เกษตรฯ กางแผนจัดการไม้ผลกว่า 80,000 ตัน เซ่นพิษ COVID-19 หากส่งออกจีนไม่ได้
เกษตรฯ กางแผนจัดการไม้ผลกว่า 80,000 ตัน เซ่นพิษ COVID-19 หากส่งออกจีนไม่ได้

กระทรวงเกษตรฯ เผยมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ที่มีต่อผลไม้ไทย ทำให้ไม่สามารถส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ โดยเฉพาะทุเรียน มังคุด และเงาะ รวม 84,275 ตัน พร้อมงัด 2 มาตรการหลัก คือ การช่วยเหลือในการกระจายและควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตร COVID-19 และการช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการ

เกษตรฯ กางแผนจัดการไม้ผลกว่า 80,000 ตัน เซ่นพิษ COVID-19 หากส่งออกจีนไม่ได้
นายอลงกรณ์ พลบุตร


นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เปิดเผยภายหลังร่วมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 2/2563 ณ กรมส่งเสริมการเกษตรว่า คณะทำงานจัดทำข้อมูลไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก ได้วิเคราะห์สถานการณ์การผลิตไม้ผล เมื่อมีการระบาดของโรค COVID-19 โดยคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณผลผลิตในปี 2563 คือ ทุเรียน 584,712 ตัน โดยจะออกสู่ตลาดมากในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2563 มังคุด 201,741 ตัน จะออกสู่ตลาดมากในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2563 และเงาะ 220,946 ตัน จะออกสู่ตลาดมากในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2563

ทั้งนี้ ในภาวะปกติหากไม่มีผลกระทบโรค COVID-19 คาดว่าจะส่งออกทุเรียน 409,298 ตัน มังคุด 121,045 ตัน และเงาะ 15,466 ตัน ปริมาณรวม 545,809 ตัน แต่หากได้รับผลกระทบ COVID-19 มีการวิเคราะห์ว่าจะส่งออกทุเรียนได้ 350,827 ตัน มังคุด 108,940 ตัน และเงาะ 1,767 ตัน ปริมาณรวม 461,534 ตัน จึงมีส่วนต่างของผลผลิตที่ส่งออกไม่ได้ครบตามภาวะปกติ ดังนี้ ทุเรียน 58,471 ตัน มังคุด 12,105 ตัน และเงาะ 13,699 ตัน รวมทั้งสิ้น 84,275 ตัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต้องบริหารจัดการในกรณีที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 ทำให้ส่งออกตลาดจีนไม่ได้

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งนายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย อุปนายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยภาคตะวันออก และนายกสมาคมผู้ส่งออกผักและผลไม้ กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ได้ข้อสรุป 2 มาตรการหลักในส่วนของผลไม้ คือ 1) มาตรการช่วยเหลือในการกระจายและควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตร และ 2) มาตรการช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการ ซึ่งในแต่ละมาตรการจะมีโครงการย่อยและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบ ในการร่วมรณรงค์บริโภคผลไม้และกระจายผลผลิตไปยังแหล่งต่าง ๆ จำนวน 84,275 ตัน

เกษตรฯ กางแผนจัดการไม้ผลกว่า 80,000 ตัน เซ่นพิษ COVID-19 หากส่งออกจีนไม่ได้
นายทวี มาสขาว

ด้านนายทวี มาสขาว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) กล่าวว่า มาตรการที่ 1 การช่วยเหลือในการกระจายและควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตร มี 4 โครงการย่อย ประกอบด้วย

(1) โครงการประสานใจเกษตรกรไทยสู่พี่น้องชาวจีนสู้ วิกฤต COVID-19 ส่งมอบผลไม้ไทยให้พี่น้องชาวจีน ช่วงวันที่ 25 เม.ย. – 10 พ.ค. 2563 ซึ่งหากสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 สงบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปักกิ่ง อัครราชทูตที่ปรึกษาด้านการเกษตร และทูตพาณิชย์ จะเดินทางไปจัด Road Show และส่งมอบผลไม้ด้วยตนเองเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค เป้าหมาย ทุเรียน 20 ตัน และมังคุด 20 ตัน หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร, สมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทย, สำนักการเกษตร ต่างประเทศ, สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ, สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

(2) โครงการรณรงค์ส่งเสริมการบริโภคผลไม้ภายในประเทศ Eat Thai First ได้แก่ 1) จัดสถานที่จำหน่ายผลไม้ที่จะออกช่วง เม.ย. – พ.ค. เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้บริโภคผลไม้ไทยเกรด Premium ในราคายุติธรรมตามฤดูกาล ซึ่งขณะนี้กรมส่งเสริมการเกษตรได้ประสานงานกับตลาดไทและ Home pro เรียบร้อยแล้ว มี เป้าหมายการจำหน่ายสินค้าทั้ง 2 แห่ง รวม 1,200 ตัน โดยตลาดไทยินดีให้ใช้พื้นที่ในช่วงฤดูกาลผลิต นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรอยู่ระหว่างติดต่อกับ ซีคอนสแควร์ Home pro, IT Square, Tesco Lotus, Big C, Tops,  iconsaim และสถานีบริการน้ำมัน เป้าหมาย 3,000 ตัน (ตลาดไทและ Home pro 1,200 ตัน ตลาดอื่นๆ 1,800 ตัน) หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 2) ขอความร่วมมือทุกส่วนราชการ และผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่สนับสนุนการบริโภคผลไม้ไทย อาหารไทย และใช้ดอกไม้ไทยประดับสถานที่ ในการจัดประชุมสัมมนาและงานต่างๆ เป้าหมาย 3,000 ตัน 3) กรมส่งเสริมการเกษตรได้คัดเลือกเกษตรกร และเกษตรกรแปลงใหญ่ลงทะเบียนกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อกระจายสินค้าสู่ตลาดปลายทาง เรียบร้อยแล้ว เป้าหมาย 2,000 ตัน หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร, บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 4) เชิญชวนภาครัฐและภาคเอกชนที่มีศักยภาพ อาทิ ตลาดหลักทรัพย์ สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย SCG ฯลฯ ช่วยซื้อผลไม้ เป้าหมาย 1,000 ตัน 5) ส่งเสริมการขายผ่านระบบออนไลน์ เช่น Alibaba, Shopee, Lazada โดยกรมส่งเสริมการเกษตรมีการอบรมเกษตรกรให้ขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งมีกลุ่มเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี เข้าร่วมโครงการขายผ่าน Lazada ในส่วนของ อ.ต.ก. มีการดำเนินการจำหน่ายผ่านระบบ อ.ต.ก. Online และ อ.ต.ก. Market ซึ่งเกษตรกรสามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ เป้าหมาย 2,000 ตัน 6) กรมส่งเสริมสหกรณ์จะบริหารจัดการโครงการสนับสนุนการกระจายผลไม้ของสถาบันเกษตรกร โดยขอใช้งบกลาง จำนวน 45.0372 ล้านบาท เป้าหมาย 80,000 ตันเกษตรฯ กางแผนจัดการไม้ผลกว่า 80,000 ตัน เซ่นพิษ COVID-19 หากส่งออกจีนไม่ได้

(3) โครงการสินค้าเกษตรไทยปลอดภัยจาก COVID-19 ขอความร่วมมือหน่วยงานในพื้นที่ให้เข้มงวดเกี่ยวกับสุขอนามัยของแรงงาน เช่น การแต่งกายที่รัดกุม มีหน้ากากป้องกันขณะปฏิบัติงาน และขอความร่วมมือกรมการค้าภายใน กระทรวงสาธารณสุขในการจัดสรรโควตาหน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ประกอบการ สำหรับผู้ประกอบการชาวสวนผลไม้ให้ระมัดระวังการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวในลักษณะบุฟเฟ่ต์ผลไม้ และมอบหมาย คพจ. ติดตามผลการปฏิบัติการควบคุมโรคระบาดในพื้นที่อย่างเข้มงวด และรายงานต่อ Fruit Board เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพสินค้าเกษตรไทย

(4) โครงการหาตลาดใหม่สินค้าเกษตรเพิ่มเติม ได้แก่ การจัดแคมเปญ/นิทรรศการ/Road Show/Exhibition ในประเทศต่างๆ ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้เตรียมจัดกิจกรรมในระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน ณ ประเทศ ออสเตรเลีย UAE ตุรกี จีน และญี่ปุ่น โดยเจรจากับประเทศตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย ตุรกี อินโดนีเซีย รัสเซีย อาร์เจนตินา อินเดีย เกาหลี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการเตรียมความพร้อม นอกจากนี้ ได้เร่งศึกษากฎระเบียบการส่งออกผลไม้ไปประเทศอื่นๆ ที่มีศักยภาพ การเจรจาข้อจำกัดกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) สุขอนามัยพืช สุขอนามัยสัตว์ มาตรฐานสินค้า รวมทั้งขอให้กรมวิชาการเกษตรเร่งดำเนินการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน GAP โดยมีเป้าหมายการตรวจรับรอง 70,000 แปลง และ GMP โรงคัดบรรจุ 180 โรง

89877

รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับมาตรการที่ 2 การช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการ ได้แก่ มาตรการช่วยลดภาระทางการเงิน ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ขอความร่วมมือ ธ.ก.ส. ผ่อนปรนการชำระหนี้ให้กับเกษตรกร โดยบอร์ด ธ.ก.ส. ได้พิจารณาอนุมัติมาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกร คือ 1) ให้ปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้โดยปลอดการชำระหนี้เป็นเวลา 3 ปี ระยะเวลาการดำเนินมาตรการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2564 และ 2) สนับสนุนสินเชื่อฟื้นฟูเพื่อเสริมสภาพคล่องให้เกษตรกร สถาบันเกษตร และผู้ประกอบการเพื่อนำไปเสริมสภาพคล่องดำเนินธุรกิจ

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated