คุณทิพาเอ โปร่งแสง พาเยี่ยมชมแปลงใหญ่มันสำปะหลัง
คุณทิพาเอ โปร่งแสง ประธานกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง

เรื่อง/ภาพ:สิริพร ประสานเวช

วิสาหกิจชุมชน ธนาคารชุมชนหน่วยประคองตามแนวพระราชดำริ
วิสาหกิจชุมชน ธนาคารชุมชนหน่วยประคองตามแนวพระราชดำริ

เมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม 2560 ผู้สื่อข่าวเกษตรก้าวไกลได้ลงพื้นที่ไปดูงานโครงการเกษตรแปลงใหญ่มันสำปะหลัง และดูกระบวนการผลิตมันสำปะหลัง ด้วยระบบลดต้นทุนการผลิตอย่างยั่งยืน ณ ต.ดงดินแดง อ. หนองม่วง จ.ลพบุรี

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำต.ดินแดง อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี
ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำต.ดินแดง อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี

คุณทิพาเอ โปร่งแสง ประธานกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง ต.ดงดินแดง อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี เล่าให้ฟังว่า แปลงใหญ่เกิดจากความเข้มแข็งของเกษตรกรในพื้นที่หนองม่วง มีการพูดคุยปรึกษาถึงปัญหาด้านการเกษตรกันอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แต่หลังจากมีการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ ทำให้เกษตรกรมีการปรับทัศคติในการทำเกษตรในทางที่ดีขึ้น

 

ปัจจุบัน สมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่มีความเข้มแข็งในการรวมกลุ่มกัน มีการนำระบบน้ำหยดมาใช้ในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง พร้อมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้เกษตรกรมีผลผลิตเฉลี่ยที่สูงขึ้นจากเดิม 1-2เท่า จากเดิม 4 ตัน/1ไร่ แต่ถ้าใช้ระบบน้ำหยดจะขยับมาที่ 8ตัน/1ไร่ และถ้าหากใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ก็จะทำให้ผลผลิตที่สูงขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 10-12.5 ตัน/1 ไร่ จึงทำให้ขณะนี้เกษตรกรสามารถผลิตมันสำปะหลังที่ได้ทั้งคุณภาพและปริมาณ ผลผลิตที่สูงขึ้น

แปลงเรียนรู้ การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต ปี2560
แปลงเรียนรู้ การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต ปี 2560

จุดเริ่มต้นของการนำระบบน้ำหยดมาใช้ ถึงแม้ว่าต้นทุนจะสูงมากกว่าผลผลิต แต่ที่ ต.ดงดินแดง ได้ทำธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ บ้านหน่วยประคอง ต.ดงดินแดง อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นแหล่งเงินทุนสำคัญในการจัดทำแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรของเกษตรกรในชุมชน จึงทำให้เกษตรกรในพื้นที่นี้มีความได้เปรียบพื้นที่ในเรื่องของแหล่งทุน ส่งผลให้การพัฒนาอาชี

คุณทิพาเอ โปร่งแสง ประธานกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง
คุณทิพาเอ โปร่งแสง ประธานกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลัง

พมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับสมาชิกกลุ่มเน้นการผลิตมันสำปะหลังตามนโยบายรัฐ “รวมกันปลูก รวมกันซื้อ รวมกันขาย” จึงทำให้สามารถซื้อปัจจัยการผลิตอื่นๆได้ในราคาที่ถูก เช่น ปุ๋ยเคมี  ทางกลุ่มจะรวมกันซื้อ แม่ปุ๋ยมาใส่ในแปลงมันสำปะหลัง ตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้มีต้นทุนดินที่น้อยลง”

คุณสุรัตน์ สงวนทรัพย์ ผอ.สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท
คุณสุรัตน์ สงวนทรัพย์ ผอ.สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท

คุณทิพาเอ เล่าต่อว่า” ตนปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ 92 ไร่ เป็นพื้นที่ของตัวเอง 60 กว่าไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่เช่า และทำการเกษตรผสมผสานด้านอื่นๆควบคู่กันไป โดยตนจะปลูกมันสำปะหลังสลับกับข้าวและก็อ้อย ไปมาเพื่อลดปัญหาเรื่องของ โรคแมลง ทำสวน เลี้ยงปลา เป็นต้น ปัจจุบันนี้นอกจากจะเป็นประธานกลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลังแล้ว ยังมีอีกหนึ่งหน้าที่ที่สำคัญ คือเป็นประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ที่คอยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางที่คอยให้ความรู้ และคำปรึกษาให้กับเกษตรกร มีการฝึกอบรมการทำสารชีวภัณฑ์ สำหรับใช้ในแปลงพืชต่างๆ พร้อมกันนี้ที่ขาดไม่ได้คือจะต้องมีการแลกเปลี่ยน ปัญหา และแนวทางการแก้ไขเกี่ยวกับเกษตรของสมาชิกอย่างต่อเนื่อง สำหรับใครที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเกษตรกรแปลงใหญ่ สามารถสอบถามได้เสมอ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น รวมทั้งไม่ว่าจะพื้นที่มากหรือน้อยเพียงใด ก็สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ และที่สำคัญอยากจะให้เกษตรกรท่านต่างๆที่กลัวหรือไม่ชอบ อยากให้ลองหันมาเปิดใจฟัง และลองเปิดใจมาอบรมกับภาครัฐดู เพราะว่าการที่ภาครัฐ อำเภอ หรือหน่วยงานต่างๆที่เข้ามานั้น ล้วนต้องการให้ความรู้ และคำแนะนำที่ถูกต้องทั้งนั้น ไม่อยากให้ชาวบ้านต้องไปลำคานเขา

แปลงเรียนรู้ การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต ปี 2560
แปลงเรียนรู้ การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต ปี 2560

จุดเด่นของแปลงใหญ่มันสำปะหลังของตำบลดงดินแดงมี 11 ข้อ

1.มีการใช้พันธุ์ดี เหมาะสมกับสภาพดิน ได้แก่ พันธุ์ระยอง 2. มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง อัตรา 300กก./ไร่  3.ผลิตฮอร์โมนไข่เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิต 4. มีการใช้ปุ๋ยลดลง 5. ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเพิ่มมากขึ้น 6. มีการไถระเบิดดินดาน 7. มีการใช้ระบบน้ำหยด 8. มีการใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในการสูบน้ำ 9. ใช้เครื่องขุดมันสำปะหลังเพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าแรง 10. มีการรวมกลุ่มการซื้อท่อนพันธุ์เพื่อต่อรองราคาให้ลดลง 11. มีการรวมกลุ่มการขายและมีการทำ MOU ร่วมกับบริษัทผลิตเอทธานอล (บ.ทรัพย์ทิพย์) เพื่อรวมผลผลิตส่งขายในปริมาณที่ บ. กำหนดมีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน

ต้นมันสำปะหลัง
ต้นมันสำปะหลัง

” นอกจากเกษตรกรแปลงใหญ่มันสำปะหลังจะได้ทดลองใช้ระบบน้ำหยด และใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินแล้วก็ได้ทำให้ผลิตดีขึ้นเรื่อยๆ จึงมีความหวังในปีต่อๆไป ว่าจะยังตั้งเป้าหมายในการดำเนินงาน เมื่อปี 2559 ต้นทุนเดิมที่ได้ 6,375 บาท/ไร่ ลดเหลือ 5,100/ไร่  ผลผลิตเดิมที่ได้จาก 4 ตัน/ไร่ เพิ่มเป็น 6 ตัน/ไร่ ด้านวิธีพัฒนาคุณภาพผลผลิตคือ ทางกลุ่มจะใช้พันธุ์ดี เช่น ระยอง5, ระยอง 72  แต่ภายในปี 2560 กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ ยังคาดหวังว่าในปีต่อๆไปจะเพิ่มผลผลิตให้เป็น 10 ตัน/ไร่ “

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated