วันนี้ (24 เม.ย. 64) นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยนายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่จังหวัดชัยนาท เพื่อติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาผักตบชวาที่ได้ไหลลงมาสะสมบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยากว่า 40,000 ตัน และคาดว่าจะไหลลงมาเพิ่มอีกอย่างต่อเนื่อง

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน
นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน

ในการนี้ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมคณะ ได้เข้าประชุมร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกรมชลประทาน ที่ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 12 บริเวณเขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา โดยมีนายกฤษฎา ศรีเพิ่มพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 ให้การต้อนรับ โดยในการประชุมอธิบดีกรมชลประทานได้มอบแนวทางปฏิบัติในการปฏิบัติการกำจัดผักตบชวาแก่เจ้าหน้าที่ เพื่อให้การกำจัดผักตบชวาและวัชพืชเป็นไปตามแผนที่กรมชลประทานกำหนดไว้และส่งผลให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ในการดำเนินการนั้นกรมชลประทาน ได้ระดมเครื่องจักร เครื่องมือ ลงไปเสริมเพิ่มเติมจากเดิม อาทิ รถขุดไฮดรอลิคแบบแขนยาว 3 ชุด รถขุดไฮดรอลิคแบบลงโป๊ะ 6 ชุด เรือดันวัชพืช 2 ลำ และรถบรรทุกเทท้าย 2 คัน เร่งเข้าไปกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด

1619255682576

“ขณะนี้ได้สั่งการให้สำนักเครื่องจักรกล และสำนักงานชลประทานทุกแห่ง ระดมเครื่องจักร เครื่องมือ เข้าในพื้นที่พร้อมทั้งกำชับให้เร่งดำเนินการเก็บวัชพืชโดยเฉพาะผักตบชวาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในช่วงฤดูฝน และสนับสนุนเพื่อการผลิตน้ำประปาให้กับประชาชน อีกทั้งยังช่วยระบายน้ำเพื่อผลักดันน้ำเค็มที่กำลังรุกขึ้นสูงในขณะนี้อีกด้วย” อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวอีกว่า ปัจจุบันกำจัดวัชพืชไปได้แล้วกว่า 3,700 ตัน ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานชลประทานที่ 12 ได้กำหนดแผนงานกำจัดวัชพืชปี 2564 ตั้งแต่เดือนม.ค. – เม.ย. 2564 จำนวน 4 โครงการ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการ นอกจากนี้ยังมีการดำเนินงานกำจัดวัชพืชปี 2564 นอกแผนที่กำหนดอีก 9 โครงการ รวมระยะทางกว่า 120 กิโลเมตร ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วกว่า 110 กิโลเมตร และคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้” อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

558679

จากนั้น อธิบดีกรมชลประทานพร้อมคณะได้เดินทางไปยังตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองชัยนาท เพื่อตรวจเยี่ยมการการปฏิบัติงานร่วมของส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 หันตรา และส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 2 พิษณุโลก ซึ่งได้จัดส่งเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยเครื่องจักร เช่น รถขุดไฮดรอลิคแบบแขนยาว รถขุดไฮดรอลิคแบบลงโป๊ะ เรือดันวัชพืช เป็นต้น จำนวน 10 ชุด เข้าปฏิบัติการกำจัดผักตบชวา โดยมีนายณรงค์ วงษ์ศิริ ผู้อำนวยการส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 หันตรา ให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปถึงผลการปฏิบัติงาน

โดยผลการปฏิบัติงานของส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 5 หันตรา และส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 2 พิษณุโลกจนถึงขณะนี้ มีความคืบหน้าอย่างน่าพอใจ สามารถเก็บผักตบชวาในพื้นที่รับผิดชอบได้ตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งคาดว่าจะสามารถกำจัดผักตบชวาได้หมดในเร็วๆนี้ อันจะช่วยบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน และลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากปัญหาดังกล่าว ตามนโยบายของรัฐบาล และดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงนายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน

558512

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated