สศก. เผยแนวโน้มความสนใจเกษตรและทิศทางแรงงานเกษตร “สู่เกษตร 4.0”
สศก. แจงทิศทางอาชีพเกษตรกรมีแนวโน้มได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่พร้อมวิเคราะห์แก้ปัญหาแรงงานเกษตร

สศก. แจงทิศทางอาชีพเกษตรกรมีแนวโน้มได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่มากขึ้น เผย มี Smart Farmer ทั่วประเทศ รวมกว่า 9 แสน 8 หมื่นราย และกลุ่ม Young Smart Farmer อีกกว่า 5 พันราย พร้อมเปิดผลศึกษาวิเคราะห์แก้ปัญหาแรงงานเกษตร แนะเทคโนโลยีและนวัตกรรมคือสิ่งสำคัญ พร้อมสร้างความตระหนักรู้ ความภาคภูมิใจในอาชีพเกษตร

นางสาวราตรี เม่นประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)
นางสาวราตรี เม่นประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)

นางสาวราตรี เม่นประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า การก้าวเข้าสู่เกษตรกร 4.0 ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยแรงงานที่มีทักษะ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ทดแทนแรงงานคน การรวมกลุ่ม การบริหารจัดการทรัพยากร/ปัจจัยการผลิต และการบริหารจัดการด้านการตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

แรงงานครัวเรือนการเกษตร
แรงงานครัวเรือนการเกษตร

ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตรปีเพาะปลูก 58/59 พบว่ามีจำนวนครัวเรือนเกษตร 5.9 ล้านครัวเรือน มีสมาชิกเฉลี่ยครัวเรือนละ 4.04 คน ขนาดแรงงาน 2.88 คนต่อครัวเรือน อายุเฉลี่ยของแรงงานภาคเกษตร คือ 56 ปี และมีผู้สูงอายุสูง (อายุ 65 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 12.48 ของประชากรภาคเกษตรทั้งหมด

ผลกระทบของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุต่อผลิตภาพของภาคเกษตรนั้น สังคมผู้สูงอายุจะทำให้กิจกรรมการผลิต การออม และการลงทุนลดลง มีความเป็นไปได้สูงที่จะเปลี่ยนไปทำการเกษตรที่ใช้แรงงานน้อยกว่าแต่ต้องได้ผลิตภาพ   มากขึ้น และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต

เทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต
การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต

ด้านสัดส่วนของแรงงานภาคเกษตรมีระดับการศึกษาสูงขึ้น และปัจจุบันอาชีพเกษตรกรมีแนวโน้มได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่มากขึ้น ทั้งจากผู้ที่จบการศึกษาในสาขาเกษตร รวมถึงลูกหลานของเกษตรกร และผู้ที่ประกอบอาชีพอื่นแล้วผันตัวเองมาเป็นเกษตรกร โดยพบว่ามี Smart Farmer ทั้งประเทศ รวม 981,649 ราย และกลุ่ม Young Smart Farmer 5,477 ราย ซึ่งเป็นทิศทางที่ดี เพราะจะช่วยให้แรงงานภาคเกษตรสามารถเรียนรู้และนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาและปรับปรุงเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สินค้าเกษตรเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทั้งในด้านพลังงานและอาหาร
สินค้าเกษตรเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทั้งในด้านพลังงานและอาหาร

ปัจจุบัน สินค้าเกษตรเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทั้งในด้านพลังงานและอาหาร ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของประเทศอุตสาหกรรมใหม่ และประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความต้องการพืชพลังงานและพืชอาหารมากขึ้น โดยไทยก็ยังเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรรายสำคัญของโลก สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพความพร้อมของภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม ซึ่งเป็นจุดแข็งในการที่จะสร้างโอกาสและพัฒนาภาคเกษตรได้อีกมาก ซึ่งหากแรงงานภาคเกษตรไทยปรับตัวได้ช้าเหมือนในอดีตที่ผ่านมา นอกจากจะเสียโอกาสด้านการตลาดแล้ว ปัญหาการขาดแคลนแรงงานก็จะยังคงอยู่ต่อไป ซึ่งในระยะยาวหากจะพึ่งพาแรงงานต่างด้าวคงเป็นไปได้ยาก เพราะความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ทำให้แรงงานต่างด้าวมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนย้ายแรงงานกลับประเทศของตน

จากสภาพปัญหาดังกล่าว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรจึงได้ทำการศึกษาแนวทางการสนับสนุนเยาวชนเข้าสู่ภาคเกษตร กรณีศึกษาเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาสาขาเกษตร โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม (Questioniare) สัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 437 คน ในจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางของการศึกษาสาขาเกษตรในแต่ละภูมิภาค รวม 5 จังหวัด รวม 9 สถาบัน ได้แก่

ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการสนับสนุนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพการเกษตรให้แก่เยาวชน
ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการสนับสนุนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพการเกษตรให้แก่เยาวชน

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จังหวัดนครศรีธรรมราช เกี่ยวกับแนวทางการสนับสนุนเยาวชนเข้าสู่ภาคเกษตร เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการสนับสนุนเยาวชนสู่ภาคเกษตร เพื่อให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการสนับสนุนทั้งด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพการเกษตรให้แก่เยาวชน

สนับสนุนเยาวชนเข้าสู่ภาคเกษตร
สนับสนุนเยาวชนเข้าสู่ภาคเกษตร

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเรียนด้านการเกษตร เป็นเพราะความชอบเรียนด้านการเกษตรและอยากประกอบอาชีพด้านการเกษตรหลังเรียนจบมากที่สุด เลือกที่จะประกอบอาชีพการเกษตรหลังสำเร็จการศึกษา เพราะงานในภาคเกษตรมีอิสระ ชอบทำงานในภาคเกษตร และได้กลับไปอยู่กับครอบครัวที่บ้านเกิด  ส่วนเหตุผลที่นักศึกษาเลือกประกอบอาชีพนอกภาคเกษตร เพราะงานในภาคเกษตรไม่มีสวัสดิการ ขาดปัจจัยการผลิตหรือทุนในการผลิต และอาชีพในภาคเกษตรมีรายได้ต่ำ

ดังนั้น การแก้ปัญหาแบบยั่งยืนควรมีการกำหนดนโยบาย โดยเฉพาะแนวคิดเกษตร 4.0 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย

ระยะสั้น

ต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลตอบแทนจากการผลิต โดยใช้ศาสตร์ของพระราชา และการบริหารจัดการสมัยใหม่ อาทิ แปลงใหญ่/ระบบสหกรณ์ เกษตรอุตสาหกรรม โดยภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ตลอดจนห่วงโซ่การผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าเกษตรผ่านการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชและเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสม ควบคู่กับการกำหนดพื้นที่สำหรับการทำเกษตร (Zoning) การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยต่างๆ เข้ากับเกษตรกรมแบบดั้งเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพิ่มผลผลิต และเพิ่มคุณภาพของผลิตผล โดยใช้ข้อมูลของชนิดพืชหรือสัตว์ สภาพแวดล้อมของฟาร์ม และฐานข้อมูลด้านการเกษตร ที่เชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่าย เพื่อช่วยเกษตรกรในการตัดสินใจในการปรับปัจจัยการผลิตและการดูแลรักษาพืชแต่ละชนิดอย่างพอเหมาะ

การคัดเลือกนักศึกษาสาขาเกษตรทั้งในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาโดยให้ใช้หลักความรู้ความสามารถ ทักษะในการปฏิบัติงาน และความมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพการเกษตร
การคัดเลือกนักศึกษาสาขาเกษตรทั้งในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาโดยให้ใช้หลักความรู้ความสามารถ ทักษะในการปฏิบัติงาน และความมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพการเกษตร

ทั้งนี้ จะต้องมีการดำเนินการสร้างภูมิคุ้มกัน/ลดความเสี่ยง ด้วยการให้เกษตรกรทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ รวมทั้ง ควรมีการบรรจุหลักสูตรอาชีพการเกษตรตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา เพื่อให้เด็กไทยมีความรู้และความรักในการประกอบอาชีพการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพฐานหลักของประเทศ มีการปรับปรุงวิธีการคัดเลือกนักศึกษาสาขาเกษตรทั้งในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาโดยให้ใช้หลักความรู้ความสามารถ ทักษะในการปฏิบัติงาน และความมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพการเกษตร โดยสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งสร้างให้เกิดขึ้น คือ การสร้างความตระหนักรู้ให้กับสังคมและชุมชนถึงความสำคัญของภาคเกษตรที่มีต่อประเทศไทย เพื่อให้อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี

นอกจากนี้ ยังต้องมีการจัดการผลิตผลเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อคงคุณภาพของผลผลิตเกษตร การส่งเสริมระบบประกันภัยพืชผลเพื่อให้เกษตรกรสามารถลดความเสี่ยงของผลผลิตจากภัยธรรมชาติ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุน และสนับสนุนกลุ่มแรงงานรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพให้มีความสนใจในการเข้ามาประกอบอาชีพการเกษตร เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สามารถเรียนรู้และปรับตัวได้เร็วกับเทคโนโลยีสมัยใหม่  รวมถึงการผลักดันยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ให้เกิดผลในการรองรับการก้าวผ่านประเทศรายได้ปานกลาง สู่ประเทศที่มีรายได้สูง ให้แรงงานภาคเกษตรมีรายได้เพียงพอที่จะทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะประชากรในภาคเกษตรที่เป็นผู้สูงอายุควรส่งเสริมการให้ความรู้และสนับสนุนการใช้เครื่องจักรกลช่วยผ่อนแรงสำหรับแรงงานภาคเกษตรสูงอายุที่ยังคงทำงานได้ เพื่อให้สามารถทำการเกษตรต่อไปได้ด้วยความมั่นคง และสามารถที่จะยืนหยัดอยู่ในภาคเกษตรอย่างพึ่งพาตนเองได้

ระยะยาว

มีการจัดทำแผนพัฒนาสินค้าเกษตร การกำหนดความต้องการแรงงานภาคเกษตรในแต่ละชนิดการผลิตเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว มีการบริหารจัดการแรงงาน (Good Labor Practice : GLP) ที่ดีเพื่อจูงใจให้แรงงานรุ่นใหม่กลับเข้าสู่ภาคเกษตร กำหนดนโยบายการสนับสนุนให้เยาวชนเข้าสู่ภาคเกษตร ตลอดจนการพัฒนาภาคเกษตรและแรงงานภาคเกษตรของประเทศไทยให้เป็นวาระแห่งชาติ ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุ และผู้พิการในภาคเกษตร เพื่อลดการว่างงานตามฤดูกาล ทดแทนการใช้แรงงานต่างด้าว และการทำงานต่ำระดับที่ทำให้เกิดการว่างงานแฝง โดยการส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตในท้องถิ่น OTOP เพื่อให้มีงานทำตลอดปี ซึ่งจำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มเกษตรกรในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจัดหาตลาดให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุ และผู้พิการในภาคเกษตร เพื่อลดการว่างงานตามฤดูกาล
ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุ และผู้พิการในภาคเกษตร เพื่อลดการว่างงานตามฤดูกาล

ทั้งนี้ ในการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ปัจจุบันภาครัฐได้มีการดำเนินการแล้ว แต่อาจยังไม่ครอบคลุม ดังนั้น การดำเนินการระยะต่อไปจะต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา เพื่อให้ภาคเกษตรเป็นฐานการผลิตที่มั่นคงและเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การยกระดับสินค้าเกษตรรวมถึงคุณภาพชีวิตและความมั่นคงในอาชีพของเกษตรกรไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไป

***ขอบบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต***

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated