กรมประมง...หนุนนโยบาย ก.เกษตรฯ โชว์ผลสำเร็จ “ธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม” หนองซับสมบูรณ์ – หนองทานตะวัน สร้างเศรษฐกิจฐานรากเลี้ยงชุมชนอย่างยั่งยืน
กรมประมง...หนุนนโยบาย ก.เกษตรฯ โชว์ผลสำเร็จ “ธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม” หนองซับสมบูรณ์ – หนองทานตะวัน สร้างเศรษฐกิจฐานรากเลี้ยงชุมชนอย่างยั่งยืน

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2563 ณ บริเวณหนองซับสมบูรณ์ หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ กรมประมง ร่วมกับ จังหวัดบุรีรัมย์ คณะกรรมการบริหารจัดการแหล่งน้ำหนองซับสมบูรณ์ และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งจังหัน จัดงาน “หว่านแห จับปลา หรรษา บุรีรัมย์” ปีที่ 3 โชว์ผลสำเร็จจากโครงการ “ธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม” ซึ่งกรมประมงส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชนให้เป็นแหล่งผลิตสัตว์น้ำ สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจฐานรากเลี้ยงชุมชนอย่างยั่งยืน จนคว้ารางวัลเลิศรัฐ 2 ปีซ้อน ในโอกาสนี้ นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง ได้ให้เกียรติเป็นประธานการเปิดงาน โดยมีชาวบ้านในพื้นที่บริเวณหนองซับสมบูรณ์ให้การต้อนรับ

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง
นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า โครงการ “ธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม” เป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาลที่ขับเคลื่อนโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ มีความมุ่งหวังที่จะให้ชุมชนได้มีผลผลิตสัตว์น้ำเพียงพอต่อการบริโภค สามารถสร้างรายได้ – ลดรายจ่ายในครัวเรือนให้กับประชาชน รวมทั้งชุมชนมีศักยภาพสามารถพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชนให้เป็นแหล่งผลิตสัตว์น้ำชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่ความมั่นคงทางด้านอาหาร สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้ชุมชนได้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยใช้หลักการ “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์” ซึ่งที่ผ่านมากรมประมงได้มุ่งผลักดันโครงการดังกล่าวฯ จนประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้นแบบและมีการนำไปต่อยอดขยายผล ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศกรมประมง หว่านแห จับปลา หรรษา บุรีรัมย์

กรมประมง หว่านแห จับปลา หรรษา บุรีรัมย์ดังจะเห็นได้จากโครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วมหนองซับสมบูรณ์ หมู่ที่ ๗ ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2560 โดยมีคณะทำงานของชุมชน 14 คน มี นางหนูแดง ทองใบ เป็นประธานคณะกรรมการบริหารโครงการฯ และมีสมาชิกในชุมชนร่วมเป็นหุ้นส่วนจำนวน 81 คน มีผู้ถือหุ้นรวมจำนวน 285 หุ้นๆ ละ 100 บาท โดยการดำเนินงานเน้นใช้หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การร่วมคิดวางแผน ดำเนินการ ติดตาม และประเมินผลโดยมีเจ้าหน้าที่กรมประมงในพื้นที่สนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำและคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โครงการฯ ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง กรมประมง หว่านแห จับปลา หรรษา บุรีรัมย์

ซึ่งปัจจุบันมีการจับผลผลิตสัตว์น้ำขึ้นใช้ประโยชน์กว่า 13 ตัน มีรายได้จากโครงการฯ ทั้งสิ้น 392,764 บาท รายได้ดังกล่าวมาจากการขายบัตรจับปลาและทยอยจับผลผลิตสัตว์น้ำ เป็นเงิน 304,125 บาท การขายปลาสด 75,009 บาท การแปรรูป (ปลาส้ม, ปลาแดดเดียว) 6,140 บาท การขายลูกพันธุ์ปลา 5,490 บาท เป็นสถานที่ดูงาน 2,000 บาท และยังมีการปันผลรายได้เฉลี่ยคืนแก่สมาชิกทุกปี ซึ่งที่ผ่านมามีการปันผลคืนแล้ว 2 ครั้งเป็นเงิน 36,705 บาท (ปันผลคืนให้หุ้นละ 175 บาท) ผลจากความสำเร็จของชุมชนบ้านซับสมบูรณ์ ดังกล่าว จึงเป็นต้นแบบ “ซับสมบูรณ์โมเดล” จนสามารถคว้ารางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในสาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ได้ถึง 2 รางวัล ในระยะเวลา 2 ปีซ้อน ดังนี้ 1. รางวัลเลิศรัฐ ประจำปีงบประมาณ 2561 สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทรางวัลสัมฤทธิ์ผลประชาชนมีส่วนร่วม“ระดับดี” โครงการธนาคารผลผลิตเกษตรด้านการประมงบ้านซับสมบูรณ์ จังหวัดบุรีรัมย์ และ 2. รางวัลเลิศรัฐประจำปี พ.ศ. 2562 สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทรางวัลผู้นำหุ้นส่วนความร่วมมือ (Engaged Citizen) “ระดับดีเด่น”กรมประมง หว่านแห จับปลา หรรษา บุรีรัมย์

กรมประมง หว่านแห จับปลา หรรษา บุรีรัมย์นอกจากนี้ ยังมีผลสำเร็จของโครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วมหนองทานตะวัน หมู่ที่ 9 ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้เข้าร่วมโครงการฯ ในปี พ.ศ.2563 โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อบริหารโครงการฯ จำนวน 16 คน มี นายเฉลิม แก้รัมย์ เป็นประธานคณะกรรมการฯ ซึ่งชุมชนได้ร่วมกันกำหนดกฎกติกาเพื่อดูแลบริหารจัดการแหล่งน้ำ และมีการระดมหุ้นเพื่อตั้งกองทุน มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ แล้วจำนวน 94 คน มีผู้ถือหุ้นจำนวน 154 หุ้น มีเงินในกองทุนรวมทั้งสิ้น 15,400 บาท โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานประมงจังหวัดบุรีรัมย์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดมหาสารคาม กรมประมงให้คำแนะนำคอยเป็นพี่เลี้ยงด้านวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำการบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชน พร้อมร่วมกับชุมชนเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำที่ปล่อยอย่างต่อเนื่อง และยังได้ทำการศึกษาดูงานจากแหล่งน้ำหนองซับสมบูรณ์ นำความรู้มาประยุกต์ใช้จนเกิดรายได้ตั้งแต่ในปีแรกที่ดำเนินการ เป็นเงิน 21,917 บาท แบ่งเป็นรายได้จากการขายลูกพันธุ์ปลานิล 500 ตัว เป็นเงิน 1,500 บาท การขายปลาดุก 278 กิโลกรัม เป็นเงิน 19,467 บาท และการขายปลาในคอก 450 บาท โดยมีแผนจะปันผลคืนแก่สมาชิกหลังจากเปิดจับปลาประมาณเดือนเมษายน 2564 ทั้งนี้ แผนการดำเนินงานในปีต่อไป ทางชุมชนจะมีการสร้างโรงเพาะฟักสัตว์น้ำ บ่ออนุบาลลูกปลา เปิดจำหน่ายลูกปลาแก่สมาชิก และบุคคลทั่วไป สร้างโรงเรือนแปรรูปสัตว์น้ำ เพื่อให้โครงการมีความสมบูรณ์มากขึ้น และให้ชุมชนอื่นได้เรียนรู้นำไปต่อยอดดำเนินการในแหล่งน้ำอื่นต่อไปกรมประมง หว่านแห จับปลา หรรษา บุรีรัมย์

ด้านนายสุริยันต์ วรรณวงษ์ ประมงจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการจัดงาน “หว่านแห จับปลา หรรษา บุรีรัมย์” ปีที่ 3 ถือเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานของโครงการ “ธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม” ซึ่งในพื้นที่หนองซับสมบูรณ์ หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้กำหนดจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการฯ เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การจัดงานปี 2563 จึงเลื่อนมาจัดในเดือนตุลาคมนี้ โดยทำการเปิดขายบัตรในราคา 500 บาท ให้กับสมาชิกและประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อมาร่วมจับสัตว์น้ำในกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งในปี 2563 นี้ มีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ รายได้ที่ได้รับจะนำเข้ากองทุนโครงการฯ และจัดสรรการใช้ประโยชน์ตามกฎระเบียบของโครงการฯ ที่ชุมชนร่วมกันกำหนดขึ้น โดยจะจัดสรรผลประโยชน์คืนแก่สมาชิกโครงการฯ และอีกส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในการบริการจัดการแหล่งน้ำ เพื่อเป็นต้นทุนสวัสดิการและพัฒนาชุมชนต่อไป

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง โชว์ทอดแหร่วมกับชาวบ้าน
นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง โชว์ทอดแหร่วมกับชาวบ้าน

อธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า ความสำเร็จของโครงการธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม นอกจากจะส่งผลให้ชุมชนมีผลผลิตสัตว์น้ำไว้บริโภคอย่างยั่งยืนสามารถลดรายจ่าย – สร้างรายได้ในครัวเรือนและนำไปสู่การพัฒนาอาชีพได้แล้ว ยังก่อให้เกิดความรักความสามัคคีของคนในชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง เป็นต้นแบบของการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งน้ำให้กับชุมชนอื่นได้ ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวนี้ จะก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ประชาชนในชุมชนมีความสงบสุข อยู่ดีกินดี สร้างรากฐานความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไปกรมประมง หว่านแห จับปลา หรรษา บุรีรัมย์

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated