“Safety and Security” คีย์เวิร์ดสำคัญของวงการสินค้าเกษตรและอาหารในปี 2561
“Safety and Security” คีย์เวิร์ดสำคัญของวงการสินค้าเกษตรและอาหารในปี 2561(ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต)

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานข้อมูลผลสำรวจแนวโน้มของสินค้าเกษตร โดยหนังสือพิมพ์ The Japan Agricultural News ถึงความนิยมของคนญี่ปุ่นในการใช้ Keyword (คีย์เวิร์ด) อันหมายถึง คำหรือข้อความที่พิมพ์ลงในอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาเว็บไซต์ หรือข้อมูลต่างๆ ในปี 2561

คำว่า “Safety and Security” ยังคงเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญของวงการสินค้าเกษตรและอาหารในปี 2561 จากรายงานดังกล่าวชี้ว่า “Safety and Security” เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญอันดับหนึ่งมา 3 ปีซ้อนจากความเห็นของผู้ประกอบการ โดยผลการสำรวจผู้ประกอบการเกี่ยวกับคีย์เวิร์ดด้านการตลาด ในปี 2561 ของหนังสือพิมพ์ The Japan Agricultural News มีดังนี้

อันดับ 1 “Safety and Security” ที่ร้อยละ 43.5
อันดับ 2 “ความอร่อย” ที่ร้อยละ 36.5%
อันดับ 3 “สุขภาพ” อันดับยังคงที่เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยอยู่ที่ร้อยละ 32.9
อันดับ 4 “สภาพอากาศ” อันดับเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1 อันดับ ปรับตัวขึ้นเป็นอันดับ 4 สืบเนื่องจากในปีที่ผ่านมาผลกระทบจากสภาพอากาศที่ผิดปกติและไต้ฝุ่นส่งผลให้ราคาผักปรับตัวสูงขึ้น โดยอยู่ที่ร้อยละ 24.7
อันดับ 5 “ผลผลิตในประเทศ” ที่ร้อยละ 24.1
อันดับที่ 6 “ความคุ้มราคา” ปรับขึ้นจากอันดับที่ 11 ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์อาหารโดยทั่วไปปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ และยังสะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้ประกอบการจำหน่ายข้าวและอาหารรับประทานนอกบ้าน โดยอยู่ที่ร้อยละ 17.1
อันดับ 7 “การผลิตและบริโภคในพื้นที่” ที่ร้อยละ 17.1
อันดับ 8 “ความง่ายและประหยัดเวลา” ที่ร้อยละ 16.5
อันดับ 9 “GAP” ซึ่งถือเป็นคีย์เวิร์ดที่ได้รับการเลือกเข้ามาใหม่ในปีนี้เป็นครั้งแรก อันสะท้อนให้เห็นถึงการผลักดันการส่งออกและการเตรียมวัตถุดิบสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในปี 2563 โดยอยู่ที่ร้อยละ 15.9
อันดับ 10 “การซื้อขายตามสัญญาการผลิต” ที่ร้อยละ 13.5
อันดับ 11 “ความนิยมในสินค้าพรี่เมียม” ที่ร้อยละ 12.4
อันดับ 12 “การส่งออก” ที่ร้อยละ 11.8
อันดับ 13 “สินค้ำรับประทานคนเดียว” ที่ร้อยละ 7.1
อันดับ 14 “(ฉลากแสดง) ประโยชน์ของอาหาร” ซึ่งเดิมนั้นได้รับเลือกเป็นอันดับที่ 6 ในปี 2560 ที่ผ่านมา แต่มาปีนี้ปรับลดอันดับเป็นอันดับที่ 14 โดยอยู่ที่ร้อยละ 6.5
อันดับ 15 “ฉลากแสดงวัตถุดิบและแหล่งผลิต” ที่ร้อยละ 6.5
อันดับที่ 16 “การซื้อขายโดยตรง” ที่ร้อยละ 6.5
อันดับที่ 17 “การค้าเสรี” ที่ร้อยละ 4.1
อันดับที่ 18 “นักท่องเที่ยว Inbound” ที่ร้อยละ 3.5
อันดับที่ 19 “การนำเข้า” ที่ร้อยละ 2.9
อันดับที่ 20 “สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)” ที่ร้อยละ 1.2

นอกจากนี้ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว ยังรายงานถึงส่วนของคำถามเกี่ยวกับการพิจารณาแนวโน้ม (trend) รายสาขาในปี 2561 พบว่า
สาขาผัก ผู้ประกอบการในญี่ปุ่นให้ความสนใจมะเขือเทศพันธุ์ Amela ที่มีความหวานสูง และมันฝรั่งพันธุ์ “Inka no Mezame” สาขาผลไม้ ได้แก่ ส้มพันธุ์ “Yurawase” ที่มีความโดดเด่นด้านความหวาน สาขาข้าว ได้แก่ ข้าวพันธุ์ “Akidawara” และ “Moeminori” ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง สาขาปศุสัตว์ ผู้ประกอบการเร่งสร้างความแตกต่างด้วยการนำสินค้าแบรนด์มาจำหน่าย สาขานมและผลิตภัณฑ์จากนม เน้นประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยสินค้ำที่มีการโฆษณาเกี่ยวกับ “ประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร” และ “น้ำตาลต่ำ” จะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated