จากปัญหาดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ จึงเกิดปัญหาทำให้ผลผลิตไม่ได้ตามที่ต้องการ วันนี้ “เกษตรก้าวไกล” และผู้สื่อข่าวขาลุย จะพาผู้อ่านทุกท่านปีนเขาลงห้วย ไปแอ่วเหนือ ที่เชียงใหม่ด้วยกัน และทำความรู้จักกับ คุณอรทัย  พรมเดช หรือ น้องฝน เกษตรกรอายุน้อย ที่เป็นนักเรียน กศน. ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแม่วาง อยู่บ้านเลขที่ 67 ม.6 บ้านแม่มุต ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ จากปัญหาที่เธอได้พบจึงทำให้ได้เข้ามาศึกษา หลักสูตรวิชา การปลูกข้าวโพดหวาน ซึ่งเธอก็ปลูกข้าวโพดอยู่แล้วจึงได้นำความรู้จากตรงนี้ไปต่อยอด

คุณอรทัย  พรมเดช หรือ น้องฝน เกษตรกรอายุน้อย ที่เป็นนักเรียน กศน.
คุณอรทัย พรมเดช หรือ น้องฝน เกษตรกรอายุน้อย ที่เป็นนักเรียน กศน.

น้องฝน เล่าว่า “ตนเรียนอยู่ชั้น ม.ต้นเพิ่งจะลงเรียนเป็นเทอมแรก จำนวน 5 ครั้ง เรียนเฉพาะวันอาทิตย์ สาเหตุที่อยากเรียนหลักสูตรนี้ เพราะว่า ครอบครัวแฟนของน้องฝน ก็ปลูกข้าวโพดเช่นกัน ปัญหาที่เจอบางครั้งโดนเจาะกลางข้าวโพด แล้วก็ตรงตามเกณฑ์ซันสวีทเป็นแมลง จึงคิดอยากที่จะเรียน เนื่องจากที่บ้านก็มีไร่ พื้นที่ทั้งหมดมี 7 ไร่ ปลูกข้าว 4 ไร่ ข้าวโพด 3 ไร่ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ปลูก ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนหลักสูตรข้าวโพดหวาน ได้แก่ การเตรียมตัวก่อนที่จะปลูก ขั้นตอนการเตรียมแปลง คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ วิธีก่อนที่จะปลูก การใส่ปุ๋ยให้ตรงกับพืชที่ปลูก เรื่องยาฆ่าแมลง ทั้งหมดนี้เราจะเป็นเรียนรู้แล้วทำเองทั้งหมด ได้ปลูกเองทั้งหมดจริงๆ เวลาที่ปลูกจะเป็นหน้าฝนสะดวกสุดและเหมาะที่สุด เริ่มปลูกวันที่ 20 ก.ค. 2560 ซึ่งถือว่าเพิ่งจะเริ่มปลูกได้ 1 เดือน น้ำที่ใช้ทำการเกษตรจะเป็นน้ำฝน ถ้าปลูกปกติก็จะเป็น 2 รอบ ข้าวโพด 2 รอบ นา 2 รอบ ส่วนพื้นดินที่นี่บางพื้นที่ก็จะเป็นดินเหนียว ดินทรายบ้าง วิธีการที่จะปรับปรุงหน้าดินได้แก่ การโรยปุ๋ยรองพื้น คือ ปุ๋ย 15-15 การปลูกที่บริเวณจะไม่ได้ปลูกแบบต้นกล้า แต่จะปลูกแบบใช้ไม้ปลักลงดิน เคยลองปลูกแบบใส่หลุมละ 2 เมล็ด ปรากฏว่ามันไม่ติด มันตายเลย จึงไม่แน่นอน บางพื้นที่เป็นที่ลุ่ม ฝั่งข้างบนจะเป็นดินดอย

พื้นที่ปลูกอ้อย ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
พื้นที่ปลูกอ้อย ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่

หลักสูตรข้าวโพดหวานได้รับความร่วมมือของ บริษัทซันสวีท จำกัด(มหาชน) กับ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่วาง จ.เชียงใหม่ เพื่อพัฒนาบุคคลกรด้านเกษตรกรรม ให้มีความรู้ความสามารถในการเพาะปลูกด้วย ความทันสมัยของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตร เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และให้ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพสูงสุด และเป็นการการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้เทียบเท่ากับกับอาชีพอื่นๆ นำมาสู่การเพิ่มผลผลิต ตลอดจนรายได้ของเกษตรกร

คุณองอาจ กิตติคุณชัย ประธานบริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด
คุณองอาจ กิตติคุณชัย ประธานบริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด

คุณองอาจ กิตติคุณชัย ประธานบริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง ข้าวโพดหวานแช่แข็ง ข้าวโพดหวานบรรจุถุงสุญญากาศ พร้อมรับประทาน ภายใต้ตราสินค้า KC (King Of Corn) เปิดเผยว่า บริษัท ซันสวีท ร่วมกับศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่วาง ผลักดันหลักสูตรวิชาข้าวโพดหวาน พัฒนาเกษตรกรและบุคลากรเป็นมีทักษะ และความเชี่ยวชาญในด้านการใช้เทคโนโลยีปลูกข้าวโพดหวานแห่งแรกของประเทศไทย การพัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตรวิชาข้าวโพดหวาน เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความเข้าใจในการปลูกข้าวโพดหวานที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย

ข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง
ข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง

ซันสวีท จึงมีการวิจัยและพัฒนาพันธ์ข้าวโพดหวาน เพื่อให้เกษตรกรนำไปเพาะปลูก พร้อมทั้งได้ริเริ่มโครงการ SMART FARM ในปี 2555 เพื่อเป็นฟาร์มต้นแบบให้เกษตรกรได้นำองค์ความรู้ที่ได้จาก SMART FARM เข้ามาช่วยควบคุมการเพาะปลูกให้มีความแม่นยำ และมีคุณภาพ จนสามารถเพิ่มจำนวนผลผลิตให้มากขึ้นในแต่ละปี เช่นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย การจัดการระบบน้ำ การให้ปุ๋ย การวัดอุณหภูมิ ความชื้น ความร้อน แสงแดด จนถึงการเก็บเกี่ยว การขนส่ง ซึ่งเมื่อเกษตรกรมีความเข้าใจระบบบริหารจัดการเป็นอย่างดีแล้ว และนำองค์ความรู้ไปเป็นต้นแบบในการเพาะปลูก

การให้น้ำแบบระบบรางที่ทำให้สามารถควบคุมการให้น้ำ และสารอาหารได้อย่างทั่วถึง
การให้น้ำแบบระบบรางที่ทำให้สามารถควบคุมการให้น้ำ และสารอาหารได้อย่างทั่วถึง

ซึ่ง SMART FARM  จะช่วยเหลือเกษตรกรในการนำเทคโนโลยีมาใช้ควบคู่กับภาคการเกษตรอย่างเป็นระบบ เพื่อความยั่งยืน  ซึ่งทางบริษัทให้ความสำคัญเรื่องความรู้เป็นสำคัญ เพราะความรู้ต่างๆเหล่านี้จะสามารถช่วยลดต้นทุน ที่อาจจะเกิดจากความเสียหายด้านผลผลิตไม่มากก็น้อย รวมถึงช่วยเพิ่มเรื่องคุณภาพที่ผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศยอมรับ เช่น การให้น้ำแบบระบบรางที่ทำให้สามารถควบคุมการให้น้ำ และสารอาหารได้อย่างทั่วถึง รวมถึงทำให้วัชพืชน้อยลง อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 5-10 ปี ซึ่งทางบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย ราคาไม่สูงเกินไป และเมื่อได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการแล้วบริษัทยินดีที่จะเผยแพร่ให้เกษตรกรที่สนใจได้รับรู้โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์

ซันสวีทให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชนและเกษตรกร
ซันสวีทให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชนและเกษตรกร

การบริหารจัดการภายในโรงงานของซันสวีท ถือเป็นการบูรณาการเพื่อความยั่งยืนที่สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้เป็นอย่างดีด้วยการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในเพื่อไม่ให้เสียเปล่า เช่น การนำพลังงานไอน้ำที่ได้จากเครื่องกำเนิดไอน้ำในกระบวนการต้มข้าวโพด นำมาเป็นพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้ในโรงงาน ตลอดจนซังข้าวโพด เปลือกข้าวโพด และส่วนอื่นๆมาทำเป็นพลังงานชีวมวล (Biomass) ไม่เว้นแม้แต่กระบวนการบำบัดน้ำเสียที่นำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งนำมาใช้ภายในโรงงานและยังสามารถจำหน่ายไปยังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้อีกด้วย โดยเทคโนโลยีด้านพลังงานบางส่วนบริษัทได้รับคำแนะนำและร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ในการพัฒนาเทคโนโลยี และเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะชนร่วมกัน

การนำเทคโนโลยีที่นำมาใช้ควบคู่กับภาคการเกษตรอย่างเป็นระบบ
การนำเทคโนโลยีที่นำมาใช้ควบคู่กับภาคการเกษตรอย่างเป็นระบบ

สำหรับเกษตรกร หรือ บุคคลทั่วไปสนใจอยากที่จะเรียน หลักสูตรข้าวโพดหวาน เพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ และปรับใช้กับไร่สวนของตนเอง สอบถามได้ที่ อาจารย์ออมสิน บุญวงษ์ ผอ.กศน. อ.แม่วาง โทร 081 950 4113

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated