เปิดตลาดเกษตรกรจังหวัดกระบี่ ต้นแบบตลาดนำการผลิต ภายใต้แนวคิด
เปิดตลาดเกษตรกรจังหวัดกระบี่ ต้นแบบตลาดนำการผลิต ภายใต้แนวคิด "เกษตรกรจริงจริง ทุกสิ่งปลอดภัย"

เรื่อง/ภาพ : อรรถสิทธิ์ ทองร่วง สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่

วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 เวลา 15.00 น. นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้เกียรติเป็นประธานเปิด “ศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกรจังหวัดกระบี่”

อรรถสิทธิ์ ทองร่วง สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่/รายงาน

เปิดตลาดเกษตรกรจังหวัดกระบี่ ต้นแบบตลาดนำการผลิต ภายใต้แนวคิด "เกษตรกรจริงจริง ทุกสิ่งปลอดภัย"
นายสำราญ สาราบรรณ์ และ พ.ต.ท.ม.ล. กิติบดี ประวิตร (จากซ้ายตามลำดับ)

โดยมี พ.ต.ท.ม.ล. กิติบดี ประวิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ นายสมโภช โชติชูช่วง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ นายนันธวัช เจริญวรรณ ปลัดจังหวัดกระบี่ หัวหน้าส่วนราชการ บุคลากรหน่วยงานท้องถิ่น ผู้แทนภาคเอกชน และสื่อมวลชนร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน

เปิดตลาดเกษตรกรจังหวัดกระบี่ ต้นแบบตลาดนำการผลิต ภายใต้แนวคิด "เกษตรกรจริงจริง ทุกสิ่งปลอดภัย"

มีนางระนอง จรุงกิจกุล เกษตรจังหวัดกระบี่ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ ณ อาคารศูนย์บริหารจัดการสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกรจังหวัดกระบี่ อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ “ตลาดเกษตรกร” เป็นหนึ่งในโครงการที่สำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่งเน้นให้ทุกจังหวัดมีสถานที่จำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรคุณภาพที่มีความปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เกษตรอินทรีย์ และมาตรฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เช่น GMP อย. ให้แก่ผู้บริโภค โดยเกษตรกรเป็นผู้จำหน่ายเอง มีผู้จัดการตลาดเกษตรกรเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน ผลักดันและขับเคลื่อน ในทุกมิติ สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กำหนดให้ “การลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตรและเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน” เป็นแนวนโยบายในการพัฒนาการเกษตรและเกษตรกร ช่วยเหลือเกษตรกรในด้านการตลาด ให้เข้มแข็งและมั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

เปิดตลาดเกษตรกรจังหวัดกระบี่ ต้นแบบตลาดนำการผลิต ภายใต้แนวคิด "เกษตรกรจริงจริง ทุกสิ่งปลอดภัย"นางระนอง จรุงกิจกุล เกษตรจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ภายใต้โครงการดังกล่าว สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ ได้รับงบประมาณพัฒนาโครงสร้างตลาดเกษตรกรถาวร โดยใช้พื้นที่ราชพัสดุที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ สำหรับสร้างอาคารตลาดเกษตรกรถาวรซึ่งอยู่ในพื้นที่ชุมชนและสามารถพัฒนาเป็นแหล่งค้าขายหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีศักยภาพด้านเศรษฐกิจที่ดีได้ มุ่งพัฒนาให้เกษตรกรมีแหล่งจำหน่ายสินค้าได้อย่างถาวร เชื่อมโยงสินค้าจากเครือข่ายตลาดเกษตรกรในพื้นที่ โดยจัดตั้งเป็น “ศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกรจังหวัดกระบี่” ภายใต้แนวคิด “เกษตรกรจริงจริง ทุกสิ่งปลอดภัย” โดยตระหนักถึงความสำคัญของสารพิษตกค้าง คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกลุ่มเกษตรกรและเครือข่ายมากกกว่า 800 ราย ช่วยกันคัดสรรและตรวจสอบผลผลิต และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาจำหน่ายเป็นประจำทุกวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 14.00 น. – 20.00 น. ยอดจำหน่ายแต่ละครั้ง 170,000 – 200,000 บาท รวมมูลค่าตั้งแต่เริ่มดำเนินการ ( 25 มกราคม 2559 – 15 กรกฎาคม 2562 ) จำนวนกว่า 30 ล้านบาท เกษตรกรเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ 20-30% ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากผู้บริโภค จึงมีการวางแผนผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ให้สามารถเปิดจำหน่ายได้ทุกวันในอนาคต เพื่อพัฒนาให้เกษตรกรประสบความสำเร็จและสร้างรายได้ภาคครัวเรือนในจังหวัดกระบี่อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

การจัดงานในครั้งนี้ เป็นการประชาสัมพันธ์ และจัดกิจกรรมกระตุ้นการจำหน่ายสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพให้ผู้บริโภคได้รู้จักและมาใช้บริการในตลาดเกษตรเพิ่มขึ้น โดยภายในงานจัดให้มีการออกร้านประชาสัมพันธ์และจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพของเกษตรกรในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง มีการประกวดผลผลิตทางการเกษตรจำนวน 7 รายการ มีการแข่งขันตำส้มตำลีลา และการแข่งขันปรุงอาหารเพื่อคัดสรรสุดยอดเครื่องแกงกระบี่

เปิดตลาดเกษตรกรจังหวัดกระบี่ ต้นแบบตลาดนำการผลิต ภายใต้แนวคิด "เกษตรกรจริงจริง ทุกสิ่งปลอดภัย"นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกร เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่องตลาดนำการผลิต โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้อนุมัติโครงการตลาดเกษตรกรถาวร นำร่อง 7 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี กระบี่ ชัยภูมิ กาญจนบุรี เชียงราย ลำปาง และพิจิตร ในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ การตลาดแห่งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการด้านการตลาด โดยคัดเลือกเกษตรกรที่มีศักยภาพการผลิต และความพร้อมตั้งแต่ต้นน้ำ คือเป็นผู้ผลิต กลางน้ำ คือการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า การบรรจุภัณฑ์ ปลายน้ำ คือการฝึกหัดการเป็นประกอบการค้าการขายด้วยตนเอง จากเกษตรกรรายเดี่ยว เป็นองค์กรเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรเข้ามาเรียนรู้ในการปฏิบัติจริง และประยุกต์ใช้ให้เกิดทักษะ ประสบการณ์ ต่ออาชีพของตนเอง ว่าการผลิตอย่างไรจึงตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ในการพัฒนาสินค้าคุณภาพสูง มีมาตรฐานการผลิต GAP และอินทรีย์ ปลอดภัยต่อสุขภาพทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องทุกวัน อีกทั้งยังสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในระยะยาว สมกับคำว่า “เกษตรกรจริงจริง ทุกสิ่งปลอดภัย” ดังนั้น จึงอยากให้เกษตรกรผู้ผลิตตระหนักถึงคุณภาพสินค้าต้องดีมีมาตรฐาน ต้องสด ต้องสะอาด และรสชาติอร่อย เราจะร่วมกันสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ติดหู ติดปาก และติดใจผู้บริโภค ให้พัฒนาสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืนตลอดไป

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated