ทำอย่างไรให้เกษตรกรของเราสามารถจับปลาได้เอง โดยไม่หวังการได้รับแจกปลาจนเลยเถิด...

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามประกาศใช้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุงใหม่) ทั้งหมด 13 ด้าน 1.ด้านการเมือง 2.ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 3.ด้านกฎหมาย 4.ด้านกระบวนการยุติธรรม 5.ด้านเศรษฐกิจ 6.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7.ด้านสาธารณสุข 8.ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ 9.ด้านสังคม 10.ด้านพลังงาน 11.ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ 12.ด้านการศึกษา 13.ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากร

“เกษตรก้าวไกล” ขอนำเสนอเฉพาะแผนปฏิรูปด้านการเกษตร ซึ่งมีบรรจุอยู่ในแผนปฏิรูปด้านที่ 5 (ด้านเศรษฐกิจ) ดังรายละเอียดล่างนี้ (เมื่อพิจารณาดูแล้ว สิ่งที่สรุปในมุมของเกษตรก้าวไกลคือจะปฏิรูปหรือพัฒนาประเทศอย่างไรให้เกษตรกรของเราสามารถจับปลาได้เอง โดยไม่หวังการได้รับแจกปลาจนเลยเถิด จริงอยู่การแจกปลาอาจได้ผลในระยะสั้น แต่ระยะยาวยังแต่จะทำให้อ่อนเปลี้ยเพลียแรง-ดังภาพที่เรานำมาประกอบ ถ้าเกษตรกรสามารถจับปลาได้เองก็จะยิ้มอย่างมีความสุขกว่ากันมาก)

ส่วนที่ ๒ กิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ

๒.๑ กิจกรรมปฏิรูปที่ ๑ การสร้างเกษตรมูลค่าสูง (High Value Added)

ภาคเกษตรเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญของไทย โดยมีประชากรจำนวนมากถึง ๒๗ ล้านคน อยู่ในภาคเกษตร อีกทั้งไทยยังมีความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารอันดับที่ ๑๑ ของโลก

อย่างไรก็ตาม ภาคเกษตรขาดการพัฒนาที่เหมาะสมมาเป็นเวลานาน เกษตรกรส่วนใหญ่ยังทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่มีผลิตภาพ และประสิทธิภาพ (Productivity and Efficiency) อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งสะท้อนจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี ๒๕๖๒

ที่พบว่า การจ้างงานในภาคเกษตร ๑๑ ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ ๓๐ ของการจ้างงานทั้งหมด แต่กลับมีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) เพียงร้อยละ ๘ เท่านั้น เกษตรกรจึงมีรายได้น้อยและมีปัญหาหนี้สิน ทำให้ขาดความมั่นคงในชีวิต และเป็นภาระที่รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณในการอุดหนุนอย่างต่อเนื่องทุกปีแผนการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน (ฉบับปรังปรุงใหม่) ด้านการเกษตรมีอะไรใหม่บ้าง?

ทั้งนี้ สอดคล้องกับข้อมูลของธนาคารโลก ที่ได้จัดทำข้อมูลเปรียบเทียบผลิตภาพการผลิต (Productivity) โดยวัดจากมูลค่าเพิ่มต่อแรงงาน ในช่วงปี ๒๕๕๓-๒๕๕๘ ที่ชี้ว่าการเติบโตของมูลค่าเพิ่มต่อแรงงานของไทยคิดเป็นเพียงร้อยละ ๑.๙ ต่อปี ซึ่งค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยเฉพาะผลิตภาพภาคเกษตรที่วัดจากอัตราการผลิตต่อพื้นที่ของไทยที่มีค่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น การที่ไร่นามีขนาดเล็ก ขาดเทคนิคในการทำไร่นาและเครื่องมือที่ทันสมัย ทั้งนี้ มีเพียงร้อยละ ๓๐ ของพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในเขตชลประทาน นอกจากนี้ ยังขาดความสมดุลของการผลิต ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการอุดหนุนของภาครัฐ เกษตรกรขาดการศึกษาและการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะที่จำเป็น และพื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ถูกใช้ในการปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจต่ำแผนการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน (ฉบับปรังปรุงใหม่) ด้านการเกษตรมีอะไรใหม่บ้าง?

โดยพื้นที่การเกษตรของไทย ๑๔๙ ล้านไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวถึง ๖๘.๗ ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ ๔๖ ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด รองลงมาคือพื้นที่ปลูก ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน และพืชอื่น ๆ ทั้งนี้ แนวทางหนึ่งที่สำคัญและเร่งด่วนในการเพิ่มผลิตภาพและมูลค่าต่อหน่วยพื้นที่ทางการเกษตร คือ การปรับเปลี่ยนไปสู่การปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง อาทิ หน่อไม้ฝรั่ง ขิง ถั่ว พริกไทย กล้วย ฯลฯ

แผนการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน (ฉบับปรังปรุงใหม่) ด้านการเกษตรมีอะไรใหม่บ้าง?ที่สำคัญจะต้องปฏิรูปเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร ด้วยการปรับโครงสร้างจากเกษตรแบบดั้งเดิมพัฒนาไปสู่เกษตรสมัยใหม่ที่มีมูลค่าสูง (High Value Added) โดยนำองค์ความรู้การวิจัยพัฒนา นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการทำเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) และเกษตรแบบแม่นยำ (Precision Farming) เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร และต่อยอดการพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับห่วงโซ่คุณค่าภาคเกษตร เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล มั่นคง และเติบโตได้อย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจ BCG ที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก ตลอดจนยังจะเป็นการกระจายรายได้สู่เกษตรกรอย่างทั่วถึง อันจะเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อีกทางหนึ่งด้วยแผนการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน (ฉบับปรังปรุงใหม่) ด้านการเกษตรมีอะไรใหม่บ้าง?

ดังนั้น การพัฒนาภาคเกษตรไปสู่เป้าหมายเกษตรมูลค่าสูง (High Value Added) จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทั้งกระบวนการตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทางโดยใช้การตลาดนำการผลิต โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้องขับเคลื่อนในการปฏิรูปด้านการสร้างเกษตรมูลค่าสูง ดังนี้

๑) ปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการทำเกษตรมูลค่าต่ำและไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ไปสู่การปลูกพืช เลี้ยงปศุสัตว์ และประมงที่มีมูลค่าสูง สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและเหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งขยายผลพื้นที่การทำเกษตรมูลค่าสูงที่ประสบความสำเร็จให้มีการขยายเติบโตออกไปมากขึ้น

๒) สนับสนุนการทำการเกษตรแบบรวมผลิตและรวมจำหน่าย (เกษตรแปลงใหญ่ หรือสหกรณ์) ตามความเหมาะสมกับศักยภาพของเกษตรกร กล่าวคือ พัฒนาเกษตรกรรายเล็กให้สามารถพึ่งตนเองได้ พัฒนาเกษตรกรรายกลางให้เข้มแข็ง ก้าวไปเป็นผู้ประกอบการเกษตร และพัฒนาเกษตรกรรายใหญ่ ให้มีประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา ดังนี้

  • การตลาดนำการผลิต โดยการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพสูงจะเป็นไปตามความต้องการของตลาดหรือนำด้วยการตลาด รวมถึงการสร้างอุปสงค์ใหม่ๆ
  • การทำเกษตรสมัยใหม่ ทั้งเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) และเกษตรแม่นยำ (Precision Farming)
  • การทำเกษตรยึดหลัก ๓ ข้อ คือ คุณภาพสูง ประสิทธิภาพสูง และต้นทุนต่ำ
  • การทำเกษตรที่มีมาตรฐานความปลอดภัย (Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS)
  • การพัฒนาความรู้ (ล้ำสมัย) อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
  • การปลูกพืช ปศุสัตว์ และประมงเสริมรายได้

๓) ขยายพื้นที่ชลประทานให้เกษตรกรมีน้ำใช้สำหรับการผลิตสินค้าเกษตร อย่างเหมาะสมเพียงพอ ทั่วถึง และเป็นธรรม รวมทั้งพัฒนาเกษตรกร ให้ใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

๔) พัฒนาคลัสเตอร์พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และส่งเสริมให้มีความหลากหลายทางชีวภาพการเกษตร (Agricultural Biodiversity) โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้เกษตรกรมีพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์คุณภาพดี มีความหลากหลาย และเพียงพอกับความต้องการใช้ในการทำการเกษตรมูลค่าสูง

๕) พัฒนาสหกรณ์การเกษตรให้มีความเข้มแข็งและส่งเสริมให้เกิดผู้ให้บริการด้านการจัดการเกษตรสมัยใหม่ (Service Provider) อย่างครบวงจร เพื่อให้มีบทบาทในการช่วยเหลือเกษตรกรในการทำการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ

๖) สร้างผู้ประกอบการเกษตร (Smart Farmer) โดยพัฒนาเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรที่มีองค์ความรู้ มีการใช้เทคโนโลยีและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย รวมถึงดำเนินธุรกิจอย่างทันยุคสมัยสามารถเชื่อมโยงการผลิตกับตลาด และสร้างตราสินค้าที่เชื่อถือได้ให้กับสินค้าเกษตร

๗) ส่งเสริมเกษตรกรให้สามารถเข้าถึงข้อมูล Big Data ด้านการเกษตร และใช้ประโยชน์จากดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ (Knowledge) และข้อมูล (Data) สำหรับประกอบการตัดสินใจทำการเกษตร และเชื่อมโยงตลาดให้กับผู้ผลิตทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงการนำ Digital Content มาใช้ในการสื่อสาร สร้างการรับรู้ และปรับเปลี่ยนทัศนคติในการพัฒนาสู่เกษตรสมัยใหม่

๘) เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมอาหาร และเศรษฐกิจชีวภาพตามแนวทาง BCG โดยใช้วัตถุดิบต้นทางจากทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนับสนุน Value chain ภายในประเทศ รวมถึงนำนวัตกรรมมาช่วยเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารมูลค่าสูง ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลก อาทิ เกษตรพลังงานเพื่อสร้างทางเลือก อาหารเพื่อสุขภาพ ส่วนประกอบของอาหาร (Food Ingredients) อาหารที่มีประโยชน์เฉพาะ (Functional Food) อาหารเสริมและอาหารที่มีผลในเชิงการรักษา เป็นต้น

๒.๑.๑ เป้าหมายและตัวชี้วัดของกิจกรรมปฏิรูป

๑) เป้าหมาย

ยกระดับรายได้ภาคการเกษตร อาหารแปรรูป และผลิตภัณฑ์ชีวภาพ

๒) ตัวชี้วัด

๒.๑) อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาเกษตรขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ ๓.๘

๒.๒) มูลค่าของสินค้าเกษตรแปรรูป เกษตรชีวภาพ และเกษตรที่ได้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๒๐ ของ GDP ภาคเกษตร ภายใน ๕ ปี

๒.๓) รายได้เงินสดสุทธิทางการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ต่อปี

๒.๑.๒ หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

๒.๑.๓ ระยะเวลาดำเนินการรวม ๒ ปี (๒๕๖๔-๒๕๖๕)

๒.๑.๔ ประมาณการวงเงินรวม และแหล่งที่มาของเงินงบดำเนินงาน (ร้อยละ ๑๐ ของงบประมาณที่รัฐใช้ในการอุดหนุนภาคเกษตร)

๒.๑.๕ ขั้นตอนและวิธีการการดำเนินการปฏิรูป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักในการท างานร่วมกับ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการด าเนินการ ดังนี้

๑) ขั้นตอนที่ ๑ หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนประเด็นปฏิรูปด้านการเกษตรที่ได้ตั้งไว้ ระยะเวลาดำเนินการ ไตรมาสที่ ๑ ของปีงบประมาณ ๒๕๖๔

๒) ขั้นตอนที่ ๒ ผลักดันให้เกิดงบประมาณแผนงานบูรณาการด้านปฏิรูปการเกษตร โดยประมาณการวงเงินร้อยละ ๑๐ ของวงเงินงบประมาณที่รัฐใช้ในการอุดหนุนภาคเกษตร ระยะเวลาดำเนินการ ๑ ปี(๒๕๖๔)

๓) ขั้นตอนที่ ๓ ให้มีคณะกรรมการ/อนุกรรมการ หรือคณะทำงานร่วมระหว่าง คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปด้านการเกษตรมูลค่าสูง ระยะเวลาดำเนินการ ไตรมาสที่ ๑-๒ ของปีงบประมาณ ๒๕๖๔

๔) ขั้นตอนที่ ๔ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจประชุมร่วมกับหน่วยงาน ผู้รับผิดชอบเพื่อผลักดันการขับเคลื่อนและติดตามความก้าวหน้า ระยะเวลาดำเนินการ ทุก ๓ เดือน

(สำหรับแผนปฏิรูปประเทศด้านอื่นๆ ขอให้คลิกดูเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/044/T_0001.PDF)

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated