เลี้ยงไก่ดำ…สร้างอาชีพเสริมรายได้ ที่โคราช

นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการที่กระทรวงเกษตรฯได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรบูรณาการร่วมกับกระทรวงกลาโหมแลกระทรวงมหาดไทย  ดำเนินโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งตามนโยบายรัฐบาล ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-กันยายน 2558 เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและชุมชนเกษตรในช่วงฤดูแล้ง โดยให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) ทำหน้าที่ขับเคลื่อนโครงการฯ ผลปรากฏว่า โครงการฯดังกล่าวประสบผลสำเร็จตามเป้าที่ตั้งไว้โดยมีชุมชนเกษตรร่วมดำเนินโครงการ 6,596 โครงการ ในพื้นที่ 3,043 ตำบล ใช้งบประมาณรวม 2,992.75 ล้านบาท ทำให้เกิดการจ้างแรงงาน จำนวน 871,849 ราย คิดเป็นแรงงาน 5.26 ล้านแรง

ไก่ดำถือว่าเป็นไก่ที่ตลาดมีความต้องการอย่างมาก เพราะเป็นอาหารสุขภาพ บำรุงร่างกาย เลี้ยงง่ายและโตไวนายวีระศักดิ์  อาชุมชัย ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ดำ บ้านหนองสมอ ตำบลเมืองคง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เล่าว่าสาเหตุที่เลี้ยงไก่ดำ เพราะต้องการมีอาชีพเสริมในชุมชนหลังการทำนาทำไร่ ดังนั้น จึงมีแนวคิดศึกษาอบรบดูงานการเลี้ยงไก่ดำกับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรกรประจำตำบล (ศบกต.) จึงเป็นที่มาของการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเลี้ยงไก่ดำเป็นอาชีพเสริม

เลี้ยงไก่ดำ01

สำหรับพันธุ์ไก่ดำพันธุ์ที่เลี้ยง “พันธุ์มองโกเลีย” ที่ผ่านมาชาวบ้านจะเลี้ยงไก่พื้นบ้าน ซึ่งถือว่าทุกคนมีพื้นฐานในการเลี้ยงจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะเลี้ยงไก่ดำควบคู่กันไป แรกเริ่มมีการรวมกลุ่มเพียง 5 คน ในการเลี้ยงไก่ดำ พอกลุ่มประสบผลสำเร็จเกษตรกรรายอื่นๆได้ให้ความสนใจที่จะเข้ารวมกลุ่มเพิ่มขึ้นเป็น กว่า 100 ราย เนื่องจากเห็นว่าการเลี้ยงไก่ไม่ยาก

ดังนั้นเมื่อฟักเป็นตัวลูกเจี๊ยบส่งเข้าโรงขุนที่ฟาร์มเครือข่ายในจังหวัดร้อยเอ็ด และโรงเชือดต่อไป เกษตรกรที่เป็นสมาชิกมีแม่พันธุ์ไม่เท่ากันบางรายมีเพียง 10-20 ตัว สมาชิกจะนำไข่มาฟักทุกวันเปิดบริการฟักทั้งไข่เป็ด  ไก่พื้นบ้าน ฟองละ 4 บาท สำหรับสมาชิกแต่ชาวบ้านทั่วไป 5 บาทต่อฟอง ไข่ห่าน 6 บาทได้ไข่เพิ่มขึ้นจากปกติไก่ดำให้ไข่ 30เปอร์เซ็นต์เพิ่มเป็น 70เปอร์เซ็นต์มีตู้ฟักหรือตู้อบ 4 ตู้ เปอร์เซ็นการรอด 70 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเชื้อไม่สมบูรณ์ ส่วนที่ตายจะนำไปเป็นปุ๋ยอินทรีย์

นอกจากนี้ความต้องการเลี้ยงไก่ดำของเกษตรกรและชาวบ้านหมู่  14 บ้านหนองสมอ ต.เมืองคง อ.คง จ.นครราชสีมา ไม่เพียงแค่ต้องการหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้เท่านั้น หากแต่เพราะภาพปัญหาภัยแล้งเป็นองค์ประกอบสำคัญ รวมทั้งความต้องการมีอาหารไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน ประกอบกับมีกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ดำบ้านหนองสมอ ต้องการขยายการเพาะเลี้ยงไก่ดำจึงได้เสนอแนวคิดเพื่อนำเสนอ ไปยังศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเมืองคง (ศบกต.) เพื่อดำเนินโครงการศูนย์ฟักไข่ชุมชนต่อคณะกรรมการโครงสร้างรายได้และพัฒนาการ เกษตรแก่ชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 558 ถึง 25 มิถุนายน 2558รวม 60 วัน

สำหรับการดำเนินงานได้มีการก่อสร้างโรงฟักไข่และโรงเรือนอนุบาลลูกไก่ด้วยการจัดซื้อวัสดุก่อสร้าง  และการจ้างแรงงานในชุมชน  การจัดซื้ออุปกรณ์ในการฟักไข่และอนุบาลลูกไก่ ซึ่งการฟักไข่จะจ้างแรงงานในชุมชนดูแลฟักไข่ในช่วงอุณหภูมิภายนอกสูงเกิน 38 องศาเซลเซียสและคอยดูแลความชื้นให้เป็นไปตามกำหนด โดยการเพิ่มและลดถาดน้ำในตู้ฟักรับไข่ ทำความสะอาดไข่และจดบันทึกก่อนนำไข่เข้าตู้ฟัก ส่องไข่ ตรวจสอบการเจริญเติบโตของตัวอ่อนเมื่อฟักได้ 7 และ 14 วัน คัดไข่เสียออกจากตู้ฟัก ทำความสะอาดตู้ฟักและเมื่อฟักไข่ได้ 18 วัน นำไข่เข้าตู้เกิด

ส่วนการเลี้ยงอนุบาลลูกไก่ได้จ้างคนในชุมชน เมื่อลูกไก่ออกจากโรงฟักจะนำมาเลี้ยงอนุบาลต่อที่โรงอนุบาล 20 วัน ซึ่งจะเข้าโรงอนุบาล และทำวัคซีนทุกวันจันทร์ โดยวันจันทร์ที่ 1จะทำวัคซีนนิวคาสเซิล + หลอดลมอักเสบ วันจันทร์ที่ 2 ทำวัคซีนฝีดาษและกระตุนภูมิวัคซีนนิวคาสเซิล+หลอดลมอักเสบ เมื่อลูกไก่อายุ 20 วัน ในโรงอนุบาลจะล้างทำความสะอาดสถานที่ให้น้ำและอาหารทุกวัน ดูแลลูกไก่และคอยปิดกกเมื่ออุณหภูมิห้องสูงกว่า 34 องศาเซลเซียสเพื่อประหยัดไฟ

อย่างไรก็ตามประโยชน์ที่ชุมชนได้รับสามารถให้บริการฟักไข่แก่สมาชิกและเกษตรกรทั่วไปได้สัปดาห์ละ 280 ฟองเดือนละไม่ต่ำกว่า 1,150 ฟอง สมาชิกผลิตลูกไก่ดำได้เดือนละ 120-150ตัว ซึ่งมีมูลค่ากว่าสัปดาห์ละ 10,000 บาท เกษตรกรสามารถนำไข่ไปฟักและศึกษาเรียนรู้กระบวนการฟักไข่และสามารถผลิตลูกไก่เลี้ยงเพื่อเสริมรายได้ตลอดทั้งปี เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้แก่ผู้สนใจอาชีพเสริมด้านการเลี้ยงไก่ ซึ่งผลลัพธ์ของโครงการและการต่อยอดจากโครงการนี้ จะทำให้เกิดมิติการสร้างงาน ร่วมคิด ร่วมทำ มีความสามัคคีปรองดองและเกิดการพัฒนาการเกษตรบนพื้นฐานความต้องการของชุมชน การต่อยอดโครงการเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนแบบบูรณาการทุกภาคส่วน ด้านการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาเกษตรกรเพื่อลดผลกระทบ จากปัญหาภัยแล้ง ตลอดจนด้านการตลาดสัตว์ปีกเกษตรกรจะส่งไก่เข้าโรงงานทุกสัปดาห์ ๆ ละ 300 ตัว มีรายได้ตลอดและมั่นคงเมื่อรวมกลุ่มกันได้จะมีอำนาจต่อรอง ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ยังมีปัญหาตู้อบไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดุและให้การคำแนะนำ

สำหรับราคาขายส่งให้กับโรงงานขุนนั้นหากอายุลูกไก่อยู่ที่ 7 วันตัวละ 30 บาท ขายพันธุ์อายุ 7 วัน 60  บาท  อายุ 14 วัน ตัวละ 80 บาท อายุ 21 วันตัวละ 100 บาท ส่วนการขุนเพื่อจำหน่าย เริ่มขุนตั้งแต่อายุ 7-14 วัน จนกระทั่งไก่ 2.5-3เดือน น้ำหนัก 1.2 -1.2 กก. ต้นทุนอาหารตัวละ 50 บาท  การอนุบาลลูกไก่ 1-3 สัปดาห์จะทำวัตซีนตามโปรแกรม ต้นทุนอนุบาลตัวละ 5 บาท ต่อสัปดาห์

โครงการศูนย์ฟักไข่ชุมชนดังกล่าวเป็นหนึ่งในโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง  เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชนเกษตรในช่วงฤดูแล้ง และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของชุมชนบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนจากภัยแล้งในระยะยาว ในพื้นที่  3,051 ตำบล ใน 58 จังหวัด และสนับสนุนงบประมาณตำบลละ 1 ล้านบาท ผ่านศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) สู่ชุมชนเกษตร ให้คิดและเสนอโครงการของชุมชนเพื่อขอรับเงินอุดหนุนไปดำเนินการตามความต้องการของชุมชน ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ถึง มิถุนายน 2558 ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) ในการแก้ไขและบรรเทาปัญหาภัยแล้งภายใต้สโลแกน ” ศบกต.ละล้าน คิดเป็น ทำได้ ชุมชนร่วมใจ แก้ปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน”

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated