เปิดแล้ว…มหกรรมเกษตรครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี “เกษตรมหัศจรรย์ 2561” ครั้งที่ 9 ภายใต้แนวคิด “เกษตรสร้างสุข ยุคดิจิตอล” โดยนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ร่วมกับองค์กรหน่วยงานภาครัฐ และพันธมิตรธุรกิจภาคเอกชน ระหว่างวันที่ 24-27 พฤษภาคม 2561 ที่สกายฮอลล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว พร้อมตอกย้ำความสำเร็จ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 31 “เทคโนโลยีชาวบ้าน” นิตยสารเกษตรอันดับหนึ่งของเมืองไทย

พิธีเปิดงานยิ่งใหญ่
พิธีเปิดงานยิ่งใหญ่

ในวันเปิดงานมี นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และมีนายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมการข้าว มาร่วมเป็นเกียรติ ตลอดจนแขกผู้เกียรติและตัวแทนเกษตรกร มาร่วมงานคับคั่ง

นายกฤษฎา บุญราช ชื่นชมกับทุเรียนพันธุ์ดี
นายกฤษฎา บุญราช ชื่นชมกับทุเรียนพันธุ์ดี

นิทรรศการที่เป็นจุดเด่นของงานที่พลาดไม่ได้คือ ราชาผลไม้ อย่าง “ทุเรียน” จากทุกภาคในประเทศไทย จัดแสดงให้ชมกันกว่า 100 สายพันธุ์ พร้อม 5 ที่สุดของทุเรียนที่ได้ชื่อว่าแพงที่สุด อร่อยที่สุด ชื่อแปลกที่สุด หายากที่สุด และอายุมากที่สุด เช่น ก้านยาวปราจีนบุรี เม็ดในยายปราง หลิน-หลงลับแล ห้าลูกไม่ถึงผัว จระเข้สุโขทัย เป็นต้น

นายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรัฐมนตรีหลายสมัย ไม่พลาดที่จะมาเยี่ยมชมงานครั้งนี้
นายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรัฐมนตรีหลายสมัย ไม่พลาดที่จะมาเยี่ยมชมงานครั้งนี้

ผู้เข้าชมจะได้สัมผัสกับการเกษตรยุคใหม่ใน ทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่นิทรรศการ “ฟาร์มสุข” พบกับความตื่นตา-ตื่นใจ และมหัศจรรย์ของเกษตรไทยยุคไอทีกว่า 100 สายพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีไม้พืชผลเศรษฐกิจมากมาย ที่น่าสน ใจอย่าง มะม่วงกว่า 50 สายพันธุ์ ตามด้วยมังคุด สละสุมาลี ลองกอง เป็นต้น รวม ไปถึงไม้ดอก-ไม้ประดับ สุดอินเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยม จากโลกโซเชี่ยลอีกด้วย ถัดมาในโซนนิทรรศการ “ฟาร์มรู้ดิจิตอล” สอดคล้องกับแนวคิดยุคดิจิตอล นำเสนอนวัตกรรม-แอพพลิเคชั่นสุดล้ำของภาคเกษตรยุค 4.0 จากโลกออนไลน์ เช่น Application ชาวนาไทย, Rice Product, Farmer Info, Agriconnect, WSMC กรมชลประทาน เป็นต้น มาให้ได้ร่วมสัมผัสและโหลดแอพฯ เพื่อนำไปใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ยังมีโชว์เคส Digital Farmer คนต้นแบบและหน่วยงานต้นแบบ ที่นำ “ดิจิตอล” มาใช้กับภาคการเกษตร ตั้งแต่การปลูก การจำหน่าย การแปรรูป และการสร้างนวัตกรรม เช่น การจำลองสวนโคโค่ เมล่อน ฟาร์ม จากเกษตรกร จ.สุพรรณบุรี ที่ได้นำเทคโนโลยี IoT เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต จากการเข้าร่วมฟาร์มอัจฉริยะ โดยความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร กับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค-สวทช. รวมถึงระบบแนะนำการคำนวณขนาดแปลง เกษตรบนสมาร์ตโฟน ระบบสำรวจพื้นที่ด้วยโดรน UAV/Drone และนำไปแสดงผลในกูเกิลเอิร์ธ (Google Earth Pro) ระบบตรวจสอบสภาพอากาศพื้นฐาน ด้วย IoT (Internet of Things-อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง) และระบบการควบคุมให้น้ำด้วย Smart Farm Kit ระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบหมุนตามตะวัน เพื่อจ่ายไฟฟ้าในแปลงเกษตรและจ่ายให้กับระบบ IoT

ไม่เท่านั้นยังมีการแจ้งเตือนฝนตกล่วงหน้าด้วยแอพพลิเคชั่น บนสมาร์ตโฟน IFARM กับการเพาะปลูกเห็ด การตลาด รวมทั้งการออกแบบรูปแบบทางธุรกิจ หรือ Business Model แบบครบวงจร รวมทั้งมีการนำเสนอนวัตกรรมเพื่อเกษตรกรยุคใหม่ เช่น เครื่องตรวจสอบความแก่อ่อนของทุเรียน แทนนินจากเปลือกมะพร้าวเคลือบทุเรียนเพื่อส่งออก

นายถวิล สุวรรณมณี (คนถือทุเรียน) นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรฯ กำลังชื่อนชมทุเรียนภูเขาไป จากจังหวัดศรีษะเกษ
นายถวิล สุวรรณมณี (คนถือทุเรียน) นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรฯ กำลังชื่อนชมทุเรียนภูเขาไฟ จากจังหวัดศรีษะเกษ

นายพานิชย์ ยศปัญญา บรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน กล่าวว่า การจัดงานในปีนี้เพื่อให้สอดคล้อง กับนโยบายของรัฐรวมถึงการขับเคลื่อนใน ยุคดิจิตอล จึงต้องการผลักดันเกษตรกรประเทศไทยให้ก้าวเข้าสู่ยุคที่ใช้เทคโนโลยีอย่าง 4.0 ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งปีก่อนหน้านี้เน้นในส่วนของความมหัศจรรย์พันธุ์ไม้นานาชนิดไปแล้ว แต่ปีนี้ความมหัศจรรย์ ที่กำลังมาแรงคงจะเป็นราชาผลไม้อย่าง “ทุเรียน” พืชเมืองร้อนที่ทำรายได้มหาศาล

ทุเรียนเป็นราชาผลไม้ที่ส่งออกสู่ต่างประเทศกว่า 40 ประเทศทั่วโลก ประเทศอันดับแรกที่มีการส่งออกทุเรียนมากที่สุดคงไม่พ้นประเทศจีน เมื่อปี 2559 อยู่ที่ 329,790,765 กิโลกรัม มูลค่า 9,571,005,691 บาท และในปี 2560 อยู่ที่ 305,853,240 กิโลกรัม มีมูลค่ามากถึง 15,280,299,599 บาท รองลงมาอันดับสองได้แก่ประเทศเวียดนาม ในปี 2560 อยู่ที่ 296,327,932 กิโลกรัม มูลค่ามากถึง 9,095,696,979 บาท

“เกษตรเพื่อคนยุคใหม่ เพื่อก้าวต่อไป ที่ไม่ใช่เกษตรแบบดั้งเดิม จึงเป็นที่มาของเกษตรสร้างสุขยุคดิจิตอล ความมหัศจรรย์ของ ปีนี้คือ ราชาผลไม้อย่างทุเรียนที่เป็นโปรดักต์แชมเปี้ยนที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรหันมาสนใจปลูกทุเรียนกันเยอะ ปัจจุบันไม่ใช่แค่ภาคตะวันออกอย่างเดียว แต่ขยายวงกว้างไปถึงจังหวัดในภาคเหนือ อย่างอุตรดิตถ์ หรืออีสาน ที่อุบลราชธานี ศรีสะเกษ (ทุเรียนภูเขาไฟ) สร้างเงินให้กับเกษตรกรได้อย่างล้นหลาม ทั้งส่งออก ทั้งแปรรูป

เราจึงนำจุดแข็งนี้มาแสดงให้ดูภายในงาน แต่ทั้งนี้ไม่ได้จะนำมาแสดงเพื่อบอกเกษตรกรทุกคนว่าให้หันมาปลูกแต่ทุเรียนกันอย่างเดียว แต่เรานำเรื่องราวทั้งหมดมาร่วมกันคิด ร่วมกันถกถึงประเด็นที่ว่าสมควรปลูกอย่างไร หรือทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ทุเรียนล้นตลาด และมีวิธีแก้ไข ป้องกันอย่างไร จากผู้มีประสบการณ์ตรง ที่จะร่วมเสวนากันในงานนี้ด้วย” บ.ก.เทคโนโลยีชาวบ้าน กล่าว

เกษตรกรนำทุเรียนมาจำหนายกันหลายเจ้า
เกษตรกรนำทุเรียนมาจำหน่ายกันหลายเจ้า

งานในครั้งนี้ยังมีการมอบรางวัลเกษตรกรดีเด่นปี 2561 ที่ประสบความสำเร็จและถือเป็นต้นแบบที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เกษตรกรรุ่นใหม่ พลาดไม่ได้กับกิจกรรมแจกฟรี ที่ได้นำผลไม้พันธุ์ดีมาให้ผู้ร่วมงานได้นำไปทดลองปลูกกันด้วย เช่น มะม่วงแก้วขมิ้น หน่อกล้วยน้ำว้า มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ และต้นขนุนทองประเสริฐ เป็นต้น

มะม่วงหลากสายพันธุ์
มะม่วงหลากสายพันธุ์

กิจกรรมงานเสวนาจากเกษตรกรยุคใหม่ นำเสนอความรู้จากเกษตรกรยุคใหม่ที่น่าสนใจมากมายมาอัพเดต เช่น ธรรมดาโลกไม่จำ จอน นอนไร่, เลี้ยงไส้เดือนสไตล์ลุงรีย์ ยุค 4.0, เกษตร ยุคใหม่กับการใช้เทคโนโลยี IoT, ปลูกขายสละออนไลน์ ทำได้จริง, การส่งออกทุเรียนไทย, ทำสวนเกษตรแนวใหม่เพื่อการท่องเที่ยว, เครื่องตรวจสอบความแก่อ่อนของทุเรียน เป็นต้น

มาถึงกิจกรรมเวิร์กช็อปสุดฮิป เพื่อเกษตรกรยุคดิจิตอล ประกอบ ด้วย การเพาะเห็ดและบิสิเนสโมเดลเพื่อคนรุ่นใหม่, การปั้น ผลไม้จิ๋ว, เมนูอาหารจากทุเรียน และสบู่ออร์แกนิกจากผัก เป็นต้น ที่พิเศษกว่าทุกปีงานในครั้งนี้ ได้เปิดโซน “ตลาดเกษตรอินดี้” เป็นครั้งแรก โดยเกษตรกรยุคใหม่ นำสินค้าสุดฮิปมาจำหน่าย

นอกจากนี้ ยังมีทุเรียน ผลไม้ตะวันออก ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ มาให้ช็อปกันในราคาสุดคุ้ม พร้อมสินค้ากลุ่มเกษตร-อุปกรณ์ตกแต่งสวน และอาหารดังร้านเด็ด รวมแล้วกว่า 200 ร้านค้า พิเศษเพียงลงทะเบียนเข้างานก็สามารถร่วมลุ้นรางวัลใหญ่ได้ทันที

แขกผู้มีเกียรติมาร่วมงานคับคั้ง
แขกผู้มีเกียรติมาร่วมงานคับคั่ง

งานเกษตรมหัศจรรย์ 24-27 พ.ค. ครั้งนี้ ถือเป็นงานเกษตรครั้งยิ่งใหญ่ ที่มุ่งเน้นให้เกษตรกรไทยปรับตัวและมุ่งไปสู่การพัฒนาแบบยั่งยืนในโลกยุคดิจิตอล โดยมีทุกภาคส่วนร่วมผลักดัน ให้วิถีเกษตร กรรมเป็น Digital Farmer ซึ่งจะเป็นการพัฒนาให้เกษตรกรไทยก้าวสู่การเป็น Smart Farmer ได้อย่างยั่งยืน

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated