ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน ที่เชียงใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน ที่เชียงใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชวภาพ หรือ สพภ.BEDO ชูธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน คือ กลยุทธสำคัญ สร้างความมั่งคั่งที่มั่นคง เป็นแนวทางเศรษฐกิจที่สร้างบน “จุดแข็งของประเทศ” ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ส่งผลทำให้เกิดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้งชุมชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตของดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นางสุวรรณา เตียรถ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กล่าวถึงโครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน (Community Biodiversity Bank หรือ Community BioBank) เป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นเจ้าของฐานทรัพยากร ที่กำหนดเป้าหมายว่าภายใน 10 ปี จะเกิด “ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน” ทั้งประเทศและนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์รวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนในทุกตำบล

ธนาคารความหลากหลาย คือ แหล่งเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาของชุมชน ที่มีการดูแลรักษาและบริหารจัดการในการดูแลรักษาและการนำไปใช้ประโยชน์โดยตัวของชุมชนเอง เปรียบได้กับการที่ชุมชนมีธนาคาร แต่ธนาคารนั้นจะทำหน้าที่รับฝาก-ถอนทรัพยากรชีวภาพสำหรับชุมชน สมาชิกและชุมชนสามารถนำสิ่งที่ฝากดูแลนั้นออกมาใช้หรือทำประโยชน์ได้โดยต้องได้รับการอนุญาตหรือเห็นชอบจากชุมชนร่วมกัน

หลักการสำคัญของ BEDO ในการทำงานในโครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนนั้น เน้นการสื่อสารที่เข้าใจง่าย ทดลองปฏิบัติให้เห็นตัวอย่างจริง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชุมชนอื่นๆ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดในรูปแบบของตัวเอง อย่างเช่นโครงการจัดตั้งธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมอนุรักษ์ ที่ BEDO คิดกลับ –หัวท้ายจากปกติการถ่ายทอดความรู้เรื่องธนาคารของเบโด้ เน้นให้ชุมชนลงมือทำจริงตั้งแต่ การสำรวจ การบันทึก การถ่ายภาพง่ายๆ ไปจนถึงการดูแลรักษาเงินหรือต้นไม้ของตัวเองให้คงอยู่เพื่อการขยายพันธุ์ เป็นแหล่งในการพัฒนาวิจัยความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพ เกิดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชน นำไปสู่การปกป้อง คุ้มครอง และเกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน สำคัญที่สุดคือเครือข่ายและการสนับสนุนด้านต่างๆที่เหมาะสมร่วมกับมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นและ อปท เจ้าของพื้นที่เป็นตน

วิสาหกิจชุมชนต้นแบบ แนวคิด Community BioBank จังหวัดเชียงใหม่

วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านสมุนไพรบ้านเมืองกื้ด และ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเลี้ยงฟ้ามุ่ย บ้านปงไคร้ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ คือ ชุมชนต้นแบบ แนวคิดของ Community BioBank การอนุรักษ์และใช้ประโยช์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรชีวภาพด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ชุมชนยังมีรายได้และคุณภาพชีวิตของดีขึ้น

วิสาหกิจชุมชนหมู่บ้านสมุนไพรบ้านเมืองกื้ด

บ้านเมืองกื้ด มีความโดดเด่น ทั้งความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายของภูมิปัญญาและวัฒนธรรม BEDO เล็งเห็นถึงสิ่งสำคัญเหล่านี้ที่ชุมชนมีอยู่ จึงเข้ามาสนับสนุนงบประมาณจัดทำแหล่งเรียนรู้ทั้งตำบลกื๊ดช้างโดยกลุ่มกิจการเศรษฐกิจชุมชน (ศช) ต่อมา bedo ก็ได้สนับสนุนงบประมาณโครงการธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน เพื่อสำรวจและรวบรวมพันธุ์พืชตระกูลขิง ข่า และสมุนไพรท้องถิ่น เก็บรักษาไว้ในแปลงธนาคารฯ อีกส่วนหนึ่งคือทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในการศึกษาสารออกฤทธิ์และการยืนยันชนิดพันธุ์ของพืชเด่นในชุมชน คือ ไผ่จืด จนกลายมาเป็นโอกาสในชุมชนกับการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น และในปี พ.ศ. 2564 ได้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อดำเนินงานจัดตั้งธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชน รวบรวมพันธุ์พืชตระกูลขิงข่า ว่าน และสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่มีอยู่ในชุมชนตำบลกื้ดช้าง

ทีมนักสำรวจ เดอะแก็งค์ของชุมชนบ้านเมืองกื้ด คือหัวใจสำคัญ ช่วยให้ธนาคารความหลากหลายทางชีวภาพระดับชุมชนชุมชนตำบลกื้ดช้างให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ด้วยความหลากหลาย ทั้งอายุ เพศ และวัยที่แตกต่างกันของเดอะแกงค์ หรือทีมนักสำรวจนั้น กลับส่งผลดีให้กับชุมชน เพราะนั่นคือการถ่ายทอดองค์ความรู้ จากรุ่นสู่รุ่น ผู้ใหญ่ก็สามารถปลูกฝังข้อมูลภูมิปัญญาต่างๆของคนรุ่นใหญ่ ส่งต่อให้รุ่นลูกหลาน และลูกหลานก็สามารถช่วยเรื่องเทคโนโลยีใหม่และสอนคนเฒ่าคนแก่ให้ทันสมัยได้ สิ่งเหล่านี้สำคัญมากเพราะจะนำไปสู่การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น ให้คงอยู่ตลอดไปในชุมชนนี้ 

ผลงานของเดอะแก็งค์ พบว่าในพื้นที่ป่าห้วยกุ๊บกั๊บของตำบล กื้ดช้าง มีพืชเฉพาะถิ่นที่จะพบเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ระดับความสูง 700 เมตรจากระดับน้ำทะเลที่เป็นป่าเบญจพรรณที่สูง 165 ชนิดพันธ์ และ มีการรวบรวมและจัดประเภทพืชพันธุ์ จำนวน 20 แปลงภายในชุมชน ปัจจุบันมี 3 แปลงจาก 20 แปลงได้ จัดให้เป็นแปลงต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ฯ และเส้นทางท่องเที่ยวของหมู่บ้าน ประกอบด้วย 1) เป็นพืชพันธุ์ที่หายาก เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ 2) เป็นพืชหายาก ใช้ประโยชน์ได้  มีการใช้ในตำรับยาสมุนไพร และ3) เป็นพืชที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated