สสก.3 จ.ระยอง คัดเลือกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนดีเด่น ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนดีเด่น ผ่านระบบทางไกลออนไลน์ zoom Meeting มี 9 ศูนย์ฯ อยู่ในข่ายได้รับการพิจารณา และจะประกาศอย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้

นายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง (สสก. 3 จ.ระยอง) เปิดเผยว่า ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้สนับสนุนให้มีการดำเนินกิจกรรมคัดเลือกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนดีเด่น ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนดีเด่น เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนที่มีการบริหารจัดการ และดำเนินกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างประโยชน์ต่อชุมชน เป็นศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ สามารถเผยแพร่ผลงาน และแนวทางการปฏิบัติสู่ชุมชน กระตุ้นให้เกิดการพัฒนา และส่งเสริมความเป็นเลิศของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนต่อไป โดยในการนี้ สสก. 3 จ.ระยอง ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการพิจารณาคัดเลือกฯ และคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการติดตามข้อมูล การดำเนินงานของศูนย์ฯ ต่างๆ ผ่านระบบทางไกลออนไลน์ zoom Meeting ตามมาตรการในการป้องกันการระบาดโควิด-19 ของรัฐบาล

4

จากการติดตามเพื่อพิจารณาผลงานระดับพื้นที่ของคณะกรรมการในครั้งนี้ทางศูนย์ ฯ ได้นำเสนอผลงานและตอบข้อซักถาม เพื่อให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการอย่างครบถ้วน โดยการพิจารณานั้นมีศูนย์ฯ ที่อยู่ในเกณฑ์การพิจารณา จำนวน 9 ศูนย์ด้วยกัน ประกอบด้วย 1.ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลสนามไชย 2.ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลตรอกนอง จังหวัดจันทบุรี 3.ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตาขัน 4. ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลแม่น้ำคู้ จังหวัดระยอง 5.ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนนาเริก จังหวัดชลบุรี 6.ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลท่ากุ่ม 7. ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลบางปิด จังหวัดตราด8.ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนตำบลบางแตน จังหวัดปราจีนบุรี และ 9. ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนบ้านหนองตะลุมพุกจังหวัดนครนายก ทั้ง 9 ศูนย์เป็นโครงการ 1 จังหวัด 1 โมเดลธุรกิจ

160986

นายปิยะ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้คณะกรรมการได้พิจารณาถึงภาพรวมในการดำเนินงานของศูนย์ฯ จุดเด่นในการบริหารจัดการโดยกลุ่ม มีการร่วมกันคิดร่วมกนแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไรบ้าง มีการวางแนวทางในการพัฒนาด้านการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และความต้องการใช้ของชุมชนมากน้อยแค่ไหน มีการนำผลจากการปฏิบัติภายในศูนย์ขยายสู่ชุมชนอย่างไร ตลอดถึงการประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสมกับพื้นที่และถูกกับสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค มีการขยายผลให้เกษตรกรนำไปใช้ในการทำการเกษตรอย่างต่อเนื่องที่เอื้อต่อการเกิดธุรกิจที่สร้างรายได้ ลดรายจ่าย ลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร และสามารถใช้เป็นศูนย์ต้นแบบที่เป็นแหล่งเผยแพร่ผลงาน ให้ผู้ที่สนใจนำไปปฏิบัติต่อไปได้อย่างไรบ้าง เพื่อพิจารณาตัดสินให้เป็นศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ดีเด่น ระดับเขต ปี 2564 ต่อไป โดยผลการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการ สสก. 3 จ.ระยอง จะประกาศให้ทราบอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้

160985

“สำหรับศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนนั้น จะเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านดินและปุ๋ย มีเกษตรกรดูแลด้วยกันเอง โดยมีเจ้าหน้าที่คอยเป็นพี่เลี้ยง เพื่อต้องการให้เกิดการยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วย ส่งเสริมให้พืชแข็งแรงพอที่จะต้านทานโรคและศัตรูพืชซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช รวมถึงเกษตรกรจะได้ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม” นายปิยะ กล่าว

อนึ่ง สำหรับคณะกรรมการที่ร่วมพิจารณาในครั้งนี้ ประกอบด้วย นายปิยะ สมัครพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง นางสาววรนุช สีแดง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต นายชนินทร์ สุขสำราญ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาบุคลากร นายกฤษฎา ฉิมอินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดชลบุรี นางนลทวรรณ มากหลาย ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ นายสรรพสิทธิ์ สิงห์ปี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ และนางสาวผกาพันธุ์ ละมัย นักวิชาการเกษตรชำนาญการ

5

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated