ในงาน มหกรรมชิมทุเรียน ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี (25-28 เมษายน 2562) ไม่เพียงแต่มีทุเรียนทั้งพันธุ์ใหม่ๆ และพันธุ์โบราณ หรือพันธุ์พื้นเมืองกว่า 50 สายพันธุ์ มาให้ได้ชิมกัน แต่ยังมีนิทรรศการความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะการนำพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านมาทำเป็นข้อมูลโปสเตอร์และมีผลผลิตทุเรียนบางสายพันธุ์มาวางโชว์ไว้

ณศิริพร วรกุลดำรงชัย (คนที่ 2 จากขวา) ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพืชสวน ขณะให้การต้อนรับผู้สนใจที่มาชิมทุเรียน ในการจัดงานมหกรรมชิมทุเรียน...
คุณศิริพร วรกุลดำรงชัย (คนที่ 2 จากขวา) ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ขณะให้การต้อนรับผู้สนใจที่มาชิมทุเรียน ในวันงานมหกรรมชิมทุเรียน…

เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง “เกษตรก้าวไกล” จึงได้สัมภาษณ์ คุณศิริพร วรกุลดำรงชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร ทำให้ทราบว่าที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้รวบรวมพันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองไว้กว่า 600 สายพันธุ์ (แบ่งเป็น 6 กลุ่ม) แต่ว่าที่นำมาให้ชิมและโชว์ในงานนั้นเฉพาะสายพันธุ์ที่มีผลผลิตในช่วงนี้ ซึ่งการที่จะสร้างให้ทุเรียนไทยเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่มีความเติบโตอย่างยั่งยืน จะต้องมีกลยุทธ์การพัฒนา…

ทุเรียนพื้นเมือง นับวันจะได้รับความสนใจมากขึ้น...
ทุเรียนพื้นเมือง นับวันจะได้รับความสนใจมากขึ้น…

“สิ่งที่เรามองก็คือจะต้องมีกลยุทธ์การแข่งขันในตลาดโลก คือการสร้างสายพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมา เหมือนที่มาเลเซียเขาสร้างมูซังคิงเขาพยายามประชาสัมพันธ์ ซึ่งก็คือทุเรียนพื้นเมืองที่มีรสชาติดี ของเราก็มีช้างเผือกในป่าเยอะมากที่มีรสชาติดี ตรงนี้ถือเป็นความโชคดีที่เรามีทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่า เพียงแต่ว่าต้องรอการเอามาขัดสีฉวีวรรณ(เจียระไน)ที่จะนำมาพัฒนาทำเป็นการค้าได้เลยหรือนำมาปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่เขาบกพร่อง…” ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยพืชสวน กล่าวอย่างเห็นภาพชัดเลยทีเดียว และบอกว่าขณะนี้มีหลายสายพันธุ์ เช่น กลุ่มทุเรียนพันธุ์การค้าของนนทบุรีที่มีมาแต่เดิมกำลังกระจายพันธุ์ไปสู่พี่น้องเกษตรกรและในปี 2562 จะเปิดให้จองประมาณเดือนพฤษภาคมนี้ (วันเวลาที่ชัดเจนจะนำมาแจ้งผ่านเว็บไซต์นี้อีกครั้ง-และความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ดูคลิปวิดีโอนาทีที่ 13.20 เป็นต้นไป) รวมทั้งพันธุ์พื้นเมืองที่ได้มีการทดสอบรสชาติเพื่อให้เกิดความมั่นใจ

สำหรับรายชื่อพันธุ์ทุเรียนที่ปลูกในประเทศไทย ที่นำมาบอกกล่าวนี้ (6 กลุ่ม) ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีชื่อทุเรียนพันธุ์อะไรบ้าง ขอให้ตรวจสอบได้ แต่ขอบอกไว้ก่อนว่ารายชื่อดังกล่าวไม่ครบทั้ง 600 พันธุ์ ที่นำมาบอกกล่าวนี้ทราบว่าเป็นทุเรียนพันธุ์ที่เด่นๆ ที่มีการปลูกทั่วไป (ขอให้ผู้สนใจชมจาก คลิปวิดีโอว่าพันธุ์ที่มีผลผลิตและนำมาโชว์ในงานมหกรรมชิมทุเรียนมีพันธุ์อะไรบ้าง) (รายชื่อที่ครบ 600 ชื่อ จะได้ค้นหามานำเสนอต่อไป)

ทุเรียนพันธุ์ทั่วไป (พันธุ์พื้นเมือง/โบราณ)

ทุเรียนที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะของผลจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มกบ มีลักษณะรูปทรงใบเป็นแบบรูปไข่ขอบขนาน (oval-oblong) ลักษณะปลายใบเป็นแบบแหลมโค้ง (acuminate-curve) ลักษณะฐานใบเป็นแบบกลมมน (rounded-obtuse) และลักษณะทรงผลของกลุ่มกบนี้จะกระจายอยู่ใน 3 ลักษณะคือกลม (rounded) กลมรี (oval) กลมแป้น (oblate) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะโค้งงอ (hooked)
    กลุ่มกบ (กบอะไรบ้างขอให้ดูจากภาพ)
    กลุ่มกบ (กบอะไรบ้างขอให้ดูจากภาพ)

    กบตาขำ กบดำ...(กบแดง ละมีไหม?)
    กบตาขำ กบดำ…(กบแดง ละมีไหม?)

ทุเรียนกลุ่มกบมี 46 พันธุ์ ได้แก่ 1. กบแม่เฒ่า 2. กบเล็บเหยี่ยว 3. กบตาขำ 4. กบพิกุล 5. กบวัดกล้วย 6. กบชายน้ำ 7. กบสาวน้อย (กบก้านสั้น) 8. กบสุวรรณ 9. กบเจ้าคุณ 10. กบตาท้วม (กบดำ) 11. กบตาปุ่น 12. กบหน้าศาล 13. กบจำปา (กบแข้งสิงห์) 14. กบเบา 15. กบรัศมี 16. กบตาโห้ 17. กบตาแจ่ม 18. กบทองคำ 19. กบสีนาค 20. กบทองก้อน 21. กบไว 22. กบงู 23. กบตาเฒ่า 24. กบชมพู 25. กบพลเทพ 26. กบพวง 27. กบวัดเพลง 28. กบก้านเหลือง 29. กบตานวล 30. กบตามาก 31. กบทองเพ็ง 32. กบราชเนตร 33. กบแก้ว 34. กบตานุช 35. กบตามิตร 36. กลีบสมุทร 37. กบตาแม้น 38. การะเกด 39. กบซ่อนกลิ่น 40. กบตาเป็น 41. กบทองดี 42. กบธีระ 43. กบมังกร 44. กบลำเจียก 45. กบหลังวิหาร และ46. กบหัวล้าน

กลุ่มลวงอยู่ตรงไหน ขอให้ค้นดู...
กลุ่มลวงอยู่ตรงไหน ขอให้ค้นดู…
  1. กลุ่มลวง มีลักษณะรูปทรงใบ ป้อมกลางใบ (elliptical) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate-acute) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) และมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายอยู่ใน 2 ลักษณะ คือ ทรงกระบอก (cylindroidal) และรูปรี (elliptic) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้า (concave)

ทุเรียนกลุ่มลวงมี 12 พันธุ์ ได้แก่ 1. ลวง 2. ลวงทอง 3. ลวงมะรุม 4. ชะนี 5. ชะนีกิ่งม้วน 6. ชมพูศรี 7. ย่ำมะหวาด 8. สายหยุด 9. ชะนีก้านยาว 10. ชะนีน้ำตาลทราย 11. มดแดง และ 12. สีเทา

กลุ่มก้านยาว แต่ที่เห็นนี้ถูกตัดก้านไม่ให้ยาวมาก
กลุ่มก้านยาว แต่ที่เห็นนี้ถูกตัดก้านไม่ให้ยาวมาก…ใกล้ๆ กันคือ กลุ่มทองย้อย
  1. กลุ่มก้านยาว มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ (obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบเรียว (caunate acute) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่กลับ (obovate) และกลม (rounded) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะนูน (convex)

ทุเรียนกลุ่มก้านยาวมี 8 พันธุ์ ได้แก่ 1. ก้านยาว 2. ก้านยาววัดสัก (เหลืองประเสริฐ) 3. ก้านยาวสีนาค 4. ก้านยาวพวง 5. ก้านยาวใบด่าง 6. ทองสุก 7. ชมภูบาน และ 8. ต้นใหญ่

กลุ่มกำปั่น...ต้นตระกูลของหมอนทอง เขาล่ะ
กลุ่มกำปั่น…ต้นตระกูลของหมอนทอง เขาล่ะ
  1. กลุ่มกำปั่น มีลักษณะรูปทรงใบ ยาวเรียว (linear-oblong) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (caudate-acuminate) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) ลักษณะทรงผลเป็นทรงขอบขนาน (oblong) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะแหลมตรง (pointed)

ทุเรียนกลุ่มกำปั่นมี 13 พันธุ์ ได้แก่ 1. กำปั่นเดิม (กำปั่นขาว) 2. กำปั่นเหลือง (เจ้ากรม) 3. กำปั่นแดง 4. กำปั่นตาแพ 5. กำปั่นพวง 6. ชายมะไฟ 7. ปิ่นทอง 8. เม็ดในกำปั่น 9. เห-รา 10. หมอนเดิม 11. หมอนทอง 12. กำปั่นบางสีทอง และ 13. ลุงเกตุ

  1. กลุ่มทองย้อย มีลักษณะรูปทรงใบแบบป้อมปลายใบ (obovate-lanceolate) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะฐานใบมน (obtuse) ลักษณะทรงผลเป็นรูปไข่ (ovate) รูปร่างของ หนามผลมีลักษณะนูนปลายแหลม (pointed-convex)

ทุเรียนกลุ่มทองย้อยมี 14 พันธุ์ ได้แก่ 1. ทองย้อยเดิม 2. ทองย้อยฉัตร 3. ฉัตร 4. ฉัตรสีนาค 5. ฉัตรสีทอง 6. พวงฉัตร 7. ทองใหม่ 8. นมสวรรค์ 9. ทับทิม 10. ธรณีไหว 11. นกหยิบ 12. แดงรัศมี 13. อีอึ่ง และ 14. อีทุย

กลุ่มเบ็ดเตล็ด เป็นทุเรียนที่ไม่เข้าใน 5 กลุ่ม ก็เลยจัดให้มาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน...เป็นกลุ่มที่มากที่สุด
กลุ่มเบ็ดเตล็ด เป็นทุเรียนที่ไม่เข้าใน 5 กลุ่ม ก็เลยจัดให้มาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน…เป็นกลุ่มที่มากที่สุด
  1. กลุ่มเบ็ดเตล็ด ทุเรียนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้มีลักษณะไม่แน่ชัด บางลักษณะอาจเหมือนกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งใน 5 กลุ่มแรก ขณะเดียวกันก็มีลักษณะที่ผันแปรออกไป เช่น ลักษณะรูปทรงใบจะมีลักษณะป้อมกลางใบ (elliptical) หรือรูปไข่ขอบขนาน (oval-oblong) ลักษณะปลายใบเรียวแหลม (acuminate-acute หรือ cuspidate-acuminate) ลักษณะฐานใบแหลม (acute) หรือมน (obtuse) ลักษณะทรงผลกระจายกันอยู่ใน ๓ ลักษณะ คือ กลมแป้น (oblate) กลมรี (oval) และทรงกระบอก (cylindroidal) รูปร่างของหนามผลมีลักษณะเว้าปลายแหลม (pointed-concave) หรือนูนปลายแหลม (pointed-convex)

ทุเรียนกลุ่มเบ็ดเตล็ดมี 81 พันธุ์ ได้แก่ 1. กะเทยเนื้อขาว 2. กะเทยเนื้อแดง 3. กะเทยเนื้อเหลือง 4. กระดุมทอง 5. กระดุมสีนาค 6. กระโปรงทอง 7. กระปุกทอง (กระปุกทองดี) 8. ก้อนทอง 9. เขียวตำลึง 10. ขุนทอง 11. จอกลอย 12. ชายมังคุด 13. แดงช่างเขียน 14. แดงตาน้อย 15. แดงตาเผื่อน 16. แดงสาวน้อย 17. ดาวกระจาย 18. ตะพาบน้ำ 19. ตะโก (ทองแดง) 20. ตุ้มทอง 21. ทศพิณ 22. ทองคำตาพรวด 23. ทองม้วน 24. ทองคำ 25. นกกระจิบ 26. บาตรทองคำ (อีบาตร) 27. บางขุนนนท์ 28. เป็ดถบ 29. ฝอยทอง 30 พวงมาลัย 31. พวงมณี 32. เม็ดในยายปราง 33. เม็ดในบางขุนนนท์ 34. ยินดี 35.. ลำเจียก 36. สีทอง 37. สีไพร 38. สาวชมเห็ด 39. สาวชมฟักทอง (ฟักทอง) 40. หางสิงห์ 41. เหรียญทอง 42. ไอ้เข้ 43. อินทรชิต 44. อีล่า 45. อีลีบ 46. อียักษ์ 47. อีหนัก 48. ตอสามเส้า 49. ทองนพคุณ 50. ทองหยอด 51. ทองหยิบ 52. นมสด 53. เนื้อหนา 54..โบราณ 55. ฟักข้าว 56. พื้นเมืองเกาะช้าง 57. มะนาว 58. เม็ดในกระดุม 59. เม็ดในก้านยาว 60. เม็ดในลวง 61. เมล็ดพงษ์พันธุ์ 62. เมล็ดเผียน 63. เมล็ดลับแล 64. เมล็ดสม 65. เมล็ดอารีย์ 66. ย่ามแม่วาด 67. ลวงเพาะเมล็ด 68. ลุงไหล 69. ลูกหนัก 70. สาเก 71. สาวใหญ่ 72. หมอนข้าง 73. หมอนละอองฟ้า 74. หลงลับแล 75. ห้าลูกไม่ถึงผัว 76. เหมราช 77. เหลืองทอง 78. อีงอน 79. ไอ้เม่น 80. ไอ้ใหม่ และ 81. กะเทยขั้วสั้น

คุณสุริยัน มิสกร นักวิชาการเกษตร กับทีมงาน กำลังคัดสรรทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่ปลูกในศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี มาให้ชิม...(วันงานมหกรรมชิมทุเรียน)
คุณสุริยัน มิสกร นักวิชาการเกษตร กับทีมงาน กำลังคัดสรรทุเรียนพันธุ์ต่างๆ ที่ปลูกในศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี มาให้ชิม…(วันงานมหกรรมชิมทุเรียน)

อนึ่ง การแบ่งกลุ่มทุเรียน จัดแบ่งตามลักษณะของผล แต่กรณีของชื่อสายพันธุ์ทุเรียน ที่ฟังดูอาจจะชื่อบ้านๆ แปลกๆ จนกลายเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง (แค่ชื่อก็กินขาด-ขอให้ดูคลิปด้านบนประกอบ-และทวนดูว่ามีชื่อไหนแปลกและถูกใจท่านบ้าง) จากการสอบถาม คุณสุริยัน มิสกร นักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ทราบว่าที่มาของชื่อโดยส่วนใหญ่มักตั้งชื่อตามลักษณะของพันธุ์ทุเรียนชนิดนั้นๆ หรือไม่ก็ต้องชื่อตามชื่อคนปลูกคนแรก หรือไม่ก็ตั้งชื่อตามท้องถิ่นที่ปลูก ฯลฯ ตัวอย่างการตั้งชื่อตามลักษณะพันธุ์ เช่น กลุ่มลวง จะเป็นทุเรียนที่เปลือกเยอะ แต่เนื้อมีน้อย (เหมือนว่าจะมีเนื้อ) ก็เลยตั้งชื่อว่ากลุ่มลวง หรือตั้งตามสถานที่เช่น ทุเรียนพันธุ์จอกลอย (กลุ่มเบ็ดเตล็ด) มาจากนนทบุรี เพราะเป็นทุเรียที่ปลูกในร่องสวนที่มีร่องน้ำ เวลามันหล่น(ลูกเล็ก) ก็จะหล่นบนจอก(จอกแหน)ยังไม่จมเลย จึงเป็นที่มาของพันธุ์ “จอกลอย” หรือตั้งตามชื่อบุคคล จะพบมากในทุเรียนกลุ่มกบ อย่างนี้เป็นต้นเจาะ...ทุเรียนพื้นเมือง 600 สายพันธุ์-กำลังเจียระไนสู่เกษตรกรไทย

ทุเรียนพันธุ์ส่งเสริม (พันธุ์การค้าในปัจจุบัน)
  1. พันธุ์ชะนี
  • ลักษณะเด่น เนื้อละเอียดเหนียว สีสวย มีสีเหลืองเข้ม การสุกของเนื้อในผลเดียวกันสม่ำเสมอ ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่าพอสมควร
  • ลักษณะด้อย ออกดอกติดผลไม่ดี มักพบอาการแกน เต่าเผา ไส้ซึม งอมแล้วเนื้อแฉะ กลิ่นฉุน คุณภาพเนื้อ ไม่เหมาะสำหรับแปรรูป
  1. พันธุ์หมอนทอง
  • ลักษณะเด่น เนื้อหนา เมล็ดลีบ กลิ่นไม่แรง ติดผลดี ผลสุกเก็บได้นานกว่าพันธุ์อื่น (เมื่อสุกงอมเนื้อไม่แฉะ) ไม่ค่อยพบอาการแกน เต่าเผาหรือไส้ซึม คุณภาพเนื้อเหมาะสำหรับการแปรรูป ในรูปแบบของการแช่แข็ง กวน และทอดกรอบ
  • ลักษณะด้อย ไม่ทนทานต่อรากเน่า โคนเน่า เนื้อหยาบ สีเนื้อเหลืองอ่อน (ไม่เข้ม) มักพบการสุกไม่สม่ำเสมอ อาจสุกทั้งผล สุกบางพู หรือสุกบางส่วนในพูเดียวกัน
  1. พันธุ์ก้านยาว
  • ลักษณะเด่น เนื้อละเอียดเหนียว สีเนื้อสม่ำเสมอ เมื่อสุกงอมแล้วเนื้อไม่แฉะ ติดผลดี พบอาการแกนเล็กน้อย ติดผลง่าย ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่
  • ลักษณะด้อย เปลือกหนา เนื้อไม่ค่อยหนา เมล็ดมีขนาดใหญ่และมีจำนวนมากเป็นไส้ซึมง่าย มีอาการเต่าเผาปานกลาง ไม่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า ถ้าหากมีจำนวนผลมากคุณภาพผลจะไม่ดีและจะทำให้กิ่งแห้งตายในภายหลัง อายุการให้ผลหลังปลูกช้า ผลสุกเก็บได้นาน ก้นผลจะแตกง่าย
  1. พันธุ์กระดุม
  • ลักษณะเด่น ออกดอกเร็ว ผลแก่เร็วจึงขายได้ราคาดีและไม่มีปัญหาไส้ซึม อายุการให้ผลหลังปลูกเร็ว ติดผลดี ผลดก
  • ลักษณะด้อย ไม่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า ผลมีขนาดเล็ก เนื้อบาง ถ้าออกผลล่าช้าไปตรงกับการออกผลของพันธุ์อื่นจะมีปัญหาเรื่องตลาด (กรมวิชาการเกษตร)
ทุเรียนนับวันจะได้รับความสนใจ จากนักชิมทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะทุเรียนพื้นเมือง จะต้องอนุรักษ์เพื่อลูกหลานไทย
ทุเรียนนับวันจะได้รับความสนใจ จากนักชิมทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะทุเรียนพื้นเมือง จะต้องอนุรักษ์เพื่อลูกหลานไทย

นอกจากพันธุ์ทุเรียนดังกล่าวแล้ว ประเทศไทยยังมีทุเรียนพันธุ์ลูกผสมใหม่ๆ เช่น พันธุ์จันทบุรี 1-10 ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้ทยอยเปิดตัว และมีการรับรองพันธุ์ พร้อมทั้งกระจายพันธุ์สู่เกษตรกรและพี่น้องประชาชนแล้ว

ส่วนหนึ่งของทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองที่ได้นำมาให้ผู้สนใจได้ชิมและเป็นการทดสอบรสชาติความชื่นชอบแต่ละสายพันธุ์ไปในตัว...
ส่วนหนึ่งของทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองรวมทั้งพันธุ์ใหม่ๆ ที่ได้นำมาให้ผู้สนใจได้ชิมและเป็นการทดสอบรสชาติความชื่นชอบแต่ละสายพันธุ์ไปในตัว…

(อ้างอิง/ข้อมูล : พันธุ์ทุเรียนประเทศไทย https://bit.ly/2PxBKET)

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated