ธ.ก.ส. พา “เกษตรกรหัวขบวน” ศึกษาดูงานจีน จุดประกายนวัตกรรมยกระดับการผลิตสู่เกษตรมูลค่าสูง

ธ.ก.ส.นำตัวแทนเกษตรกรไทยศึกษาดูงานเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่ซินเจียง มุ่งหวังต่อยอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ยกระดับจากวัตถุดิบท้องถิ่นสู่แบรนด์สินค้าสำเร็จรูป พร้อมชูสินเชื่อ Smart Tech หนุนเปลี่ยนผ่านสู่เกษตรสมัยใหม่

มะเขือเทศสีดำซินเชียง กำลังมาแรง
มะเขือเทศสีดำซินเชียง กำลังมาแรง

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยระหว่างนำตัวแทนเกษตรกรไทยศึกษาดูงาน ณ เขตปกครองตนเองซินเจียง อุยกูร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า ธ.ก.ส. ได้คัดเลือก “เกษตรกรหัวขบวน” ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองและสมาชิกในชุมชน จำนวน 10 กลุ่ม เข้าร่วมศึกษาดูงานในพื้นที่เกษตรกรรมสมัยใหม่ของจีน เพื่อจุดประกายแนวคิดและนำองค์ความรู้กลับไปขยายผลในพื้นที่ของตน

ธ.ก.ส. พา “เกษตรกรหัวขบวน” ศึกษาดูงานจีน จุดประกายนวัตกรรมยกระดับการผลิตสู่เกษตรมูลค่าสูง
ธ.ก.ส. พา “เกษตรกรหัวขบวน” ศึกษาดูงานจีน จุดประกายนวัตกรรมยกระดับการผลิตสู่เกษตรมูลค่าสูง

สำหรับ​สถานที่หลักในการดูงาน ได้แก่ อุทยานนิทรรศการเกษตรกรรมซินเจียง ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานีวิจัยด้านการเกษตร 9 แห่งทั่วประเทศจีน ที่นำเสนอเทคโนโลยี vertical farming หรือการปลูกพืชแนวตั้งในโรงงานระบบปิด ควบคุมสภาพแวดล้อมด้วยระบบอัจฉริยะ ทั้งแสง อุณหภูมิ ความชื้น รวมถึงระดับออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมี AI ตรวจวัดความผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการปลูกไม้ดอกควบคู่ผักเพื่อเพิ่มออกซิเจน และใช้กับดักแมลงแบบกาวเหนียวสองสี พร้อมเทคโนโลยีสายพานในการเพาะกล้า โดยใช้พลังงานสะอาดโซล่าเซลล์ขับเคลื่อน

ธ.ก.ส. พา “เกษตรกรหัวขบวน” ศึกษาดูงานจีน จุดประกายนวัตกรรมยกระดับการผลิตสู่เกษตรมูลค่าสูง

ตลอด​จนได้เยี่ยมชมฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ Xinjiang Tianrun Dairy Co., Ltd. บนเส้นทางสายไหม ซึ่งเลี้ยงโคนมถึง 2 ล้านตัว ใช้เทคโนโลยีจากสวีเดนควบคุมกระบวนการผลิตน้ำนมให้ปลอดภัย มีการจัดเส้นทางเรียนรู้สำหรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน พร้อมโชว์รูมกระบวนการผลิตที่เปิดให้มองเห็นไลน์รีดนมได้อย่างโปร่งใส สิ่งสำคัญคือการนำน้ำนมดิบมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

ธ.ก.ส. พา “เกษตรกรหัวขบวน” ศึกษาดูงานจีน จุดประกายนวัตกรรมยกระดับการผลิตสู่เกษตรมูลค่าสูง

อีกหนึ่งโมเดลน่าสนใจคือ ฐานปลูกหนานซาน (Xiangzhiyuan Nanshan) ที่รัฐบาลจีนลงทุนสร้างโรงเรือนมาตรฐาน 100 หลัง และมีแผนขยายเป็น 500 หลัง เพื่อให้ประชาชนเช่าในราคาย่อมเยา ปีละ 10,000 หยวนต่อโรงเรือน (ประมาณ 50,000 บาท) โดยสามารถเพาะปลูกได้ถึง 3–4 รอบต่อปี สร้างรายได้เฉลี่ย 500,000–1,000,000 บาทต่อโรงเรือน (ชมรายละเอียดแต่ละโรงเรือนจากเกษตรก้าวไกล LIVE สด)

เกษตรก้าวไกลLIVE- พาไปดูโรงเรือนปลูกไม้ดอกไม้ประดับเขตร้อนที่ฐานปลูกหนานซาน  https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/685214901051554

เกษตรก้าวไกลLIVE- พาไปดูโรงเรือนปลูกแตงกวาลดไขมันที่ฐานปลูกหนานซาน  https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/741162025130353

เกษตรก้าวไกลLIVE- พาไปดูโรงเรือนปลูกมะเขือเทศสีดำลดเบาหวานที่ฐานปลูกหนานซาน  https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/1040015774886429

ตลาดต้าปาจา (Xinjiang International Grand Bazaar)

นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังพาไปเที่ยวชม ตลาดต้าปาจา (Xinjiang International Grand Bazaar) ซึ่งเป็นตลาดในร่มที่ใหญ่ที่สุดในเมืองอุรุมชี ตลาดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่สำคัญของอุรุมชีและซินเจียง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น สนับสนุนเกษตรกรและผู้ผลิตสินค้าพื้นเมืองให้มีช่องทางจำหน่ายผลผลิต และส่งเสริมการท่องเที่ยวของภูมิภาคนี้

เกษตรก้าวไกลLIVE- พามาเที่ยวตลาดต้าปาจา ตลาดสินค้าพื้นเมืองในร่มใหญ่ที่สุดของซินเจียง https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/1456447315717233

นายฉัตรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดโลกทัศน์ผ่านการลงพื้นที่จริง ช่วยให้เกษตรกรได้เห็นนวัตกรรมที่จับต้องได้ อาทิ การห่อผลฝรั่งแบบปลอดแมลง การดักแมลงโดยไม่ใช้สารเคมี การควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนด้วยโซลาร์เซลล์ สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้ในชุมชนไทย เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนแรงงาน และสามารถผลิตเพื่อรองรับตลาดเฉพาะกลุ่ม (local consumption) อีกทั้งเปลี่ยนแปลงการเกษตรแบบดั้งเดิมสู่เกษตรสมัยใหม่ที่เน้นใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ตอบโจทย์เกษตรกรรมยั่งยืนที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ตลาดต้าปาจา (Xinjiang International Grand Bazaar)

“ธ.ก.ส. มุ่งหวังว่า เกษตรกรหัวขบวนจะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานครั้งนี้ กลับไปพัฒนาแปลงของตนเองและชักจูงสมาชิกในกลุ่ม ร่วมกันยกระดับจากการผลิตสินค้าเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในระดับครัวเรือนและชุมชน นำไปสู่การรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็งในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์การเกษตร และต่อยอดสู่การผลิตสินค้าสำเร็จรูปที่สร้างรายได้สูงขึ้นอย่างยั่งยืน”

ขณะเดียวกัน ธ.ก.ส. ยังได้ผลักดัน สินเชื่อ Smart​Tech ที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์กับเกษตรดั้งเดิม พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนจากการผลิตวัตถุดิบ (raw material) มาสู่การแปรรูปเป็นสินค้าสำเร็จรูป (finishing goods) ที่มีมูลค่าสูงขึ้น และสามารถกำหนดราคาขายเองได้ ไม่ต้องพึ่งตลาดกลางแบบเดิม

ธ.ก.ส. พา “เกษตรกรหัวขบวน” ศึกษาดูงานจีน จุดประกายนวัตกรรมยกระดับการผลิตสู่เกษตรมูลค่าสูง

ในตอนท้ายของการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนระหว่างนำไปศึกษาดูงานอุทยานนิทรรศการเกษตรกรรมซินเจียง นายฉัตรชัย ยังกล่าวถึงการขยายผลในระดับเยาวชนว่า ธ.ก.ส. ได้ต่อยอดโครงการเกษตรอาหารกลางวันของโรงเรียนในความดูแล ให้กลายเป็น “เกษตรการค้า” โดยเริ่มจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้เรียนรู้การปลูกพืช ทำฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างทักษะอาชีพและรายได้ในอนาคต ควบคู่กับโครงการ “เกษตรวิวัฒน์” ที่เตรียมความพร้อมให้ผู้สูงวัยในเมืองสามารถกลับไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมหลังเกษียณ​ โดยธ.​ก.ส. อยากให้เกษตรเป็นอาชีพทางเลือกที่มั่นคงและยั่งยืน ไม่ใช่เพียงอุตสาหกรรมพื้นบ้าน แต่เป็นเครื่องมือสำคัญในการแปลงเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ.​

ธ.ก.ส.   นำ 10 เกษตรกรหัวขบวน บุก ซินเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน ศึกษาดูงานนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะเสริมทักษะความรู้ความสามารถ พัฒนาศักยภาพ สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ดี

ธ.ก.ส. พา “เกษตรกรหัวขบวน” ศึกษาดูงานจีน จุดประกายนวัตกรรมยกระดับการผลิตสู่เกษตรมูลค่าสูง

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยภายหลังนำเกษตรกรหัวขบวน 10 กลุ่มภาคการเกษตร ศึกษาดูงานการทำเกษตรอัจฉริยะ ณ เขตปกครองตนเอง ชินเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า ที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ได้ให้การสนับสนุนเกษตรกรลูกค้าอย่างรอบด้าน ทั้งแหล่งเงิน ยกระดับการเรียนรู้ ต่อยอดสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานสากล ด้วยการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาบริหารจัดการการผลิตและการตลาด เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรสมัยใหม่ จำเป็นต้องพึ่งพาเกษตรกรหัวขบวนที่เป็นผู้นำชุมชน สามารถยกระดับการผลิตของเกษตรกร ผ่านการศึกษาแนวทางการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรด้วยเครื่องจักร และอุปกรณ์ทางการเกษตรแบบอัจฉริยะ ที่นำการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม AI มาผสมผสาน พื้นที่เกษตรกรรมในการเพาะปลูกผสมพันธุ์สัตว์เศรษฐกิจรวมถึงการจัดการน้ำ มาประยุกต์เข้ากับเกษตรของไทย เชื่อมั่นว่าเกษตรกรจะนำแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมด้านเกษตรของไทยให้ก้าวหน้าสร้างมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์

เกษตรก้าวไกลLIVE- ลุงพร พาสำรวจตลาดทุเรียนในห้างสรรพสินค้าที่ซินเจียง ประเทศจีน https://www.facebook.com/kasetkaoklai/videos/1366080817959441

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated