วันนี้ (7 ส.ค. 64) นายวีระชัย เข็มวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท (สสก.1) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่จังหวัดชัยนาท ภายใต้กิจกรรม “สื่อมวลชนสัญจร Young Smart Farmer ต้นแบบ สสก.1 จ.ชัยนาท” เพื่อเยี่ยมชมความสำเร็จของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ Young Smart Farmer ประกอบด้วย เปี่ยมสุขฟาร์ม ต.วังไก่เถื่อน อ.หันคา และ สวนส้มโออำนวย

นายวีระชัย เข็มวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท (สสก.1)
นายวีระชัย เข็มวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท (สสก.1)

ทั้งนี้ นายวีระชัย เข็มวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท (สสก.1) เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท (สสก.1) ได้ดำเนินนโยบายขับเคลื่อนงานพัฒนาการเกษตรตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตรอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer ในพื้นที่รับผิดชอบทั้ง 9 จังหวัดภาคกลาง ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สระบุรี ลพบุรี และกรุงเทพมหานคร จนประสบความสำเร็จ สามารถพัฒนาให้ Young Smart Farmer ที่สมัครเข้าร่วม เกิดการพัฒนาจนกลายเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ ที่มีความรู้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในยุคเกษตร 4.0 ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดถึงนวัตกรรมตามหลักการธุรกิจเกษตร การนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการผลิตและการตลาด และที่สำคัญคือ การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยการนำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ตรงกับความต้องการของตลาด

นายวีระชัย กล่าวต่อไปว่า วันนี้ Young Smart Farmer ภายใต้การส่งเสริมและพัฒนาของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท สามารถเป็นต้นแบบ และเป็นผู้นำในการพัฒนาการเกษตรของชุมชนได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ดังเช่นเปี่ยมสุขฟาร์ม ต.วังไก่เถื่อน อ.หันคา จ.ชัยนาท ของ นายณธัชพงศ์ รักศรี และ นายธนเดช ไชยพัฒรัตนา ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีใจรักด้านการเกษตร และใช้เวลาว่างจากงานประจำมาทำการเกษตร ภายใต้แนวคิด เกษตรกรวันหยุด โดยทั้งสองคนได้สมัครเข้าร่วมเป็น Young Smart Farmer ของจังหวัดชัยนาทในปี 2562 จากการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท วันนี้จึงได้ประสบความสำเร็จในการทำสวนเกษตร ที่เน้นการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลัก อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าด้วยการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จนเป็นอีกหนึ่งต้นแบบที่น่าสนใจ

137664

137688

“ขณะที่ นายสุทธิพจน์ เชื้ออภัยวงษ์ ซึ่งได้สมัครเข้าร่วมเป็น Young Smart Farmer ของจังหวัดชัยนาทในปี 2564 ถือเป็นอีกหนึ่ง Young Smart Farmer ต้นแบบจากการพัฒนาของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท จนประสบความสำเร็จในการนำผลผลิตส้มโอมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีคุณภาพและปลอดภัยตรงตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้นในวันนี้สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 และต้องการกลับบ้านเกิดเพื่อมาประกอบอาชีพการเกษตร การสมัครเข้าร่วมเป็น Young Smart Farmer จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย ซึ่งผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดต่าง ๆได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอหรือจังหวัดที่อยู่ใกล้บ้าน” นายวีระชัยกล่าว

ขณะที่ นายณธัชพงศ์ รักศรี กล่าวเพิ่มเติมว่า การสมัครเข้าร่วมเป็น Young Smart Farmer ถือเป็นการเติมเต็มความสำเร็จให้เกิดขึ้น จากเดิมที่มีแนวคิดเพียงอยากทำเพราะใจรัก มีความสุขกับการทำเกษตร ด้วยสิ่งต่างๆที่ได้รับช่วยทำให้เกิดการพัฒนาแนวคิดด้านธุรกิจเกษตร และเป็นจุดที่ทำให้ก้าวมาสู่การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ อย่างจิ้งหรีด  ซึ่งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO)  ได้เลือกให้แมลงเป็นสินค้าอาหารทางเลือกใหม่ โดยคาดว่าในปี 2023 ตลาดแมลงจะมีขนาดถึง 37,900 ล้านบาท

137682

“การที่จะทำฟาร์มจิ้งหรีดให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาเรียนรู้ให้ถ่องแท้ ตั้งแต่เรื่องของช่องทางการตลาด ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน ปัจจัยต่อการเจริญเติบโตของจิ้งหรีด ขั้นตอนการเลี้ยงและวัสดุที่ใช้ และที่สำคัญคือ การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพราะจะทำให้เกิดรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นจากปกติ ที่จะจำหน่ายจิ้งหรีดสดในราคากิโลกรัมละ 150 บาท เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 4,000 บาทได้ เมื่อนำมาแปรรูปผงโปรตีน แป้งโปรตีน และสารสกัดจากจิ้งหรีด” นายณธัชพงศ์ กล่าว

ส่วน นายสุทธิพจน์ เชื้ออภัยวงษ์ กล่าวว่า จากผลกระทบของสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด – 19  ทำให้ธุรกิจส่วนตัวที่ทำไม่สามารถไปต่อไป จึงตัดสินใจกลับมายังบ้านเกิดที่จังหวัดชัยนาท เริ่มต้นใหม่ด้วยการทำสวนส้มโอ โดยวางแผนที่จะพัฒนาให้มีการต่อยอดผลผลิตด้วยการแปรรูปออกจำหน่าย แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเกษตรสมัยใหม่ นั่นจึงเป็นที่มาของการสมัครเข้าร่วมเป็น Young Smart Farmer จากองค์ความรู้จากข้อแนะนำทั้งแนวทางและแนวคิด ส่งผลให้เกิดแนวคิดและช่องทางของการก้าวเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่

137687

“การเข้าร่วม Young Smart Farmer ทำให้ผมตกผลึกทางความคิด และเลือกที่จะทำเกษตรสุขภาพควบคู่กับการแปรรูป แบบ ZERO WASTE ที่เน้นจุดขายที่ว่า ปลูกสุขภาพจากดิน ส่งสุขภาพถึงมือคุณ ทั้งนี้ในการแปรรูปแบบ ZERO WASTE นั้นจะนำทุกส่วนของผลส้มโอมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า โดยเริ่มจากส่วนของผลและกุ้ง นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์น้ำส้มโอสกัดเย็น, ไอศกรีมส้มโอ, แยมส้มโอ, น้ำส้มโอแบบผงชงดื่ม และวิตามินเม็ดฟูละลายน้ำจากส้มโอ ขณะที่ส่วนของเยื่อสำลีส้มโอ จะนำมาแปรรูปเป็นกระดาษจากเยื่อสำลีส้มโอ, แผ่นมาร์คหน้าส้มโอและครีมมาร์คหน้าส้มโอ สำหรับในส่วนของผิว จะนำมาแปรรูปเป็นน้ำมันหอมระเหยเปลือกส้มโอชนิดต่าง ๆ ชาเปลือกส้มโอ เซรั่มส้มโอ, แคปซูลจากเปลือกส้มโอ และเปลือกส้มโออบบ๊วยอบแห้ง” นายสุทธิพจน์ กล่าวในที่สุด

137692

137689

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated