วันที่ 4 กันยายน 2561 ที่โรงแรมเอสดี อเวนิว กรุงเทพฯ– นายเวชยันต์ เมืองแก้ว ผู้บริหารบริษัทอัยย์ครอป จำกัด นายเรวัต ธรรมบำรุง และ นายธนาวัต กรัดวัต ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย บริษัทอัยย์ครอป จำกัด ร่วมกันแถลงข่าวขอความเป็นธรรมในฐานะผู้ชนะการประมูลปุ๋ยกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จำนวน 13,803.90 ตัน  มูลค่าประมาณ 173 ล้านบาท แต่มีการยกเลิกผลประมูล  ทั้งนี้ กยท.มีหนังสือแจ้งว่าให้บริษัทอัยย์ครอป จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูล เมื่อวันที่ 28 ก.พ.2561 ต่อมาบริษัทคู่แข่งผู้ร่วมประมูลครั้งนี้ ได้ยื่นอุทธรณ์ ร้องเรียนต่อกรมบัญชีกลาง มีผลให้ กยท. ออกหนังสือยกเลิกประกาศดังกล่าว ในวันที่ 15 มิถุนายน 2561 โดยให้เหตุผลตามการร้องเรียนของกรมบัญชีกลาง

แถลงข่าวเปิดเงื่อนงำประมูลปุ๋ย กยท.-ขอความเป็นธรรมด้วย
บรรยากาศการแถลงข่าว

ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย บริษัทอัยย์ครอป จำกัด กล่าวชี้แจงว่าทำให้บริษัทไม่ได้รับความเป็นธรรม ดังต่อไปนี้

(1) ตาม TOR ระบุคุณสมบัติของผู้ยื่นประมูลในข้อ 2.15 ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงานซื้อขายปุ๋ยเคมีอย่างน้อย 1 ผลงาน ในวงเงินไม่น้อยกว่า 18 ล้าน และเป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานรัฐหรือสถาบันเครือข่ายเกษตรกรหรือหน่วยงานเอกชนที่ กยท. เชื่อถือ….บริษัทฯ ดังกล่าวนั้นมีหรือไม่?

(2) ตาม TOR ระบุคุณสมบัติของผู้ยื่นประมูลในข้อ 2.14 ผู้ยื่นข้อเสนอต้องไม่เป็นผู้ถูกดำเนินคดีเรื่องปุ๋ยเสื่อมสภาพ ปุ๋ยผิดมาตรฐาน ปุ๋ยปลอม หรือถูกพักใบอนุญาตปุ๋ยเคมีเพื่อการค้…บริษัทฯดังกล่าวนั้นมีหรือไม่?

นายเรวัต กล่าวต่อไปว่าเมื่อบริษัท อัยย์ครอป ไม่ได้รับความยุติธรรม จึงได้ทำหนังสือสอบถามไปที่สถานีตำรวจภูธรที่เกิดเหตุ ขอตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้รับหนังสือแจ้งผลว่า บริษัทผู้ร่วมในการประมูลครั้งนี้ ได้ถูกกรมวิชาการเกษตรร้องทุกข์ดำเนินคดี ในความผิดตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518 จำนวน 5 คดี และยังอยู่ระหว่างสอบสวนดำเนินคดี

ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย บริษัท อัยย์ครอป จำกัด กล่าวอีกว่าวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 บริษัท อัยย์ครอป จึงทำหนังสือถึงการยางแห่งประเทศไทย ให้เร่งรัดตรวจสอบคุณสมบัติ บริษัทผู้ร่วมในการประมูลครั้งนี้ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดใน TOR แต่จนถึงวันนี้ ยังไม่มีจดหมายตอบกลับมาจาก กยท.

บริษัท อัยย์ครอป ได้รับความเสียหายมหาศาล ทั้งการจัดเตรียมวัสดุ สินค้า การขนส่ง พร้อมที่จะส่งมอบปุ๋ยถึงเกษตรกร ซึ่งตามสัญญาต้องส่งในงวดแรกให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับถัดจากวันลงนามสัญญา จนถึงวันนี้ระยะเวลา 9 เดือนแล้ว เกษตรกรยังไม่ได้รับปุ๋ย ความเสียหายเกิดกับเกษตรกรมากมาย กระทบถึงประเทศชาติ….อีกทั้งราคาที่ประมูลได้ตอนนั้น 12,400 บาท/ตัน แต่ราคาปุ๋ยตอนนี้สูงขึ้นถึง 16,000 บาท/ตัน นายเรวัติ กล่าวและว่า การที่ กยท. ประกาศยกเลิกบริษัท อัยย์ครอป จึงเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง และไม่ให้ความเป็นธรรม บริษัทฯ ขอตั้งข้อสงสัยว่า อาจมีมือที่มองไม่เห็น หรือ มีผู้มีอำนาจคนใด ร่วมสนับสนุนความไม่ถูกต้อง

หารือถึงความหน้าของข้อร้องเรียน...
หารือถึงความหน้าของข้อร้องเรียน…

นายเรวัต กล่าวทิ้งท้ายว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา กยท. ทำหนังสือกลับไปหารือยังกรมบัญชีกลางอีกรอบถึงคุณสมบัติของบริษัทผู้ร่วมในการประมูลครั้งนี้ ว่าการที่ถูกกรมวิชาการเกษตรร้องทุกข์ว่าผลิตปุ๋ยเสื่อมสภาพ ปุ๋ยผิดมาตรฐาน ปุ๋ยปลอม หรือถูกพักใบอนุญาตปุ๋ยเคมีเพื่อการค้า จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งขณะนี้ถือว่าบริษัทคู่แข่งผู้ร่วมในการประมูลครั้งนี้ อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดี ทำให้มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดในการประกวดราคาฯ ในข้อ 2.14 หรือไม่…จะเห็นได้ว่า คุณสมบัติข้อนี้ ทาง กยท.เองเป็นผู้ทำประชาพิจารณ์เอง เป็นผู้ประกาศเอง แต่กลับไปถามกรมบัญชีกลางอีกรอบ อีกทั้งก็มีหลักฐานยืนยันจากสถานีตำรวจภูธรที่เกิดเหตุเป็นที่เรียบร้อย นี่คือคำสั่งจากมือที่มองไม่เห็นอีกหรือไม่?

ยืนหนังสือร้องเรียน ติดตามทวงถามความตืบหน้าอีกครั้ง
ยืนหนังสือร้องเรียน ติดตามทวงถามความตืบหน้าอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังแถลงข่าวนายเรวัต และคณะได้เดินทางไปยื่นหนังสือที่สำนักงาน กยท.บางขุนนนท์อีกครั้ง เพื่อทวงถามความเป็นธรรมและขอทราบความคืบหน้าถึงผลการร้องเรียน โดยยื่นเรื่องกับนายสุรชัย ราษฎร์นุ้ย ผอ.การยางแห่งประเทศไทย เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

นายสุรชัย กล่าวว่า ได้ส่งสรุปผลการร้อเรียนไปให้กับผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา อย่างไรก็ตามขอให้บริษัทอัยย์ครอป จำกัด มาติดตามผลในวันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ.2561 นี้

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated