3 พอ พลิกชีวิต ก้าวตามศาสตร์พระราชา นำบัญชี สร้างวิถีสู่ความพอเพียง
3 พอ พลิกชีวิต ก้าวตามศาสตร์พระราชา นำบัญชี สร้างวิถีสู่ความพอเพียง

กลุ่มเกษตรกรและเกษตรกร ให้มีระบบบริหารจัดการด้านการเงิน การบัญชีที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งให้นำ “องค์ความรู้ด้านบัญชี” ไปใช้แก้ไขจุดอ่อนและเสริมจุดแข็งเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาภาคการเกษตรได้อย่างเหมาะสม สมดุล และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตามกรอบแนวคิด 3 พอ พลิกชีวิต : น้ำพอดี ดินพอเหมาะ คนพอเพียง โดยสามารถเชื่อมโยง “ข้อมูลทางบัญชี” ในมิติต่างๆ ไปสู่การบริหารจัดการดินและน้ำในระดับครัวเรือน เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ด้วยการยึดแนวคิด ประหยัด เรียบง่ายและประโยชน์สูงสุด

3 พอ พลิกชีวิต ก้าวตามศาสตร์พระราชา นำบัญชี สร้างวิถีสู่ความพอเพียง น้ำพอดี : มีเป้าหมายให้เกษตรกรรู้จักการดูทางน้ำและสร้างแหล่งน้ำเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ยามต้องการตลอดปี ด้วยการขุดหนองน้ำเพื่อสร้างแหล่งน้ำ ดูการไหลของเส้นทางน้ำเป็น มีการขุดหนองน้ำให้มีขอบคดเคี้ยวและทำลดหลั่นตามลำดับความสูง และกระจายบ่อน้ำในพื้นที่ รู้จักการคำนวณน้ำให้พอใช้เพียงพอต่อการประกอบอาชีพและใช้สอยในครัวเรือน รวมถึงบำรุงรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์ไม่ให้เน่าเสีย

ดินพอเหมาะ : มีเป้าหมายด้านการเรียนรู้ การดูดินและสร้างคุณภาพดิน“เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช” ด้วยการแกล้งดินและห่มดิน ปรับปรุงดินเพื่อการเกษตรกรรม มีการลดต้นทุนการผลิตโดยใช้หลักกสิกรรมธรรมชาติ วางแผนอนุรักษ์ดินให้อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ด้วยการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ พอกิน: ป่าไม้กินได้ พอใช้: ป่าไม้ใช้สอย พออยู่: ป่าไม้เศรษฐกิจ และพอร่มเย็น: ระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์

คนพอเพียง : มีเป้าหมายให้เกษตรกรดำเนินชีวิตตามกำลังฐานะและกำลังของครัวเรือน คิดวิเคราะห์และใช้องค์ความรู้ด้านบัญชีให้เอื้อต่อการพัฒนาอาชีพ โดยแบ่งเป็น 5 แนวทาง ประกอบด้วย การรู้จักพอประมาณ ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถจัดการตัวเองภายในต้นทุนทางสังคม ทั้งในระบบครัวเรือนและชุมชน จัดการค่าใช้จ่ายตามกำลังของตนเอง การมีเหตุผล ส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักคิดและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบด้วยการคำนึงถึงเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นองค์รวมด้วยตนเองและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้อื่น การมีคุณธรรม ส่งเสริมให้เกษตรกรดำรงชีวิตบนพื้นฐานคุณธรรมด้วยการทำความดีต่อตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่นและชุมชนด้วยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีความรู้ พร้อมรับการเรียนรู้ผ่านสื่อการเรียนรู้ต่างๆ สร้างความเข้าใจแลกเปลี่ยนข้อมูล ศึกษา และทำแผนปฏิบัติการ กระจายความรู้ในพื้นที่ตนเองและชุมชน โดยศึกษาสภาพแวดล้อมดิน น้ำ อากาศ ในการวางแผนการเพาะปลูก การสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยการคิดวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นด้วยการพึ่งตนเองเป็นหลักและพึ่งพาช่วยเหลือกันในชุมชน

ซึ่งการดำเนินการตามกรอบแนวคิด 3 พอ พลิกชีวิต : น้ำพอดี ดินพอเหมาะ คนพอเพียง ให้บรรลุตามเป้าหมายสร้างวิถีสู่ความพอเพียงที่มุ่งหวังไว้ ล้วนมีปัจจัยความสำเร็จที่ได้จากการทำบัญชีและการบันทึกข้อมูลทั้งสิ้น หากทุกฝ่ายเข้าใจกรอบแนวคิด คุณลักษณะ คำนิยามของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแจ่มชัดแล้ว ก็จะง่ายขึ้นในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และจะนำไปสู่ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

3 พอ พลิกชีวิต ก้าวตามศาสตร์พระราชา นำบัญชี สร้างวิถีสู่ความพอเพียง

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated