ชุมชนที่มั่นคงและเข้มแข็งจะเป็นปราการอันแข็งแกร่งของชาติ การพัฒนาคุณภาพ “คน” ในระดับชุมชนท้องถิ่นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เข้มแข็งและยั่งยืน ปัจจุบัน ภาคธุรกิจได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ซึ่งบางอย่างอาจช่วยแก้ปัญหาความต้องการของชุมชนได้เพียงชั่วคราว แต่ยังไม่ใช่คำตอบสู่การพัฒนาชุมชนในระยะยาว การส่งเสริมให้ทุกคนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้จะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อท้องถิ่นและประเทศชาติอย่างยั่งยืนยิ่งกว่า

เสวนาขับเคลื่อน 21 ตำบล มิตรผลร่วมพัฒนา
เสวนาขับเคลื่อน 21 ตำบล มิตรผลร่วมพัฒนา

ด้วยเจตนารมณ์ดังกล่าว กลุ่มมิตรผลจึงได้ริเริ่ม “โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน” ในปี 2555
เพื่อมุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและคนในชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยเริ่มจากการทำงานในพื้นที่ตำบลรอบๆ โรงงาน 9 ตำบล ก่อนที่ในปี 2558 ได้ลงนามความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสร้างสุขภาวะที่เข็มแข็งใน และในปี 2560 ได้ขยายพื้นที่ดำเนินการเป็น 21 ตำบล โดยทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และเริ่มทำ “การวิจัยชุมชน” โดยผลักดันให้คนในชุมชนเป็นแกนหลักสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น ให้เข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเพื่อสร้างความภาคภูมิใจและความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันของคนในชุมชน ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นผู้ให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และเป็นผู้นำใช้ข้อมูล เพื่อค้นหาทุนและศักยภาพชุมชนในแต่ละพื้นที่ ก่อนจะนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยมากำหนดยุทธศาสตร์เพื่อต่อยอดการพัฒนาชุมชนได้อย่างถูกต้องและตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ชุมชนมีกระบวนการพัฒนาและจัดการตนเอง สร้างกระบวนการเรียนรู้โดยคนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาศักยภาพคนท้องถิ่นให้ “เก่งขึ้น” เกิดเป็นองค์ความรู้ที่สามารถถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเพื่อต่อยอดความสำเร็จและเติบโตร่วมกันอย่างแข็งแกร่ง

นายคมกริช นาคะลักษณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานองค์กรสัมพันธ์และบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน กลุ่มมิตรผล
นายคมกริช นาคะลักษณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานองค์กรสัมพันธ์และบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน กลุ่มมิตรผล

นายคมกริช นาคะลักษณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานองค์กรสัมพันธ์และบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า “โลกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราจึงต้องแสวงหาความรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ แต่จะต้องเป็นการพัฒนาไปอย่างถูกทาง จึงจะเกิดความยั่งยืนและมั่นคง ‘การวิจัยชุมชน’ จึงเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยให้คนในท้องถิ่นเป็นแกนหลักสำคัญในการพัฒนา ผสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน เพื่อค้นหาจุดแข็งและศักยภาพที่แท้จริงของชุมชนแต่ละพื้นที่ ก่อนจะนำไปสู่การวางแผนเพื่อพัฒนาต่อยอดศักยภาพได้อย่างตรงจุด ไม่เสียเวลาและเงินทุนไปอย่าง

เปล่าประโยชน์หรือพัฒนาไปอย่างหลงทิศทาง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้บริหารจัดการและพึ่งพาตนเองได้ และพัฒนาไปสู่ชุมชนต้นแบบเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป ซึ่งจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนก้าวไปด้วยกันอย่างยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

ฮวมแฮง
ฮวมแฮง แบ่งปัน สร้างสรรค์ตำบล มิตรผลร่วมพัฒนา

งาน “ฮวมแฮง แบ่งปัน สร้างสรรค์ตำบล มิตรผลร่วมพัฒนา” ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นที่โรงเรียนบ้านกุดลันน้อยคีรี ต.โคกขมิ้น จ.เลย คือหนึ่งภาพสะท้อนความสำเร็จของแนวทางการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มมิตรผล โดยภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการแสดงแผนที่ทุนและศักยภาพ ของแต่ละตำบลเครือข่ายซึ่งจัดทำและวิเคราะห์โดยคนในชุมชนเอง รวมถึงการนำเสนอ ผลิตภัณฑ์โดดเด่นของชุมชน รวมทั้งมีการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างตำบลและขับเคลื่อนเครือข่ายชุมชนไปด้วยกัน

นายเดชณรงค์ บงแก้ว ประธานศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลมิตรผลร่วมพัฒนา ต.โคกขมิ้น จ.เลย
นายเดชณรงค์ บงแก้ว ประธานศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลมิตรผลร่วมพัฒนา ต.โคกขมิ้น จ.เลย

นายเดชณรงค์ บงแก้ว ประธานศูนย์เรียนรู้ชุมชนตำบลมิตรผลร่วมพัฒนา ต.โคกขมิ้น จ.เลย
เล่าว่า “ศูนย์เรียนรู้ตำบลโคกขมิ้นเกิดจากการร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชน มิตรผล ภาครัฐ และภาคีเครือข่าย ในการปรับปรุงพื้นที่รกร้างให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตรและการเสริมสร้างอาชีพของคนในตำบล ทั้งการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ การปลูกผักปลอดสารพิษ เลี้ยงกบเลี้ยงปลา การแปรรูปอาหาร เป็นต้น การทำวิจัยชุมชน ทำให้เราได้รู้ว่าชุมชนโคกขมิ้นนี้มีทุนและจุดเด่นอยู่ตรงไหนบ้าง และจะนำไปต่อยอดได้อย่างไร ปัจจุบัน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนฯ ของเราเริ่มมีรายได้จากการขายผัก ขายปลา และทำอาหารแปรรูปส่งเข้าโรงครัวมิตรผลและจัดจำหน่ายในตลาดชุมชน สร้างรายได้หมุนเวียนอย่างน้อย 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเงินปันผลให้กับสมาชิก 50 คนของศูนย์ฯ แม้จะเป็นก้าวเล็กๆ ภายในหนึ่งปีมานี้ แต่ผมเชื่อว่าจะนำไปสู่การเติบโตอย่างเข้มแข็งของชุมชนบ้านโคกขมิ้นในอนาคตต่อไป”

นางสาวปราณี นามมุลตรี เลขานุการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวเพื่อสุขภาพบ้านนาหว้า-นาคำ ตำบลบ้านเม็ง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น
นางสาวปราณี นามมุลตรี เลขานุการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวเพื่อสุขภาพบ้านนาหว้า-นาคำ ตำบลบ้านเม็ง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

เช่นเดียวกับ นางสาวปราณี นามมุลตรี เลขานุการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกข้าวเพื่อสุขภาพบ้านนาหว้า-นาคำ ตำบลบ้านเม็ง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ที่เริ่มต้นจากการรวมกลุ่มของคนรักสุขภาพ สู่วิสาหกิจชุมชน เล่าให้ฟังว่า “สมาชิกในกลุ่มเป็นเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่เดิมทีแค่แบ่งพื้นที่ 2-3 ไร่ไว้ปลูกข้าวเพื่อกินเองในครอบครัว แต่หลังจากที่หน่วยงานภาครัฐและกลุ่มมิตรผลเข้ามาสนับสนุน ทำให้ได้ศึกษาแนวทางการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ จึงได้ชักชวนเพื่อนๆ ให้มาร่วมกันทำ เช่น ปลูกผักปลอดสาร เลี้ยงไก่ไข่ ทำฟาร์มหมูหลุม และปลูกข้าวเพื่อสุขภาพ ต่อมาจึงรวมกลุ่มกันใช้เวลาว่างจากการทำไร่อ้อยมาทำข้าวเพื่อสุขภาพและจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากได้วิเคราะห์ตนเองและเห็นว่ากลุ่มเรามีความโดดเด่นและความสนใจในด้านการทำผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและมิตรผลในการหาช่องทางการขาย เช่น ตลาดนัดสีเขียวชุมชน ขายให้โรงงานมิตรผล และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ จนปัจจุบันกลุ่มผู้ปลูกข้าวเพื่อสุขภาพบ้านนาหว้า-นาคำสามารถสร้างรายได้ประมาณ 150,000 บาท/ปี นอกจากนี้เรากำลังเริ่มทำโรงเรียนชาวนา เพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้มาเรียนรู้ ไม่อยากให้ลูกหลานละทิ้งพื้นเพเดิม โดยจะสอนตั้งแต่การปลูก การไถ เก็บเกี่ยว จนออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์สูญญากาศ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างความมั่นคงในกับชุมชนต่อไป”

มิตรผลร่วมขับเคลื่อน 21 ตำบล ดึงศักยภาพท้องถิ่น ต่อยอดสู่ชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา กลุ่มมิตรผลดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีทีมพัฒนาชุมชนของแต่ละโรงงานเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานร่วมกับองค์กรและภาคีเครือข่ายการพัฒนาในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน ด้านการพัฒนาระบบเกษตรชุมชนและอาหารปลอดภัย และด้านการพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน โดยตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2564 ทั้ง 21 ตำบลเครือข่าย (ประชากรรวมกว่า 51,000 ครัวเรือน) จะต้องมีศูนย์เรียนรู้ตำบลอย่างน้อยตำบลละ 1 แห่งเพื่อเป็นศูนย์กลางให้กับคนในชุมชนมาเรียนรู้หลักการพึ่งตนเองต่างๆ และอย่างน้อย 30% ของครัวเรือนเกษตรกรทั้ง 21 ตำบล (ประมาณ 9,100 ครัวเรือน) ต้องสามารถพึ่งตนเองได้ โดยมีอย่างน้อย 10% ของครัวเรือน (5,100 ครัวเรือน) เป็นต้นแบบการทำเกษตรผสมผสานเพื่อเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรรายอื่นๆ ในชุมชนได้มาเรียนรู้และนำไปสู่การขยายผลต่อไปฮวมแฮง

 

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated