กยท. แก้เกมราคายาง ผนึกกำลังสถาบันเกษตรกรฯ ดันมาตรการเลื่อนฤดูกาลเปิดกรีดยาง เป็น มิ.ย.

ประธานบอร์ด กยท. มั่นใจมาตรการเลื่อนเปิดกรีดยางออกไป 1 เดือน เป็น มิ.ย. 68 ที่ผนึกกำลังร่วมกับเครือข่ายสถาบันเกษตรกรฯ ทั่วประเทศ จะทำให้ยางหายจากตลาดไม่ต่ำกว่า 2 – 3 แสนตัน ดึงราคายางกลับสู่เสถียรภาพ พร้อมจัดเต็มมาตรการรองรับช่วยเหลือ ทั้งหนุนสินเชื่อระยะสั้นแก่สถาบันเกษตรกรฯ ปลอดดอกเบี้ย 4 เดือน สร้างแหล่งเงินทุนเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตบำรุงสวนยาง

เกษตรก้าวไกลLIVE-เลื่อนฤดูกาลเปิดกรีดยางออกไป 1 เดือน https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/4101978443416388

วันนี้ 30 เม.ย. 2568 การยางแห่งประเทศไทย ( กยท.) ได้จัดให้มีการแถลงข่าว “มาตรการความร่วมมือเลื่อนฤดูกาลเปิดกรีดยางออกไป 1 เดือน” โดย ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย
นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย นายสวัสดิ์ ลาดปาละ รองประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ระดับประเทศ (คยท.) และมีนายสมจิตร คล้ายประสงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตยางแผ่นรมควันภาคใต้เข้าร่วม  ณ ห้องประชุมรัษฎา อาคาร 2 ชั้น 2 การยางแห่งประเทศไทย บางขุนนนนท์

กยท. แก้เกมราคายาง ผนึกกำลังสถาบันเกษตรกรฯ ดันมาตรการเลื่อนฤดูกาลเปิดกรีดยาง เป็น มิ.ย.

ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มาตรการเลื่อนฤดูกาลเปิดกรีดยางออกไป 1 เดือน เป็นมาตรการที่มุ่งรักษาเสถียรภาพราคายาง แก้ปัญหาราคายางที่ปรับตัวลงจากการประกาศนโยบายด้านภาษีของสหรัฐอเมริกา (Reciprocal Tariffs) ซึ่ง กยท. ตระหนักถึงความสำคัญของผลกระทบจากสถานการณ์ราคายางพาราที่อาจส่งผลถึงรายได้ของพี่น้องชาวสวนยาง จึงเร่งหารือร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการ และแนวทางดำเนินการ และได้เป็นที่มาของการกำหนดมาตรการเลื่อนฤดูกาลเปิดกรีดยางออกไป 1 เดือนออก โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ

กยท. แก้เกมราคายาง ผนึกกำลังสถาบันเกษตรกรฯ ดันมาตรการเลื่อนฤดูกาลเปิดกรีดยาง เป็น มิ.ย.

“ทั้งนี้ จากเดิมที่เกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มเปิดกรีดในเดือนพฤษภาคม 2568 ให้เริ่มทำการเปิดกรีดในเดือนมิถุนายน 2568 แทน ซึ่งคาดว่าจะทำให้ผลผลิตยางหายจากระบบตลาดโลกไม่น้อยกว่า 200,000 – 300,000 ตัน ซึ่งการลดลงของอุปทานนี้จะสร้างแรงกดดันต่อสมดุลของตลาด ดังนั้น เมื่อฤดูกาลเปิดกรีดยางมาถึง แต่ประเทศไทย ไม่มีการเอาน้ำยางออกจากต้นยาง จะทำให้ปริมาณยางส่วนหนึ่งหายไปจากตลาดโลก และผู้ที่จะได้รับผลกระทบ คือ ผู้ใช้ยางปลายน้ำ ซึ่งในการดำเนินการครั้งนี้ กยท. คาดว่า หากชาวสวนยางให้ความร่วมมือประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ยางจะหายไปจากตลาด 150,000 ตัน ซึ่งมีผลกระทบต่อความต้องการใช้ยางแน่นอน และจะเห็นผลหลังเริ่มมาตรการเป็นต้นไป ทั้งนี้ มั่นใจว่ามูลค่าของยางพาราทั้งระบบจะไม่เสียหายอย่างแน่นอน กยท. คาดว่า หลังดำเนินมาตรการแล้ว ในเดือนต่อไปจะทำให้ยางขาดตลาดและราคายางจะเพิ่มสูงขึ้นกว่าราคาในช่วงนี้อย่างแน่นอน” ดร.เพิกกล่าว

กยท. แก้เกมราคายาง ผนึกกำลังสถาบันเกษตรกรฯ ดันมาตรการเลื่อนฤดูกาลเปิดกรีดยาง เป็น มิ.ย.

ดร.เพิก กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้มีตัวเลขเกี่ยวกับปริมาณความต้องการใช้ยาง จากทั้งของกรมวิชาการเกษตร ที่ให้โรงงานได้รายงาน รวมถึงข้อมูลจากตลาดกลางยางพาราทั้ง 600 ตลาดทั่วประเทศ พบว่า มีบางโรงงาน มียางไม่เพียงพอที่จะส่งมอบตามสัญญา ถ้าโรงงานหวังว่าจะเอายางเดือนหน้า ขอบอกเลยว่าเดือนหน้ายางจะหายไปจากตลาดอย่างน้อย 150,000 ตันแน่นอน พร้อมกันนี้ หาดำเนินการมาตรการเลื่อนฤดูกาลเปิดกรีดยางออกไป 1 เดือนแล้ว ราคายางไม่กลับมาในระดับที่ควรเป็นแล้ว กยท.จะมีการดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างเต็มรูปแบบ แต่ถ้าราคากลับมา อาจจะมีการผ่อนคลายมาตรการในช่วงครึ่งหลังของเดือนพฤษภาคม 2568 หมายความว่า ต้องมีการคืนราคาซื้อยางกลับมาให้เกษตรกร เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้ทั้งระบบ

กยท. แก้เกมราคายาง ผนึกกำลังสถาบันเกษตรกรฯ ดันมาตรการเลื่อนฤดูกาลเปิดกรีดยาง เป็น มิ.ย.

ดร.เพิก กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับมาตรการเลื่อนฤดูกาลเปิดกรีดยางออกไป 1 เดือน ถือเป็นโอกาสดีที่เกษตรกรจะได้ดูแลรักษาและบำรุงต้นยางให้แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางเมื่อถึงเวลาเปิดกรีด ส่วนมาตรการรองรับเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงดำเนินการ กยท. ได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือไว้แล้ว ได้แก่ มาตรการช่วยเหลือแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยบำรุง โดยสนับสนุนเงินกู้จากกองทุนพัฒนายางพารา มาตรา 49(3) แก่สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผ่านโครงการสินเชื่อระยะสั้น สำหรับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตยางพารา

“ซึ่งสถาบันเกษตรกรสามารถยื่นสิทธิ์ขอกู้ได้สถาบันละ 1 สัญญา วงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อสัญญา อัตราดอกเบี้ยร้อยละศูนย์ เป็นระยะเวลา 4 เดือน (เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป) ซึ่งจะช่วยสถาบันเกษตรกรฯ ที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อจัดหาปุ๋ยหรือปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ ราคาถูก จำหน่ายให้สมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่ เป็นการช่วยลดต้นทุน เพิ่มปริมาณผลผลิตยาง และยกระดับรายได้ให้เกษตรกรได้ในอนาคต สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่งยกระดับศักยภาพของเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง ยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก” ดร.เพิกกล่าว

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated