ดร.รุจีพัชร บุญจริง เกษตรจังหวัดสิงห์บุรี กล่าวว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรตลอดมา ได้มีการอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรที่เป็น young smart farmer เกี่ยวกับวิธีการคิด วิธีการรวมกลุ่ม วิธีการปฏิบัติงาน ไปจนถึงจนถึงการใช้เทคโนโลยี การใช้ IT  และการตลาดนำการผลิต

ปัจจุบันจังหวัดสิงห์บุรีมี young smart farmer จำนวน 173 คน แค่ละคนจะมีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป จึงได้สร้างเป็นเครือข่ายทั้งในระดับอำเภอและจังหวัด พร้อมส่งไปเป็นเครือข่ายของ young smart ในระดับเขตและระดับประเทศ

ดร.รุจีพัชร บุญจริง เกษตรจังหวัดสิงห์บุรี
ดร.รุจีพัชร บุญจริง เกษตรจังหวัดสิงห์บุรี

“ในจังหวัดสิงห์บุรี จะมีการพบปะพูดคุยกันทุกเดือน ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ อย่างเช่น young smart farmer ที่ประกอบกิจกรรมทำฟาร์มจิ้งหรีดมีการรวมกลุ่มสมาชิกในชุมชนเป็นวิสาหกิจชุมชน ตรงนี้เป็นทั้งศูนย์เรียนรู้เป็นทั้ง young smart ต้นแบบ สามารถสร้างงานให้กับเกษตรกรในชุมชนและมีเครือข่ายประกอบอาชีพจิ้งหรีดของทุกอำเภอ มีการจัดตั้งศูนย์รวบรวมผลิตผลจิ้งหรีด และนำไปจำหน่าย มีตลาดกว้างและมีการประกันราคาให้กับเกษตรกรที่จำหน่ายจิ้งหรีดมาขายกับกลุ่มฯ ได้เชื่อมโยงตลาดทั้งภายในจังหวัดระหว่างจังหวัด และระหว่างประเทศ ในส่วนของตลาดระหว่างประเทศ เช่น เวียดนามและญี่ปุ่นนั้น ทางกลุ่มฯ จะขอคำปรึกษากับทางสำนักงานเกษตรจังหวัด เกี่ยวกับร่างสัญญาการซื้อขายกัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เกษตรกร” ดร.รุจีพัชร กล่าว

น.ส.นันทนา ขำจันทร์ young smart farmer จังหวัดสิงห์บุรี
น.ส.นันทนา ขำจันทร์ young smart farmer จังหวัดสิงห์บุรี

น.ส.นันทนา ขำจันทร์ young smart farmer เกษตรกรเจ้าของฟาร์มจิ้งหรีด ต.บางระจัน อ.ค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี ซึ่งได้สมัครเข้ามาเป็น Young Smart Farmer ของจังหวัดสิงห์บุรี ในปี 2561ได้รับการอบรมให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ เช่น การตลาด การทำบรรจุภัณฑ์ การวางแผนการผลิต การทำตลาดออนไลน์ เป็นต้น และยังได้เข้าร่วมการศึกษาดูงานต่างๆ ร่วมกับ Young Smart Farmer ทั่วประเทศ ทำให้เกิดเครือข่ายระหว่างเกษตรกรรุ่นใหม่ ได้แลกเปลี่ยนแนวทางความคิด และได้องค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดการเลี้ยงและแปรรูปจิ้งหรีดอย่างต่อเนื่อง

การก้าวเข้ามาเป็นเจ้าของฟาร์ม จนก้าวมาสู่การจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนจิ้งหรีดนั้น เกษตรกรผู้นี้บอกว่า ได้เริ่มต้นจากการหาข้อมูลการเลี้ยงจิ้งหรีดและทดลองเลี้ยง 10 ลัง ซึ่งได้กำไรดี จากนั้นจึงเลี้ยงเพิ่มเป็น 20 ลัง และขยายกิจการเรื่อยมา รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์โพสต์ขายออนไลน์ ทางเฟซบุ๊ก ได้รับการตอบรับอย่างดี

เค้กจากแป้งจิ้งหรีด
เค้กจากแป้งจิ้งหรีด

ปัจจุบันเลี้ยง 60 ลัง มีรายได้เดือนละหลายหมื่นบาท

“เนื่องจากการเลี้ยงจิ้งหรีดมีรายได้ดี จึงมีแนวคิดสร้างอาชีพเสริมให้กับคนในชุมชน จึงชักชวนเข้ามารวมกลุ่มและจัดตั้ง “วิสาหกิจชุมชนคุณนายฟาร์มจิ้งหรีด” ขึ้น มีการบริหารจัดการวางแผนการผลิตตลอดทั้งปี ปัจจุบันมีสมาชิกวิสาหกิจชุมชนทั้งหมด 8 ราย โดยจะวางแผนการผลิตตามความต้องการของตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะผลิตมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม” คุณนันทนา กล่าว

สำหรับระยะเวลาในการเลี้ยงจิ้งหรีดแต่ละชนิดนั้นจะแตกต่างกันออกไป เช่น จิ้งโกร่ง 60-70 วัน, จิ้งหรีด 35 วัน และสะดิ้ง 45 วัน

9ff50fab-c073-483c-8603-a9215a75942e

พร้อมกันนี้ยังได้มีการทำ Contact Farming กับเกษตรกรในพื้นที่ โดยการขายไข่พันธุ์ และรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาประกัน ตลอดจนร่วมวางแผนการผลิตให้แก่เกษตรกรตลอดทั้งปี ผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันจะมีจิ้งหรีดต้มสุกแช่แข็ง จิ้งหรีดอบกรอบ รสดั้งเดิม แป้งจิ้งหรีด เค้กจิ้งหรีด  ข้าวเกรียบจิ้งหรีด

สำหรับในด้านการตลาดนั้น จะมีทั้งขายทั้งการ ปลีก ส่ง และออนไลน์

4e599287-2a2d-4c5a-ad41-1c4d9c2ff295

“อย่างจิ้งหรีดต้มสุกแช่แข็งจะจำหน่ายโดยการขายส่งเป็นหลักที่ตลาดไท ตลาดคลองเตย และตลาดสำโรง ประมาณ 6 ตันต่อเดือน จิ้งหรีดอบกรอบและข้าวเกรียบจิ้งหรีดจะจำหน่ายในรูปแบบขายปลีก ตามปริมาณการสั่งของลูกค้าที่ร้านในตลาดย้อนยุคบ้านระจัน ส่วนเค้กจิ้งหรีดจะจำหน่ายที่ร้านขนมปังในจังหวัดอ่างทองและสุพรรณบุรี และจำหน่ายออนไลน์ผ่านทาง Facebook ในเพจ “คุณนายฟาร์มจิ้งหรีด” อีกด้วย”

“ส่วนรายได้จากการขายจิ้งหรีด เฉลี่ย 800 บาทต่อลัง และสมาชิกจะมีรายได้อย่างน้อย 3,000 บาทต่อเดือน” คุณนันทนา กล่าวในที่สุด

IMG_9058

นี่คือ อีกหนึ่งตัวอย่างความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท จนสามารถสร้างต้นแบบ Young Smart Farmer ของจังหวัดสิงห์บุรีคนนี้…

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated