นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” ในภาคการเกษตร เป็นแนวคิดด้านการบริหารจัดการสินค้าเกษตรแบบใหม่ สนับสนุนให้เกษตรกรดำเนินการเชื่อมโยงเกษตรกรกับหน่วยงานรัฐ เอกชน ระบบสหกรณ์ ผู้นำเกษตรกร และผู้ค้า ซึ่งปัจจุบันการขายสินค้าเกษตรออนไลน์เป็นช่องทางและโอกาสทางการตลาดที่สำคัญในการขยายฐานลูกค้าจากภายในประเทศสู่ลูกค้าต่างประเทศ โดยเชื่อมโยงการค้ารูปแบบอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ในยุคดิจิทัล กระทรวงเกษตรฯ ได้เน้นส่งเสริมให้สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และเกษตรกรรายย่อย มีช่องทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรและแปรรูป พัฒนาช่องทางการค้าขายผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0”

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) แถลงข่าวเปิดผลวิเคราะห์การยกระดับตลาดเกษตรออนไลน์ ทำอย่างไรให้บูม?
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) แถลงข่าวเปิดผลวิเคราะห์การยกระดับตลาดเกษตรออนไลน์ ทำอย่างไรให้บูม?

ดันตลาดเกษตรออนไลน์ให้บูม ต้องทำอย่างไร?

การซื้อขายสินค้าเกษตรออนไลน์มีหลายแบบ ทั้งจากผู้ประกอบการต่อผู้ประกอบการ (B2B) ผู้ประกอบการต่อผู้บริโภค (B2C) หรือแม้กระทั่งผู้บริโภคต่อผู้บริโภค (C2C) โดยในปี 2560 ประเทศไทยมีมูลค่าการค้าขายในระบบอีคอมเมิร์ซทั้งสิ้น 2.81 ล้านล้านบาท สำหรับแหล่งการซื้อขายในระบบอีคอมเมิร์ซสำคัญๆในประเทศไทย มีหลายแหล่ง อาทิ อตก.com Agrimart.in.th DGTFarm.com Kaidee.com และ Thaitrade.com ซึ่งกรณี Thaitrade.com ที่รองรับการขายสินค้าแบบฺ B2B และ B2C พร้อมรองรับการขายสินค้าไปยังลูกค้าหรือผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งดำเนินการโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP กระทรวงพาณิชย์ เปิดตัวขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2554 ในปัจจุบันมีผู้ซื้อที่ลงทะเบียนกว่า 1.7 แสนราย กระจายอยู่ทั่วโลก มีมูลค่าการซื้อขายกว่า 5.5 พันล้านบาท สินค้ากว่า 200,000 รายการ และในจำนวนดังกล่าว มีสินค้าเกษตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าแปรรูปขายประมาณ 6,000 รายการ สำหรับผู้ประกอบการในไทย ลงทะเบียนแล้วกว่า 2.4 หมื่นราย ในจำนวนนี้ประมาณ 1,000 กว่าราย ที่เป็นเกษตรกรหรือผู้ขายสินค้าเกษตรดันตลาดเกษตรออนไลน์ให้บูม ต้องทำอย่างไร?

ด้าน รศ.ดร.เรวัตร ธรรมาอภิรมย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นายภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวเสริมว่า จากการวิเคราะห์ถึงความเชื่อมโยงการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านเว็บไซต์ Thaitrade.com พบว่า การซื้อขายสินค้าเกษตร ภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการผลิตสินค้าเกษตร โดยการให้ความรู้ การฝึกอบรม ผ่านทางศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ที่มีอยู่ถึง 882 ศูนย์ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการวางแผนการผลิตสินค้าเกษตรทั้งสดและแปรรูปตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และมีปริมาณสอดคล้องกับความต้องการของตลาดดันตลาดเกษตรออนไลน์ให้บูม ต้องทำอย่างไร?

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเกษตรกรไทยส่วนใหญ่เป็นรายย่อยดังนั้นเกษตรกรต้องมีการรวมกลุ่มกันเพื่อขายสินค้าซึ่งเป็นการรับประกันว่าจะมีสินค้าที่ทีคุณภาพและปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ และภาครัฐต้องให้ความรู้เรื่องการดำเนินการซื้อขายสินค้าเกษตรผ่านเว็บไซต์ และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคมั่นใจในสินค้าเกษตรมากขึ้น โดยเน้นเรื่องมาตรฐานสินค้ารวมทั้งการกำหนดให้มีการระบุแหล่งกำเนิดสินค้า และการชำระเงิน เป็นต้น นอกจากนี้ภาครัฐควรสนับสนุนด้านการขนส่งที่จำเป็นต่อการขายสินค้าหรือระบบขนส่ง (Logistics) และการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่กลุ่มเกษตรกรหรือเกษตรกร เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายสินค้าเกษตรดันตลาดเกษตรออนไลน์ให้บูม ต้องทำอย่างไร?

เสนอแนะดันตลาดเกษตรออนไลน์ให้บูม

ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บูรณาการร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ภาครัฐจะต้องเน้นมาตรการสนับสนุนอย่างรอบด้าน ดังนี้  มาตรการด้านการเกษตร ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพหรือมีลักษณะเฉพาะ เช่น สินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) วางแผนปริมาณผลผลิตในแต่ละช่วงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ มาตรการด้านกฎหมายสนับสนุนเกษตรกรจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยืนยันการมีตัวตนการเป็นผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และเพิ่มโอกาสทางการตลาดมาตรการด้านเศรษฐศาสตร์ สนับสนุนหรือจัดหาแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่กลุ่มเกษตรกรหรือเกษตรกร เพื่อส่งเสริมให้การขายสินค้าเกษตรออนไลน์เพิ่มขึ้น สนับสนุนให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่ม เป็นสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน และกลุ่มของเกษตรกรรุ่นใหม่ เพื่อให้เกิดการประหยัด ต่อขนาด(Economies of Scale)ของปริมาณผลผลิต และเกิดอำนาจการต่อรองราคาสินค้าเกษตรของเกษตรกรอีกทาง และ มาตรการด้านการศึกษา ให้ความรู้ ฝึกอบรมด้านการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ รวมทั้งการสร้าง แบรนด์สินค้า และมาตรการด้านการตรวจสอบสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า.

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated