ดร.นิสากร แซ่วัน แห่งสำนักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
ดร.นิสากร แซ่วัน แห่งสำนักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

วช.จัดโครงการสื่อมวลชนสัญจรดูงานวิจัยมุ่งเป้า ณ จังหวัดเชียงราย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะเลขานุการสภานโยบายวิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ มีภารกิจในการเสนอแนะนโยบายยุทธศาสตร์มาตรการและแนวทางการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ติดตามและประเมินผลการวิจัยของประเทศ รวมทั้งกำหนดส่งเสริมและกำกับมาตรฐานการวิจัย ตลอดจนพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยเพื่อให้เกิดผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ในปีงบประมาณ ๒๕๕๖

ดร.นิสากร แซ่วัน แห่งสำนักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
ดร.นิสากร แซ่วัน แห่งสำนักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

วช.ได้จัดสรรงบประมาณแผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศโดยเร่งด่วน กลุ่มเรื่องข้าวให้กับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) บริหารจัดการงบประมาณและสนับสนุนทุนวิจัยให้กับโครงการวิจัยทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากการเพาะเลี้ยงจมูกข้าว แก่ ดร.นิสากร แซ่วัน แห่งสำนักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ทำการศึกษาวิจัยการสกัดสารออกฤทธิ์ทางเครื่องสำอางสำหรับชะลอความชรา โดยสารสกัดที่ได้สามารถกระตุ้นการฟื้นฟูความเสียหายของดีเอ็นเอในเซลล์ผิวและกระตุ้นการสร้างคลอลาเจน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง และสารสกัดที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนัง เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่เหมาะกับผู้บริโภค ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนัง
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนัง

นอกจากนี้ วช.ยังได้สนับสนุนโครงการวิจัยเรื่อง การขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรยั่งยืน เพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพด ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย แก่ ผศ.ดร.สุทธิพร ธเนศสกุลวัฒนา ทำการศึกษาวิจัยโดยอาศัยต้นแบบจากประเทศอังกฤษ สร้าง Model School-University Partnership มาประยุกต์ใช้กับโรงเรียนสามัคคีพัฒนา ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ในการขับเคลื่อนการปลูกเก็กฮวยอินทรีย์ลงสู่ชุมชน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับโรงเรียน ทำให้ผู้นำชุมชนมามีส่วนร่วมและชักนำเกษตรกรลูกบ้านหันมาปลูกเก็กฮวยอินทรีย์ทดแทนการปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้น เป็นการสร้างรั้วกันภัยที่มีชีวิต ลดปัญหายาเสพติดและลดปัญหาการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่บุกรุกพื้นที่ป่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ และก่อให้เกิดปัญหามลพิษ เช่น หมอกควัน

การสกัดสเต็มเซลล์จากจมูกข้าว
การสกัดสเต็มเซลล์จากจมูกข้าว

โครงการวิจัยดังกล่าว ได้เสร็จสิ้นลงแล้วและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ วช.จึงได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น โครงการสื่อมวลชนสัญจร เรื่อง “การสกัดสเต็มเซลล์จากจมูกข้าว” และ “การขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรยั่งยืน เพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพด” ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๓ มกราคม ๒๕๖๑ ณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อให้สื่อมวลชนได้ทราบถึงผลสำเร็จของงานวิจัยดังกล่าว และได้พบปะกับนักวิจัย โดยเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยและกิจกรรมของ วช. ไปสู่สาธารณชนและผู้ใช้ประโยชน์ต่อไป

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated