ธ.ก.ส.นนทบุรี ลงพื้นที่พบเกษตรกรกล้วยไม้ เผยตลาดส่งออกเริ่มดีขึ้นตามลำดับ
นายอนุสรณ์ กาญจนภักดิ์ ผช.ผอ.ธ.ก.ส. สำนักงานนนทบุรี บอกว่าจะเคียงข้างเกษตรกร

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 นายอนุสรณ์ กาญจนภักดิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดนนทบุรี และ นายภาสกรณ์ สมัครพงศ์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาบางใหญ่ ได้นำคณะลงพื้นที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เพื่อพบปะเกษตรกรลูกค้าในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย โดยได้ไปที่แปลงปลูกกล้วยไม้ของ นายนัฐวุฒิ เนตรประไพ เลขที่ 4/7 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

"ผมเคยเจอน้ำท่วมสูงท่วมหัวในปี 2554 และปี 2563 เจอโควิด-19 ถือว่าหนักสุดๆ แต่ก็จะต้องสู้ไปให้ได้ครับ"
“ผมเคยเจอน้ำท่วมสูงท่วมหัวในปี 2554 และปี 2563 เจอโควิด-19 ถือว่าหนักสุดๆ แต่ก็จะต้องสู้ไปให้ได้ครับ”

นายนัฐวุฒิ เนตรประไพ เกษตรหนุ่มผู้สร้างอนาคตกับกล้วยไม้ เปิดเผยว่าตนมีพื้นที่ปลูกกล้วยไม้ทั้งหมด 40 ไร่ โดยสร้างเนื้อสร้างตัวจากการเริ่มต้นปลูกแค่ 4 ไร่ ต่อมาได้ขยับขยายจำนวนพื้นที่มากขึ้นทั้งที่ดินที่เป็นของครอบครัวและที่เช่า เน้นปลูกกล้วยไม้สกุลหวายตัดดอกเพื่อส่งออกตลาดต่างประเทศ ภายใต้แบรนด์ เอ็น.พี.พี. ออคิด ตลาดหลักจะอยู่ที่ประเทศจีน แต่เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทำให้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ไม่สามารถส่งออกกล้วยไม้ได้ และตลาดในประเทศก็มีกำลังรองรับไม่เพียงพอ จากช่วงที่ราคาดีช่อละ 4 บาท เวลานี้เหลือช่อละ 80 สตางค์

ปลูกกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวาย...สีม่วงแบบนี้เป็นหัวใจของสวน
ปลูกกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวาย…สีม่วงแบบนี้เป็นหัวใจของสวน

“เคยเจอน้ำท่วมปี 54 หมดเนื้อหมดตัว ต้นกล้วยไม้ในสวนตายไม่เหลือแม้แต่ต้นเดียว แต่ก็ยังมีสวนเพื่อนๆที่น้ำไม่ท่วมยังเอามาทำพันธุ์ให้ไปต่อได้ เคยคิดว่าหนักที่สุดแล้ว แต่พอมาเจอโควิด-19 มันหนักกว่าครั้งใดๆ ต้องบอกว่าเจ็บใจมาก เพราะเราเห็นดอกไม้ออกดอกสวย แต่มันตัดขายไม่ได้ จะหันไปขายทางไหนก็ไม่ได้ เพราะเป็นกันทั้งโลก” นายนัฐวุฒิ บอกเล่าให้ฟังและเล่าต่อว่า ผลจากวิกฤตดังกล่าว ทำให้ต้องใช้บริการโครงการสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งก่อนหน้านี้ทางกลุ่มของตนที่รวมตัวกันเป็นแปลงใหญ่ได้ใช้บริการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย หรือโครงการสินเชื่อล้านละร้อย ทำให้สามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้เกิดสภาพคล่องขึ้น เน้นทำตลาดผ่านระบบออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้าภายในประเทศให้มากขึ้นจากเดิมส่งออก 80 % ขายในประเทศ 20% ซึ่งมาถึงตอนนี้ก็ค่อยๆปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ “เงินทุนส่วนใหญ่จะนำไปใช้หมุนเวียนเรื่องการจัดการในสวน ทั้งเรื่องต้นพันธุ์ การซื้อปุ๋ย ค่าแรงคนงาน ฯลฯ ก็ทำให้สภาพคล่องเราดีขึ้น เหมือนเป็นการต่อลมหายใจ เพราะว่ากล้วยไม้เป็นพืชที่จำเป็นจะต้องดูแลจัดการ โดยเฉพาะเรื่องปุ๋ยขาดไม่ได้ ไม่ใช่ว่าช่วงไหนเราขายไม่ได้แล้ว เราจะหยุดใส่ปุ๋ย รวมทั้งโรคแมลงต่างๆ เราต้องบำรุงดูแลอยู่ตลอดเวลาครับ”

นายภาสกรณ์ สมัครพงศ์ (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาบางใหญ่ บอกว่าจะดูแลเกษตรกรในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
นายภาสกรณ์ สมัครพงศ์ (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาบางใหญ่ บอกว่าจะดูแลเกษตรกรในพื้นที่อย่างใกล้ชิด

ทางด้าน นายภาสกรณ์ สมัครพงศ์ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาบางใหญ่ กล่าวว่าในช่วงภาวะวิกฤตโควิด-19 ทางทีมงาน ธ.ก.ส.ในพื้นที่จะต้องหมั่นลงมาพบปะเกษตรกรลูกค้า ถือว่าเป็นภารกิจที่จะต้องเข้าไปสนับสนุนช่วยเหลือในเรื่องของสินเชื่อฉุกเฉินโควิด-19 และมีการพักชำระหนี้ ในช่วงโควิดที่ผ่านมาหากมองด้านบวกถือว่าทำให้เราได้ใกล้ชิดกับเกษตรกรมากขึ้น

นายอนุสรณ์ กาญจนภักดิ์ (ซ้ายสุด) ผช.ผอ.ธ.ก.ส.นนทบุรี นำทีมมาเอง...พร้อมเคียงข้างเกษตรกรและดูแลอย่างเต็มที่
นายอนุสรณ์ กาญจนภักดิ์ (ซ้ายสุด) ผช.ผอ.ธ.ก.ส.นนทบุรี นำทีมมาเอง…

ส่วน นายอนุสรณ์ กาญจนภักดิ์ ผู้ช่วย ผอ.ธ.ก.ส. สำนักงานนนทบุรี กล่าวว่า รู้สึกยินดีมากที่เกษตรกรเจ้าของสวนกล้วยไม้รายนี้ ซึ่งเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ได้เข้ามาเป็นลูกค้าธ.ก.ส. เพราะวัตถุประสงค์หลักของธนาคารตั้งขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยเหลือเกษตรกรอยู่แล้ว โควิด-19 หรือภัยอะไรต่างๆ ก็แล้วแต่ที่กระทบต่ออาชีพทางการเกษตรธ.ก.ส.ก็พร้อมที่จะให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่

“ดีใจที่น้องต้อง(ชื่อเล่นเกษตรกร)มาเป็นลูกค้าใช้บริการสินเชื่อจากธ.ก.ส. ธนาคารเองมุ่งหวังที่จะให้คนรุ่นใหม่เข้ามาสืบทอดอาชีพทางการเกษตร ธ.ก.ส.ตั้งขึ้นมาก็เพื่อที่จะพัฒนาภาคเกษตรประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน เราพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างเกษตรกรและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ครับ”

ปลูกกล้วยไม้ด้วยหัวใจและมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จในอาชีพ
ปลูกกล้วยไม้ด้วยหัวใจและมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จในอาชีพ

ในตอนท้าย นายนัฐวุฒิ เนตรประไพ เกษตรกรหนุ่มเจ้าของสวนกล้วยไม้ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงโควิด-19 ถือเป็นบทเรียนครั้งสำคัญ ต้องหันมายึดหลักพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่จะต้องสร้างภูมิคุ้มกันในอาชีพและทำการปลูกกล้วยไม้หรือไม้ประดับให้หลากหลายขึ้น คือไม่ปลูกเฉพาะกล้วยไม้ตัดดอกอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น ปลูกเฟิร์น หรือไม้ประดับประเภทฟอกอากาศ หรือต้นเคราฤาษี ซึ่งช่วงที่ผ่านมาขายดีมาก ชนิดที่ว่าเป็นพระรองแต่มาช่วยพระเอกได้ และขณะเดียวกันทำให้ได้บทเรียนว่าจะต้องไม่หวังพึ่งตลาดต่างประเทศมากเกินไปแต่จะต้องทำตลาดในประเทศให้มากขึ้น และล่าสุดนี้ยอดการส่งออกกล้วยไม้ไปประเทศจีนเริ่มพลิกตัวกลับมาเพิ่มขึ้นตามลำดับเป็น 60% จากที่ไม่มียอดขายเลยในช่วงโควิดที่ผ่านมา…ท่านใจสนใจติดต่อซื้อหรือเยี่ยมชมสวน ติดต่อคุณณัฐวุฒิ โทร.090 9693697ธ.ก.ส.ลุยสวนกล้วยไม้นนทบุรีธ.ก.ส.ลุยสวนกล้วยไม้นนทบุรี

พนักงานกำลังเตรียมกล้วยไม้เพื่อการส่งออกไปประเทศจีน
พนักงานกำลังเตรียมกล้วยไม้เพื่อการส่งออกไปประเทศจีน

อนึ่ง “เกษตรก้าวไกล” จะนำเสนอเรื่องราวของเกษตรกรท่านนี้อีกครั้ง ผ่านเว็บไซต์เกษตรก้าวไกล เพจเกษตรก้าวไกล และช่องยูทูปเกษตรก้าวไกลไปด้วยกัน โปรดติดตามเร็วๆ นี้

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated