พด.ขับเคลื่อนนโยบาย ก.เกษตร “การยกกระดาษ A4” แบบบูรณาการ
พด.นำนวัตกรรมแบบอัจฉริยะมาใช้ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาด ยกระดับมูลค่าด้วยคุณภาพมาตรฐานสินค้าการเกษตร

จากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ) ได้วางแนวทางการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการปฏิรูปภาคการเกษตรไทยร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ครบวงจร มีการนำนวัตกรรมแบบอัจฉริยะมาใช้ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาด ยกระดับมูลค่าด้วยคุณภาพมาตรฐานสินค้าการเกษตร ประหยัดทรัพยากรน้ำ มีการใช้พื้นที่การเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสนองนโยบายประชารัฐ โดยแนวคิดการยกกระดาษ A4 ให้ทุกหน่วยงานทำงานแบบบูรณาการ สามารถทำงานขับเคลื่อนตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระดาษ A4 เปรียบเหมือนพื้นที่การเกษตรของไทย 149 ล้านไร่ที่มีอยู่จำกัดในปัจจุบัน ซึ่งจะมีการพัฒนาหรือทำอย่างไรที่จะทำให้เกษตรกรไทยไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ นั่นคือ การยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น มีความภาคภูมิใจในอาชีพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีรายได้มั่นคง โดยเร่งดำเนินงานตามนโยบายที่สำคัญ 9 เรื่อง (13 แผนงาน) ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) แปลงใหญ่ Zoning by Agri-Map มาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตร GAP เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน ธนาคารสินค้าเกษตร แผนผลิตข้าวครบวงจร การจัดหาที่ดินทำกินของ ส.ป.ก. และระบบส่งน้ำ กระจายน้ำ น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือ สินค้าเกษตรมีคุณภาพ มีตลาดรองรับ สามารถลดต้นทุนได้ 20% ผลผลิตเพิ่มขึ้น 20%

นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน
นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน

นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า กรมฯ ได้เร่งดำเนินการขับเคลื่อนงานตามนโยบายที่สำคัญใน 6 เรื่อง จาก 13 แผนงาน ประจำปี 60 ได้แก่

  1. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (ศพก.) อำเภอละ 1 ศูนย์ 882 ศูนย์ทั่วประเทศ โดยได้จัดทำจุดเรียนรู้การพัฒนาที่ดิน เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินเพื่อช่วยลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกรประชาชนผู้สนใจทั่วประเทศ ดำเนินการได้ครบตามแผนงาน 882 ศูนย์ /
  2. โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2560 พื้นที่เป้าหมาย 1,000 แปลง (พืช สัตว์ ประมง) ในพื้นที่ 77 จังหวัด กรมฯให้การสนับสนุนกิจกรรมปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อผลิตพืชแต่ละชนิด 910 แปลง (ยกเว้นแปลงสัตว์-ประมง รวม 90 แปลง) ดังนี้ แปลงนาข้าว รวม 519 แปลง 68 จังหวัด รวม 1,251,194 ไร่ เกษตรกร 88,992 ราย แปลงพืชไร่ รวม 150 แปลง 40 จังหวัด รวมพื้นที่ 246,630 ไร่ เกษตรกร 16,103 ราย แปลงไม้ผลไม้ยืนต้น รวม 174 แปลง 51 จังหวัด รวมพื้นที่ 416,994 ไร่ เกษตรกร 21,493 ราย แปลงพืชผัก รวม 67 แปลง 52 จังหวัด รวมพื้นที่ 26,991 ไร่ เกษตรกร 5,821 ราย /
  3. โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-map) แผน 100,000 ไร่ ดำเนินงานได้ 34,371.75 ไร่ (34.37%) /
  4. มาตรฐานสินค้าเกษตร เป็นการเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่เกษตรกรเพื่อตรวจวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดิน การให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน แผน 700 ตัวอย่าง ดำเนินงานได้ 640 ตัวอย่าง (91.43%) เกษตรอินทรีย์ แผน 10,150 ไร่ ดำเนินงานได้ 14,176.75 ไร่ (139.69%)
  5. การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ (5 ประสาน) นำเกษตรกรศึกษาดูงานแปลงต้นแบบ เป้าหมาย 6,292 ราย และสนับสนุนปัจจัยการผลิตพื้นฐาน เป้าหมาย 2,008 แปลง ดำเนินงานได้ 1,832 ราย /
  6. โครงการธนาคารสินค้าเกษตร เป้าหมาย 80 แห่ง ดำเนินงานได้ครบ 80 แห่ง ผลิตปุ๋ยหมักพระราชทาน ครบเป้าหมาย 2,682 ตัน ผลิตน้ำหมักครบเป้าหมาย 759,500 ลิตร /

    การทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
    การทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
  7. การผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร (ปอเทือง) ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ ไถเตรียมดิน เป้าหมาย 194,510.27 ไร่ (100%) ไถกลบเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด (3 ใน 4 ของพื้นที่) เป้าหมาย 145,830.67 ไร่ ดำเนินงานได้ 124,347.44 ไร่ เก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์และไถกลบ (1 ใน 4 ของพื้นที่) เป้าหมาย 5,841,552 กิโลกรัม ดำเนินการได้ 116,690.20 กิโลกรัม ดำเนินการแล้วเสร็จและผลการดำเนินงานไม่ได้ตามเป้าหมายเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง มีโรคแมลงและหนอนระบาด /
  8. โครงการจัดที่ดินทำกินและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินในเขตปฏิรูป (ส.ป.ก.) ดำเนินการใน 6 ขั้นตอน ได้แก่ การรับข้อมูลขอบเขตพื้นที่โครงการจาก ส.ป.ก. เป้าหมาย 21 แปลง ดำเนินงานได้ 21 แปลง การวิเคราะห์ข้อมูลดิน การใช้ที่ดิน และความเหมาะสมของดินต่อการปลูกพืช เป้าหมาย 12 แปลง ดำเนินการได้ 10 แปลง การจัดทำร่างแนวทางการใช้ที่ดินในพื้นที่ ส.ป.ก. เป้าหมาย 12 แปลง ดำเนินงานได้ 10 แปลง การพิจารณาและตรวจสอบแนวทางการใช้ที่ดินในพื้นที่ ส.ป.ก. / ประสานงานและจัดส่งรายงานให้ ส.ป.ก. จังหวัด ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ เป้าหมายอย่างละ 12 แปลง ดำเนินงานได้ อย่างละ 7 แปลง
  9. การพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำ (1) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป้าหมาย 187 แห่ง ดำเนินงานได้ 174 แห่ง / แหล่งน้ำขนาดเล็ก เป้าหมาย 149 แห่ง ดำเนินงานได้ 138 แห่ง / ระบบท่อส่งน้ำ เป้าหมาย 38 แห่ง ดำเนินงานได้ 36 แห่ง และมีเงินเหลือจ่ายสามารถดำเนินโครงการฯเพิ่มเติมอีก 47 แห่ง ดำเนินงานได้ 36 แห่ง (โดยเป็นแหล่งน้ำขนาดเล็ก เป้าหมาย 40 แห่ง ดำเนินงานได้ 29 แห่ง / ระบบท่อส่งน้ำ เป้าหมาย 7 แห่ง ดำเนินงานได้ 6 แห่ง (2) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชน เป้าหมาย 7 แห่ง ดำเนินงานได้ 5 แห่ง (3) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน เป้าหมาย 44,000 บ่อ ดำเนินงานได้ 44,000 บ่อ และมีเงินเหลือจ่ายสามารถดำเนินโครงการฯเพิ่มเติมอีก 2,967 บ่อ ดำเนินงานได้ 2,888 บ่อ /
  10. Smart Farmer เป้าหมาย 82,744 ราย ดำเนินงานได้ 82,744 ราย แบ่งการจัดฝึกอบรมหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน 74,558 ราย หมอดินอาสาประจำตำบล 7,213 ราย หมอดินอาสาประจำอำเภอ 896 ราย หมอดินอาสาประจำจังหวัด 77 ราย /
  11. Smart Office เป้าหมาย 1,367 ราย ดำเนินงานได้ 1,406 ราย โดยแบ่งเป็น (1) โครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรเป็น Smart Office (ภายในกรมฯ) เป้าหมาย 1,201 ราย ดำเนินงานได้ 1,211 ราย (2) โครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรเป็น Smart Office (ภายนอกกรมฯ) เป้าหมาย 166 ราย ดำเนินงานได้ 195 ราย /
  12. มาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรกรมีการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน มีการผลิตและใช้ปัจจัยการผลิตที่ได้มาตรฐานอย่างยั่งยืน เป้าหมาย 700 ตัวอย่าง ดำเนินงานได้ 640 ตัวอย่าง
รถไถกำลังไถพวนดินเพื่อเพาะปลูกพืช
รถไถกำลังไถพวนดินเพื่อเพาะปลูกพืช

ทั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดินได้มุ่งเน้นการพัฒนาที่ดินในพื้นที่การเกษตรของประเทศไทย ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะการเพาะปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่เกษตรกรรม หรือ การจัด Zoning การทำวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ดิน ทั้งด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุง แก้ไขดินที่มีปัญหา รวมทั้งปฏิบัติการพัฒนาที่ดินและการอนุรักษ์น้ำให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้นำไปปรับใช้ เพื่อการพัฒนาการเกษตรให้เป็นไปอย่างยั่งยืนต่อไป

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated