วช. เติมความรู้เรื่องเพาะเห็ด หวังให้ชุมชนมีรายได้เสริมที่ขอนแก่น
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ลงพื้นที่โครงการปลูกต้นยางนาที่ใส่เชื้อเห็ดเผาะในป่าชุมชน

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น โครงการสื่อมวลชนสัญจร ประจำปี 2560 ครั้งที่ 6 เรื่อง การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เศษวัสดุในไร่นาเพื่อปรับปรุงบำรุงดินโดยผ่านกระบวนการเพาะเห็ด และเหนี่ยวนำให้เกิดเห็ดในธรรมชาติ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเรือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิด เวลา 09.30 น.

(คนที่ 3 ขวามือ) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
(คนที่ 3 ขวามือ) ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. มีภารกิจสำคัญ คือการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อนำผลงานวิจัยมาแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างยั่นยืน ในปีนี้ วช.ได้สนับสนุนทุนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย ภายใต้โครงการจัดความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2560 ให้แก่ ดร.อรทัย ศุกรียพงศ์ และคณะ จากกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อดำเนินการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรในตำบลหนองเรือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีความกระตือรือร้นในการประกอบอาชีพเสริม ในช่วงเวลาหลังฤดูกาลเพาะปลูกซึ่งเป็นช่วงว่างเพื่อเพิ่มพูนรายได้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีความสนใจในเรื่องการจัดการดินและการเพาะเห็ด แต่ยังขาดองค์ความรู้ แหล่งเงินทุนและประสบการณ์ ซึ่งคณะผู้วิจัย ได้ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ พบว่า เกษตรกรมีความต้องการองค์ความรู้ด้านการจัดการดินในพื้นที่ให้เหมาะแก่การเพาะปลูก และการจัดการเศษวัสดุในไร่นา จำพวก ฟางข้าว อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น ซึ่งหากนำเศษวัสดุเหล่านี้มาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินอย่างถูกวิธี จะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชที่จำเป็นแก่ดิน ทำให้สามารถฟื้นฟูสภาพดินในพื้นที่ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ลดการเผาทำลายอันเป็นวิธีการช่วยลดภาวะโลกร้อน และยังสามารถนำเศษวัสดุที่เหลือจากการปรับปรุงบำรุงดินมาใช้เพาะเห็ดได้อีกด้วย

โรงเรือนเพาะเห็ด โครงการ 9101 ชุมชนท่าศาลา
โรงเรือนเพาะเห็ด โครงการ 9101 ชุมชนท่าศาลา

นอกจากเกษตรกรจะนำความรู้ไปใช้ในการผลิตเห็ดที่มีคุณภาพจากเศษวัสดุในไร่นาด้วยตัวเองแล้ว ยังสามารถนำไปประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ทำให้เกษตรกรได้รวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง เพื่อจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนต่อยอดโครงการจากการอบรมในครั้งนี้ เป็นการสร้างสังคมที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสร้างฐานเศรษฐกิจในชุมชนที่มั่นคง สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ที่ต้องการให้ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแต่ไป

การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เศษวัสดุในไร่นาเพื่อปรับปรุงบำรุงดินโดยผ่านกระบวนการเพาะเห็ด และเหนี่ยวนำให้เกิดเห็ดในธรรมชาติ
บรรยากาศผู้เข้าร่วมการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เศษวัสดุในไร่นาเพื่อปรับปรุงบำรุงดินโดยผ่านกระบวนการเพาะเห็ด และเหนี่ยวนำให้เกิดเห็ดในธรรมชาติ

วช. โดยกลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ ได้เห็นถึงความสำคัญของโครงการดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น โครงการสื่อมวลชนสัญจร ประจำปี 2560 ครั้งที่ 6 เรื่อง การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เศษวัสดุในไร่นาเพื่อปรับปรุงบำรุงดินโดยผ่านกระบวนการเพาะเห็ด และเหนี่ยวนำให้เกิดเห็ดในธรรมชาติ เพื่อให้สื่อมวลชนเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานและกิจกรรมดังกล่าว ไปสู่ชุมชนและสาธารณชนเพื่อให้ได้ทราบและนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อไป

ผลผลิตเห็ดจากชุมชน
ผลผลิตเห็ดจากชุมชน
SIMA_webbanner_468x90_TH_animated