มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จับมือ ซีพีเอฟ ร่วมวิจัยและพัฒนาด้านสัตวแพทย์ เพื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในภาคใต้
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จับมือ ซีพีเอฟ ร่วมวิจัยและพัฒนาด้านสัตวแพทย์ เพื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในภาคใต้

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) จับมือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ร่วมกัน ศึกษา วิจัย และพัฒนาด้านสัตวแพทย์ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในภาคใต้ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี ม.อ. รองศาสตราจารย์อุษา เชษฐานนท์ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.อ. นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ และนายจรัส อัศวชาญชัยสกุล รองกรรมการ ซีพีเอฟ ร่วมลงนามในครั้งนี้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จับมือ ซีพีเอฟ ร่วมวิจัยและพัฒนาด้านสัตวแพทย์ เพื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในภาคใต้
นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ และ ดร.นิวัติ แก้วประดับ

การลงนามในครั้งนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมกันศึกษาทดลองในสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อการเรียนการสอนและวิจัย โดยอาศัยวิทยากร ผู้ชำนาญการ และอาจารย์พิเศษ ถ่ายทอดวิชาการและประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยและบริษัทซึ่งมีความเชี่ยวชาญ อีกทั้งร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการเรียน การสอน ให้สอดคล้องกับภาคปศุสัตว์และสัตว์น้ำในปัจจุบัน รวมถึงการศึกษาและวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ด้านสัตวแพทย์บริการ และติดตามภาวะโรคระบาดในพื้นที่ภาคใต้

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จับมือ ซีพีเอฟ ร่วมวิจัยและพัฒนาด้านสัตวแพทย์ เพื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในภาคใต้ผศ.ดร.นิวัติ กล่าวว่า ม.อ. มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อนวัตกรรมและสังคมที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ และเป็นกลไกหลักในการพัฒนาภาคใต้และประเทศไทย ทั้งนี้ ความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ด้วยเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็ง ซึ่งคณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมทั้งในด้านองค์ความรู้ บุคลากร และหน่วยงานภายในคณะทั้งศูนย์ คลินิก และโรงพยาบาลสัตว์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับซีพีเอฟจะเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาความร่วมมือที่ให้เกิดผลสัมฤทธิ์กับทุกด้านในอนาคต อันเป็นประโยชน์แก่ มหาวิทยาลัย บริษัท ชุมชน สังคมในภาคใต้ และประเทศไทยอีกด้วย

ด้านนายเรวัติ กล่าวว่า การลงนามครั้งนี้ ถือเป็นการผนึกกำลังของภาครัฐและเอกชนผลักดันการพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และการพัฒนาองค์ความรู้ และบุคลากรด้านปศุสัตว์และสัตว์น้ำที่มีศักยภาพและสอดคล้องความต้องการ สถานการณ์ปัจจุบัน และความท้าทายในอนาคต เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ทั้งในภาคใต้ รวมถึงระดับประเทศและภูมิภาค

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated