ธ.ก.ส.นำสื่อมวลชนมาเยี่ยมชมฟาร์มเลี้ยงไก่ดำบ้านเขาหลัก จังหวัดตรัง
ธ.ก.ส.นำสื่อมวลชนมาเยี่ยมชมฟาร์มเลี้ยงไก่ดำบ้านเขาหลัก จังหวัดตรัง

เมื่อวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2565 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นำทีมโดย นายอรุพงษ์ เพชรสุข ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาลูกค้าสถาบันและองค์กรชุมชน (สพส.) นางพรพรหม เหล่ากิจไพศาล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ และทีมงานสำนักประชาสัมพันธ์ (สปส.) ตลอดจนผู้บริหารธ.ก.ส.ในพื้นที่จังหวัดตรัง นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่บ้านเขาหลัก ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

(ภาพ-สื่อมวลชนให้ความสนใจกิจกรรมล่องแก่งบ้านเขาหลัก แหล่งท่องเที่ยวชุมชน บริหารงานโดยคนในชุมชน)

(เกษตรก้าวไกลLIVEสด/ วิธีทำกล้วยฉาบหินบ้านเขาหลัก ชมได้ที่ https://fb.watch/cK3iZ-23JD/)

นายสวัสดิ์ ขุนนุ้ย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 กล่าวว่า จากสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำในช่วงหลายปีมานี้ จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกร ทำให้เกษตรกรบ้านเขาหลักมีการปรับตัวรวมกลุ่มสร้างกิจกรรมเสริมรายได้โดยอาศัยต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีในชุมชน เกิดเป็นฐานการเรียนรู้ต่างๆ เช่น กลุ่มกล้วยฉาบ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มจักสาน เลี้ยงแพะ กลุ่มท้าขนม กลุ่มเลี้ยงไก่ดำ และกิจกรรมการล่องแก่ง เป็นต้น

ในโอกาสนี้ ผู้ใหญ่สวัสดิ์ ได้นำสื่อมวลชนไปดูกลุ่มทำกล้วยฉาบที่ใช้กล้วยหินเป็นวัตถุดิบหลัก..(ชมLIVEสด/กล้วยฉาบหินบ้านเขาหลักได้ที่ https://fb.watch/cK3iZ-23JD/) ต่อด้วยไปดูการล่องแก่ง ที่ทำเป็นท่องเที่ยวชุมชน และ ปิดท้ายพาไปดูการเลี้ยงไก่ดำ..(ชมLIVEสด/ฟาร์มเลี้ยงไก่ดำได้ที่ https://fb.watch/cK35N60k7f/)

“ไก่ดำเขาหลัก” เป็นไก่ดำที่เกิดจากผสมพันธุ์และคัดเลือกจากไก่ดำ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ มองโกลเลีย อินโดนีเซีย ยูนาน และภูพาน ใช้เวลาการคัดเลือก ประมาณ 9 ปี ท้าให้มีลักษณะเฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ โดยมี สีดำ 8 อย่าง ได้แก่ เนื้อ กระดูก ปาก ขา เล็บ หน้า หงอน และลิ้น เลี้ยงโดยใช้สมุนไพรในท้องถิ่น เช่น ฟ้าทะลายโจร กวาวเครือดำ กระชายดำ และขมิ้น โดยการจัดการเลี้ยงไก่ดำเขาหลักนั้นเป็นการบริหารจัดการแบบกลุ่ม มีสมาชิกจ้านวน 30 ราย แบ่งภารกิจในการผลิตไก่ดำเขาหลักดังนี้คือ การผลิตลูกไก่ดำ ซึ่งมีหน้าที่เลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ คัดเลือกสายพันธุ์และการควบคุมคุณภาพ ผสมพันธุ์ การจัดการฟักไข่ด้วยตู้ฟักไข่ และการอนุบาลไก่ดำในช่วงอายุ 0-3 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะมอบลูกไก่ดำให้ส่วนของสมาชิกเลี้ยงไก่ดำเขาหลักขุน ครอบครัวละ 20 ตัว ท้าการเลี้ยงจนได้น้ำหนัก 1.8-2.0 กิโลกรัม และจำหน่ายกลับมายังกลุ่ม เพื่อนำไปประกอบอาหารบริการให้กับนักท่องเที่ยวและคณะผู้เข้าศึกษาดูงานในหมู่บ้าน

ด้วย คุณสมบัติของไก่ดำ หรือ ไก่กระดูกดำ (black bone chicken) เป็นอาหารของผู้รักสุขภาพ โดยเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ซึ่งการแพทย์แผนจีนใช้เป็นอาหารบำรุงสุขภาพในสตรีหลังคลอด ให้รอบเดือนมาปกติ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รักษาเบาหวานโลหิตจาง เป็นต้น จากหลายรายงานทั้งในและต่างประเทศ พบว่าเนื้อไก่ดำมีสรรพคุณทางเภสัชวิทยา เนื่องจาก สารเมลาลิน (melanin) ที่เป็นองค์ประกอบในเนื้อไก่ดำมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งมีองค์ประกอบของโปรตีนสายสั้นที่ชื่อว่า คาร์โนซีน (carnosine) ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน βalanin และ histidine พบว่ามีสูงกว่าเนื้อไก่พื้นเมืองทั่วไป ซึ่งโปรตีนชนิดนี้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการเกิดริ้วรอย ทำให้เมนูอาหารที่ทำจากไก่ดำเป็นที่ต้องการบริโภคของนักท่องเที่ยว กลุ่มผู้สนใจศึกษาดูงานที่เข้ามาทำกิจกรรมในบ้านเขาหลัก ส่งผลให้การผลิตไก่ดำของเกษตรกรไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งเกษตรกรบ้านเขาหลักต้องการรักษาเอกลักษณ์และพันธุกรรมของไก่ดำเขาหลัก รวมทั้งควบคุมคุณภาพการผลิตให้มีความยั่งยืน และมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการ

แม้ว่าคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จะการสนับสนุนตู้ฟักไข่อัจฉริยะ ภายใต้การสนับสนุนด้านเงินทุนจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ที่สามารถช่วยเพิ่มอัตราการฟักออก และรายงานผลอุณหภูมิและความชื้นภายในตู้เพื่อลดภาระการดูแลตู้ฟักไข่ในระหว่างวันได้

แต่อย่างไรก็ตามเพื่อรองรับความต้องการของตลาดการบริโภค และผู้สนใจเพื่อจำหน่ายสายพันธุ์ไก่ดำ จำเป็นต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงการผลิตเพื่อให้สามารถวางแผนการผลิตและการตลาดได้ ทั้งในส่วนการเพาะฟักและการจัดการอนุบาลลูกไก่ ซึ่งตู้ฟักไข่ที่มีอยู่มีขนากเล็กและเป็นชนิดรวมระยะฟักและและระยะเกิดในตู้เดียวกัน ท้าให้การฟักไข่ไก่ดำไม่เพียงพอและไม่สามารถพักตู้ฟักเพื่อทำความสะอาด และซ่อมบำรุงได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการฟักออกในระยะต่อไป นอกจากนั้นยังขาดโรงเรือนที่ใช้ดำเนินการฟักไข่และอนุบาลลูกไก่ก่อนส่งมอบให้กับสมาชิก ซึ่งทางกลุ่มมีความจำเป็นต้องส่งมอบที่อายุ 3 สัปดาห์ เป็นลูกไก่ดำที่ผ่านการทำวัคซีนและผ่านระยะกก (ระยะอนุบาล) เพื่อให้สมาชิกได้รับลูกไก่ดำที่พร้อมเลี้ยงขุน เพิ่มโอกาสเลี้ยงรอดสูง

“เกษตรก้าวไกล” ได้มีโอกาสเดินสำรวจฟาร์มเลี้ยงไก่ดำและสอบถามผู้ใหญ่สวัสดิ์ ทำให้ทราบว่ากิจการเลี้ยงไก่ดำพัฒนาก้าวหน้าไปมาก สมาชิกที่นำไก่ดำไปเลี้ยงมีรายได้เสริมที่ดี ตลาดมีความต้องการสูง และการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงไก่ดำไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะการพัฒนาสายพันธุ์จะต้องให้ความดำคงที่อยู่ตลอด ล่าสุดได้พัฒนาไก่คอล่อนที่เป็นไก่เศรษฐกิจพื้นเมืองของภาคใต้ให้เป็นไก่คอล่อนดำแห่งแรกของภาคใต้ ซึ่งผู้ใหญ่สวัสดิ์ได้จับมาอุ้มโชว์ให้กับผู้สื่อข่าวได้ชม บอกว่าจากการสืบค้นข้อมูลน่าจะเป็นกลุ่มแรกที่พัฒนาไก่คอล่อนดำเป็นผลสำเร็จ ถือเป็นความภาคภูมิใจของกลุ่ม และเมื่อได้สอบถามเรื่องราคาไก่คอล่อนดำตัวผู้ที่อุ้มอยู่ ทราบว่าราคาตัวละ 6,000 บาทเลยทีเดียว   

ด้าน นายอรุพงษ์ เพชรสุข ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาลูกค้าสถาบันและองค์กรชุมชน (สพส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.มีภารกิจมากกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ระหว่างที่เกิดสถานการณ์โควิด พนักงานธ.ก.ส.ทุกสาขาได้ออกเดินทางไปพบปะเกษตรกรเพื่อที่จะช่วยกันสร้างเสริมอาชีพและรายได้ การที่นำสื่อมวลชนมาเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ดำบ้านเขาหลัก จึงถือเป็นภารกิจที่จะช่วยสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วประเทศ

(เกษตรก้าวไกลLIVEสด/ ลุยฟาร์มเลี้ยงไก่ดำบ้านเขาหลัก ชมได้เต็มๆที่ https://fb.watch/cK35N60k7f/)

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated