วันที่ 12 พ.ย. 61 /นายสำราญ สาราบรรณ์ รักษาราชการอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวภายหลังการลงพื้นที่ เยี่ยมชมโครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ภายใต้ โครงการไทยนิยมยั่งยืน ของรัฐบาล พบว่าพื้นที่ของ จ.พิษณุโลก ดำเนินโครงการฯ โดยแบ่งเป็นการอบรมเกษตรกรรายย่อย จำนวน 116 ชุมชน เกษตรกรเข้าร่วม 23,200 ราย และการพัฒนาอาชีพ ให้กลุ่มเกษตรกร จำนวน 330 โครงการย่อย ซึ่งจากนโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นการพัฒนาเกษตรกรรายย่อย เพื่อให้มีโอกาสในการพัฒนาแบบล่างขึ้นบน และเป็นความต้องการจากชุมชนเอง ทั้งการเรียนรู้และกิจกรรมการเกษตร เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ผ่านการจัดเวทีชุมชน และรวมกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในชุมชน เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรเชิงธุรกิจ ทั้งการผลิต แปรรูปและจำหน่าย แบ่งรูปแบบการผลิต ออกเป็น 8 กิจกรรม เช่น ผลิตพืช ฟาร์มชุมชน ปศุสัตว์ ฯลฯ

พบปะพี่น้องเกษตรกร ชาวพิษณุโลก
พบปะพี่น้องเกษตรกร ชาวพิษณุโลก
ฟาร์มเห็ดชุมชน
ฟาร์มเห็ดชุมชน

สำหรับการลงพื้นที่ จ.พิษณุโลกในครั้งนี้ ได้เยี่ยมเกษตรกร ต.บ้านป่า อ.เมือง จ.พิษณุโลก ในโครงการฟาร์มเห็ดชุมชน เป็นโครงการที่ต่อยอดจาก ต้นทุนโครงการเกษตรยั่งยืน 1 (9101 เดิม) ซึ่งตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรทำนายั่งยืน แนวคิดหลักของกลุ่มต้องการที่จะสร้างอาชีพเพื่อให้มีรายได้นอกเหนือจากการทำนา จึงจัดทำฟาร์มเห็ด ตั้งแต่เริ่มโครงการ ถึงปัจจุบัน สามารถสร้างรายได้ กว่า 160,000 บาท แบ่งเป็น ขายก้อนเชื้อเห็ด ขายดอกเห็ด และบริหารจัดการในลักษณะระดมทุน และเข้าร่วมหุ้น โดยรายได้จากการขายจะหักเงินลงทุนและการระดมหุ้นออกก่อน ถึงจะจัดสรรให้กับสมาชิก ทั้งนี้กลุ่มเกษตรกร ยังสามารถบริหารจัดการรายได้ที่ได้มาเป็นเงินทุนหมุนเวียน กว่า 33,000 บาท

พร้อมทั้งเชื่อมโยงกลุ่มเกษตรกรในอำเภอเมือง แลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้ากัน โดยผ่านการขายสินค้าของชุมชน ผ่าน เฟสบุ๊ค “ฟาร์มเห็ดชุมชน ม.1 ต.บ้านป่า” และสามารถจัดส่งผลผลิตให้กับผู้สั่งซื้อสินค้าได้ทั่วประเทศ

เกษตรกรนำไข่ที่เป็นผลผลิตของฟาร์มามาขาย
เกษตรกรนำไข่ที่เป็นผลผลิตของฟาร์มามาขาย

และได้เยี่ยมชม โครงการเลี้ยงไก่ไข่และเพาะขยายพันธุ์ไก่เพื่อบริโภคในชุมชน ของกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่บ้านคลองอ้ายกาบ หมู่ที่ 10 ต.ดงประคำ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก สมาชิก 48 คน สามารถจำหน่ายไข่ได้กว่า 7,600 ฟอง/เดือน นอกจากนี้ ยังลดต้นทุน ค่าอาหารไก่ โดยมีการพัฒนาสูตรอาหารไก่ และผสมอาหารไก่เอง โดยจำหน่ายให้กับชุมชน ซึ่งปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในชุมชน

ชื่นชมเกษตรกรที่นำผลผลิตมาขาย
ชื่นชมเกษตรกรที่นำผลผลิตมาขาย

นายสำราญ ยังได้กล่าวถึงโครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ว่าเสียงตอบรับจากเกษตรกรทุกพื้นที่ พอใจในโครงการฯ เพราะได้มีส่วนร่วมในการคิด และตัดสินใจจากชุมชนกันเอง มีเจ้าหน้าที่เกษตร มาคอยเป็นพี่เลี้ยงและให้คำแนะนำ ในการประกอบอาชีพเสริม ได้เป็นอย่างดี.

ถ่ายภาพร่วมกับข้าราชการและเกษตรกรในพื้นที่
ถ่ายภาพร่วมกับข้าราชการและเกษตรกรในพื้นที่
SIMA_webbanner_468x90_TH_animated