นายกฯ อิ๊งค์ ลุยเมืองจันท์ รับฟังปัญหาทุเรียนและทางออกผลไม้ไทยสู่ตลาดโลก

นายกฯ อิ๊งค์ ลุยเมืองจันทร์ พบชาวสวนและผู้ประกอบการ “รมช.อิทธิ-รมช.อัครา” นำทีมเกษตรฯ ผลักดันเกษตรกรไทยผลิตผลไม้คุณภาพได้มาตรฐาน ปลอดภัย สู่ตลาดโลก และแข่งขันได้

นายกฯ อิ๊งค์ ลุยเมืองจันท์ รับฟังปัญหาทุเรียนและทางออกผลไม้ไทยสู่ตลาดโลก และแข่งขันได้

นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ จังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วย นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตลอดจน คณะผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วม เพื่อรับฟังปัญหาของพี่น้องเกษตรกรในภาคตะวันออก ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของไทย และส่งเสริมการส่งออกผลไม้ไทยไปยังตลาดโลกให้มากขึ้น

นายกฯ อิ๊งค์ ลุยเมืองจันท์ รับฟังปัญหาทุเรียนและทางออกผลไม้ไทยสู่ตลาดโลก และแข่งขันได้

โดยในช่วงเช้า นายกฯ และคณะ เดินทางไปยังสวนรักตะวัน ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ เพื่อรับฟังปัญหาต้นทุนการผลิตและผลผลิตจากเกษตรกรชาวสวนผลไม้และผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคตะวันออก และแนวทางการให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ และชมกิจกรรม Live ขายทุเรียนของ Young Smart Farmer ตลอดจนชมนิทรรศการการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก  และมาตรฐานการรับรอง GAP ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากนั้น เดินทางเยี่ยมชมบูธร้านอาหารที่ได้รับเครื่องหมาย Thai SELECT พร้อมร่วมรณรงค์ เชิญชวนการรับประทานผลไม้ไทยตามฤดูกาล ณ โรงแรมมณีจันทร์ ต.พลับพลา อ.เมือง ต่อมาในช่วงบ่าย นายกฯ เยี่ยมชมการคัดแยกและบรรจุมังคุดเพื่อการส่งออก ณ บริษัท ดรากอน เฟรช ฟรุท จำกัด อ.มะขาม จ.จันทบุรี และเยี่ยมชมนิทรรศการกิจกรรมแปรรูปผลไม้

นายกฯ อิ๊งค์ ลุยเมืองจันท์ รับฟังปัญหาทุเรียนและทางออกผลไม้ไทยสู่ตลาดโลก และแข่งขันได้

นายกฯ และคณะ ได้รับฟังปัญหาจากตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนจันทบุรี อาทิ ขอให้มีการเพิ่มจำนวนการตั้งห้อง Lab ตรวจวิเคราะห์สารในจังหวัดที่มีการปลูกผลไม้ เพื่อให้สามารถตรวจสอบและส่งออกได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงให้มีการออกกฎระเบียบควบคุมแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนอย่างเข้มข้น ป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพออกสู่ตลาด ตลอดจนการแก้ปัญหาผลผลิตตกค้างที่ด่านตรวจของจีน ซึ่งขณะนี้มีความรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งในเรื่องนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้มีการเจรจากับทางจีน เพื่อขอให้เพิ่มช่องเพื่อความรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วยแล้ว

นายกฯ อิ๊งค์ ลุยเมืองจันท์ รับฟังปัญหาทุเรียนและทางออกผลไม้ไทยสู่ตลาดโลก และแข่งขันได้

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การนำของ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายในการควบคุมคุณภาพผลไม้ตะวันออกตลอดฤดูกาล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค พร้อมทั้งได้เฝ้าระวังบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบให้เกิดเสถียรภาพอย่างสูงสุด และทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์อย่างใกล้ชิด ในการเร่งกระจายผลผลิตเพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัว บริหารจัดการไม่ให้สินค้าล้นตลาดและ ตามข้อสั่งการของนายกฯ โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการผ่านคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ซึ่งได้บริหารจัดการผลไม้ฤดูการผลิต ปี 2568 เพื่อยกระดับเกษตรกรไทยผลิตผลไม้คุณภาพได้มาตรฐานสู่ตลาดสากล ผ่าน 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการที่ 1 ส่งเสริมการปรับเพิ่มผลิตภาพการผลิตผลไม้ มาตรการที่ 2 เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม กำกับคุณภาพมาตรฐานสุขอนามัยพืช ตลอดห่วงโซ่การผลิต และมาตรการที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพกลไกตลาดสินค้าผลไม้ เน้นการทำงานแบบบูรณาการ เพื่อรักษามาตรฐานและยกระดับสินค้าเกษตรไทยอย่างเคร่งครัด

นายกฯ อิ๊งค์ ลุยเมืองจันท์ รับฟังปัญหาทุเรียนและทางออกผลไม้ไทยสู่ตลาดโลก และแข่งขันได้

ขณะเดียวกันยังได้ดำเนิน 5 แนวทางควบคู่กันไป ได้แก่ 1) บริหารจัดการผลผลิตโดยวางแผนการกระจายตัวของผลผลิต ทำให้ตลาดไม่กระจุกตัว 2) ควบคุมคุณภาพตั้งแต่แปลงปลูก ยกระดับมาตรฐาน GAP สำหรับทุเรียน ตั้งจุดบริการตรวจก่อนตัด ป้องกันทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาด 3) การบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกร เพิ่มบทบาทแปลงใหญ่และสหกรณ์ในการควบคุมปริมาณและคุณภาพผลผลิต 4) การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร จัดเกรดผลไม้ สำหรับผลผลิตที่ตกเกรด นำไปแปรรูป เป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูง เช่น ฟรีซดราย หรือนำไปสกัดทางเภสัชกรรม และ 5) การเพิ่มช่องทางการตลาด ส่งเสริมช่องทาง e-Commerce สำหรับเกษตรกร

นายกฯ อิ๊งค์ ลุยเมืองจันท์ รับฟังปัญหาทุเรียนและทางออกผลไม้ไทยสู่ตลาดโลก และแข่งขันได้

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังให้ความสำคัญกับการควบคุมคุณภาพก่อนการส่งออก มีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ในระดับแปลง จนถึงกระบวนการคัดแยกและบรรจุต้องถูกสุขลักษณะตามหลัก GMP ซึ่งภาคตะวันออกมีโรงคัดบรรจุ 807 แห่ง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 (สวพ.6) กรมวิชาการเกษตร ได้จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่สำหรับบริการขึ้นทะเบียนและต่ออายุการรับรอง GAP เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางให้กับเกษตรกร รวมถึงสร้างความเข้าใจกับเกษตรกร ผู้ประกอบการและผู้ส่งออก ขึ้นทะเบียน นักคัด นักตัดทุเรียน เพื่อยกระดับความสามารถของโรงคัดบรรจุในเรื่องของการตรวจสอบคุณภาพสุก-แก่ของทุเรียน เพื่อการเตรียมความพร้อมสำหรับเดือนกรกฎาคม ปี 2568 ที่ทุกล้งจะเข้าสู่มาตรฐานบังคับ มกษ.9070-2566 ซึ่งทางโรงคัดบรรจุต้องตรวจน้ำหนักแห้งด้วยตนเอง

สำหรับโรงคัดบรรจุ ของบริษัท ดรากอน เฟรช ฟรุท จำกัด อ.มะขาม จ.จันทบุรี เป็นโรงคัดบรรจุทุเรียนผลสดขนาดใหญ่ การคัดบรรจุถูกสุขลักษณะตามหลัก GMP โดยแบ่งพื้นที่การผลิตเป็นสัดส่วนชัดเจน มีจุดคัดแยกผลผลิตทุเรียนคุณภาพ และด้อยคุณภาพ หรือผลผลิตเสียออกจากกัน กำลังการผลิตทุเรียน ไม่ต่ำกว่า 300 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อฤดูกาล โดยมีตลาดหลักกว่า 90% อยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ในส่วนของสถานการณ์ส่งออกทุเรียนภาคตะวันออกในปัจจุบัน มีจำนวน 14,754 ชิปเมนท์ 252,124 ตัน มูลค่า 29,808 ล้านบาท

ขณะที่สถานการณ์การผลิตผลไม้ 4 ชนิด ได้แก่ ลำไย มะม่วง ทุเรียน และมังคุด ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ปี 2568 ที่มีจำนวน 3.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีปริมาณ 2.78 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 22%

โดย ลำไย ในภาคเหนือ ปี 2568 คาดว่ามีปริมาณ 1.64 ล้านตัน และลำไยในภาคตะวันออกคาดว่าปริมาณผลผลิต 2.1 แสนตัน และผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดถึง 60% ในเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายน

มะม่วง ในภาคเหนือ ปี 2568 คาดว่ามีปริมาณ 1.08 แสนตัน โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุด 50% ในเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม ส่วนมะม่วงในภาคตะวันออกคาดว่าปริมาณผลผลิต 33,000 ตัน และออกสู่ตลาดมากที่สุดถึง 60% ในเดือนพฤษภาคม

นายกฯ อิ๊งค์ ลุยเมืองจันท์ รับฟังปัญหาทุเรียนและทางออกผลไม้ไทยสู่ตลาดโลก และแข่งขันได้

ทุเรียน ในภาคตะวันออก ปี 2568 คาดว่ามีปริมาณ 8.71 แสนตัน โดยผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดถึง 55% ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน และทุเรียนในภาคใต้คาดว่าปริมาณผลผลิต 7 แสนตัน และผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดถึง 70% ในเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม

มังคุด ในภาคตะวันออก ปี 2568 คาดว่ามีปริมาณ 2.58 แสนตัน โดยผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดถึง 70% ในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน และมังคุดในภาคใต้คาดว่าปริมาณผลผลิต 1.47 แสนตัน และผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดถึง 50% ในเดือนสิงหาคม

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated